ความคืบหน้ากรณี 10 มหาวิทยาลัยเอกชนที่ สกอ. ลงไปตรวจสอบข้อมูล กรณีที่ มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีปัญหา ไม่ได้มาตรฐานทั้ง 10 แห่ง ใน 98 หลักสูตรนั้น ตอนนี้หลายแห่งให้ความร่วมมือเข้าชี้แจงเพิ่มเติม และได้มีการแก้ไขปัญหาแล้ว แบ่งเป็น หลักสูตรนอกสถานที่ตั้ง 78 หลักสูตร ที่จัดการศึกษาไม่เป็นไปตามมาตรฐานใน 5 สถาบัน ได้รับความร่วมมือจากสภาฯ ขอปิดหลักสูตรไปแล้ว 56 หลักสูตร เหลือ 22 หลักสูตร ซึ่งสกอ. ขอให้งดรับนักศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559
สั่งปิดหลักสูต งดรับศึกษาตั้งแต่ ปี 59
ในจำนวนนี้พบว่ามี 2 หลักสูตรที่ยังเปิดสอน ซึ่ง สกอ. จะลงไปตรวจสอบ เพราะเราขอให้งดรับนักศึกษา ไม่ได้ขอให้ปิดหลักสูตร ดังนั้นมหาวิทยาลัยอาจจะเปิดสอนนักศึกษาให้จบการศึกษาก่อน นอกจากนี้มี 3 หลักสูตรขอเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2560 ซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องปรับปรุงการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ส่วน อีก 20 หลักสูตร ใน 8 มหาวิทยาลัย ที่จัดการศึกษาไม่ได้มาตรฐานนั้น สภาฯ ขอปิดไปแล้ว 3 หลักสูตร แจ้งให้งดรับนักศึกษา 3 หลักสูตร แก้ไขหลักสูตรตามเอกสาร 9 หลักสูตร รอดูการดำเนินการ 5 หลักสูตร โดย 2 ใน 5 หลักสูตรมีปัญหาจัดการศึกษาไม่เป็นไปตามที่สภาวิชาชีพกำหนด โดยรับนักศึกษาเกินกว่าที่สภาวิชาชีพกำหนด สำหรับข้อแนะนำในการแก้ไข ในส่วนของหลักสูตรที่รับนักศึกษาเกิน ให้มหาวิทยาลัยจัดหาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์มาเพิ่มและงดรับรักศึกษาในปีต่อไป
โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) / เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560
*มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีปัญหา 10 แห่ง ใน 98 หลักสูตร แบ่งเป็น หลักสูตรในที่ตั้ง 20 หลักสูตร และหลักสูตรนอกที่ตั้ง 78 หลักสูตร ดังนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จ.ปทุมธานี วิทยาลัยทองสุข วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา สถาบันรัชต์ภาคย์ และมหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี
ที่มาจาก มติชน ออนไลน์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- เผยแล้ว!! 10 รายชื่อมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่มีปัญหา ไร้มาตรฐาน
- กระทรวงศึกษาฯ ให้โอกาสแก้ตัว! 10 มหา’ลัยหลักสูตรไร้มาตรฐาน