เจาะลึก ระบบคัดเลือกนักศึกษาใหม่ ‘Admissions’ ปี 2560

ม.6 ควรรู้ เรื่องของการแอดมิชชัน (Admissions) หรือน้องๆ บางคนอาจจะเรียกว่า “แอดกลาง” ก็คือการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (Central University Admissions System – CUAS) ซึ่งเป็นการคัดเลือกโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) เรื่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2549 แทนการคัดเลือกแบบเอนทรานซ์นั่นเอง

สรุปองค์ประกอบ แอดมิชชัน 60

โดยมีจุดประสงค์ที่นำการแอดมิชชันมาแทนระบบเก่าอย่างเอนทรานซ์ก็เพราะว่า การเอนทรานซ์ จะเน้นในการสอบเพียงอย่างเดียว ทำให้เด็กๆ ทิ้งการเรียนในห้องเรียน แล้วไปสนใจแต่การติวเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับการแอดมิชชันนั้นจะมีการนำเกรดเฉลี่ยจากโรงเรียนเข้ามาใช้ในการสมัครเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วย ทำให้เด็กๆ สนใจและตั้งใจเรียนในห้องเรียนไปพร้อมๆ กับการติวหนังสือด้วย

โดยมีการกำหนดองค์ประกอบการแอดมิชชัน (คะแนนเต็ม 30,000) ดังนี้

1. GPAX คือ เกรดเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียน ตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมปลาย ม.4-ม.6 โดย GPAX ใช้เป็นสัดส่วนในการแอดมิชชัน 20% หรือ 6,000 คะแนนของทุกคณะ

2. การสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET (Ordinary National Education Test) เป็นการสอบของนักเรียนชั้น ม.6 ทั่วประเทศ โดยมีจะมีการสอบ 5 วิชาด้วยกัน ได้แก่ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยคะแนนโอเน็ตใช้เป็นสัดส่วนในการแอดมิชชัน 30% หรือ 9,000 คะแนนของทุกคณะ

3. การสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT (Genetal Aptitude Test) คะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบ GAT ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยแบ่งคะแนนออกเป็นอย่างละ 150 คะแนน คือ GAT ภาษาไทย ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้านการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ และ GAT ภาษาอังกฤษ สำหรับ GAT ใช้เป็นสัดส่วนในแอดมิชชัน 10-50% หรือ 3,000-15,000 คะแนนแล้วแต่คณะ

4. การสอบความถนัดทางวิชาชีพ หรือ PAT (Professional Aptitude Test) เป็นข้อสอบเฉพาะทางเพราะจะไม่มีสอนในโรงเรียน โดยจะแบ่งออกเป็นดังนี้

โดย PAT ใช้เป็นสัดส่วนในการแอดมิชชัน 0-40% หรือ 0-12,000 คะแนนแล้วแต่คณะ

สัดส่วนองค์ประกอบการแอดมิชชันแบ่งเป็น 13 กลุ่ม ดังนี้

** จุดสังเกตขององค์ประกอบแต่ละกลุ่มคณะ ให้น้องๆ จำไว้ง่ายๆ เลยว่า GPAX และ O-NET มีสัดส่วนคงที่ทุกกลุ่มคณะ ส่วน GAT และ PAT นั้นมีสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไปตามของแต่ละคณะ

ขั้นตอนการยื่นเลือกคณะที่ต้องการ

การยื่นแอดมิชชันเลือกคณะในปีนี้ น้องๆ จะต้องดำเนินการในช่วงวันที่ 20-27 พฤษภาคม 2560 หลังจากที่ทำการยื่นแล้ว เมื่อน้องๆ ทราบผลคะแนนครบทุกตัวที่นำไปใช้เป็นองค์ประกอบในการแอดฯ แล้วนั้น น้องๆ สามารถทำการเลือกคณะที่ต้องการเข้าศึกษาได้ 4 อันดับด้วยกัน (จะทำการเลือกคณะอะไรจากมหาวิทยาลัยใดก็ได้ หรือเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกันก็ได้) โดยจะต้องสมัครผ่านทางเว็บไซต์ สอท. : a.cupt.net ซึ่งมีวิธีการเลือกคณะดังต่อไปนี้

1. ระบบจะทำการรวมคะแนนอันดับ 1 ของน้องๆ ทุกคนมาเรียงไว้จากมากไปหาน้อย เช่น คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ รับ 80 คน ระบบก็จะนำคนที่เลือกคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ทั้งหมดมาและนำคะแนนมาเรียงกัน ใครอยู่อันดับ 1-80 ก็คือติดไปเลย

2. ระบบจะเลือกคนที่มีคะแนนมากที่สุด เข้าสู่แต่ละคณะให้ครบตามจำนวนที่รับ คนที่คะแนนไม่ติดคณะใดเลย ถือว่าตกพิจารณาในอันดับแรก ก็จะถูกพิจารณาคะแนนในอันดับที่ 2 ต่อไป

3. เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าคะแนนในอันดับ 2 สูงกว่าคนที่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก คะแนนใหม่ก็จะนำมาแทรกแทนคนที่มีคะแนนน้อยกว่า ดังนั้นคนที่ได้คะแนนต่ำสุดก็จะต้องตกอันดับไปเรื่อยๆ

** ถ้าน้องๆ ไม่ติดอันดับ 1 ระบบก็จะนำคะแนนของน้องไปแข่งที่อันดับต่อไป ไม่ติดก็จะนำไปอันดับต่อไปเรื่อยๆ จนถึงอันดับ 4 โดยถ้าคะแนนถึงอันดับไหนก็จะติดอันดับนั้นเลย จะไม่นำคะแนนไปแข่งในอันดับถัดไป

เพราะฉะนั้นอันดับแรกเลยของการเลือกคณะ คือเลือกคณะที่น้องๆ อยากเรียนมากที่สุด อยากเข้ามากที่สุด ไว้เป็นอันดับ 1 (เลือกตามความฝันไปเลย ไม่ต้องห่วงคะแนน เพราะหากติดคณะที่เราไม่อยากเรียน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลัง) เมื่อน้องๆ เลือกคณะอันดับ 1 ไปแล้ว การเลือกคณะที่เรียงลงมานั้น ต้องเริ่มคำนึงถึงโอกาสสอบติดมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการรองรับเผื่อไม่ติดในอันดับ 1 2 3 อย่างน้อยเราก็ต้องติดในอันดับ 4 ให้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

————————————

ข้อมูล : blog.eduzones.coma.cupt.net

 

ลิงค์อื่นๆ น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง