ข้อสอบ GSAT สำคัญอย่างไร กับการสอบเข้าเรียนต่อ “หลักสูตรนานาชาติ”

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรอินเตอร์ อาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการทดสอบ GSAT หรือมีชื่อเต็ม ๆ ว่า General Scholastic Aptitude Test กันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน

GSAT คือข้อสอบอะไร? ทำไมเราต้องสอบ

แต่สำหรับน้อง ๆ บางอาจจะไม่คุ้นชื่อ หรือไม่รู้เกี่ยวกับการสอบ GSAT ดังนั้นในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับทดสอบ GSAT มาฝากกันด้วยค่ะ จะมีเรื่องอะไรบ้างที่น้อง ๆ จะต้องรู้ตามมาดูรายละเอียดกันได้เลย

GSAT คืออะไร ?

สำหรับ GSAT (General Scholastic Aptitude Test) เป็นข้อสอบตัวใหม่ที่สามารถใช้ยื่นเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรอินเตอร์ แทนข้อสอบ SAT ได้ โดยเป็นการทดสอบความถนัดทางวิชาการเพื่อใช้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 12 แห่งของไทย โดยจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ GSAT เกิดจากความร่วมมือของ 3 สถาบันการศึกษา คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยข้อสอบ GSAT จะอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกันกับข้อสอบ NEW SAT ที่มีอายุการใช้งานคะแนนได้ถึง 2 ปี (โดยผลคะแนนสอบจะออกหลังจากทำการสอบไปแล้วประมาณ 1 เดือน)

รูปแบบข้อสอบ GSAT เป็นอย่างไร ?

ข้อสอบ GSAT ประกอบด้วย 2 วิชาที่ใช้ในการสอบ ได้แก่ การเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing) และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math) โดยข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์แบ่งเป็นพาร์ทที่ไม่ได้ใช้เครื่องคิดเลขจำนวน 20 ข้อ และพาร์ทที่ใช้เครื่องคิดเลขอีก 40 ข้อ ซึ่งทั้ง 2 วิชามีคะแนนวิชาละ 800 คะแนน รวมคะแนน 2 วิชา เท่ากับ 1600 คะแนน รายละเอียดข้อสอบมีดังต่อไปนี้

การเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing)

– Reading 5 reading passages และ 1 paired passage ​ทั้งหมด 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 65 นาที
– Writing 4 passages ทั้งหมด 40 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 35 นาที

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math)

– Math (No Calculator) ทั้งหมด 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 25 นาที
– พาร์ที่ 4 Math (Calculator) ทั้งหมด 40 ข้อเป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 55 นาที

เปิดรับสมัครช่วงไหนบ้าง ?

โดยในตอนนี้เปิดรับสมัครทั้งหมด 2 รอบด้วยกัน ได้แก่

ขั้นตอนการสมัครสอบ GSAT มีดังนี้

ค่าสมัครสอบ GSAT เท่าไหร่ ?

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.krupimhouse.com, www.tcaster.net

ข่าวที่เกี่ยวข้อง