สถาปัตยกรรมศาสตร์ อีกหนึ่งคณะน่าเรียน น้อง ๆ ที่มีหัวใจรักในการออกแบบไม่ควรพลาด

สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสานเทคนิคและวิทยาการต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ ที่พักอาศัย วัฒนธรรม เช่น การออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ การออกแบบภายใน และยังรวมถึงการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้มีตรงต่อความต้องการของมนุษย์ อีกด้วย

สถาปัตยกรรมศาสตร์ อีกหนึ่งคณะน่าเรียน

โดยที่จะมีเนื้อหาที่คลอบคลุมทั้งระดับมหัพภาคไปจนถึงระดับจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าการเรียนในเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องมีการเรียนรู้สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่น ๆ เป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง

คุณสมบัติที่ควรมีของผู้เข้าศึกษา

ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในด้านทัศนศิลป์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประกอบกันด้วย เพราะวิชาการออกแบบส่วนใหญ่เป็นวิชาประยุกต์ ดังนั้นผู้ที่สนใจจะสอบเข้าศึกษาต่อในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็ต้องผ่านการสอบวิชาความถนัดด้านการออกแบบ จึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนได้

สาขาวิชาที่เปิดสอน มีดังนี้

1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยจะคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมในการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางด้านสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนความงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในส่วนของโครงการทั้งหมด รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดในอนาคต อีกด้วย

2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย

เป็นการศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาเกี่ยวกับแหล่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย นอกจากนี้ยังจะต้องฝึกเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบรรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรมให้ถูกต้อง ทั้งนี้เรายังจะต้องสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค อีกด้วย

3. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรมและงานออกแบบภายใน ซึ่งจะเน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารให้สามารถใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด รวมถึงจะต้องดูในเรื่องของความสวยงาม เหมาะสมอีกด้วย โดยจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้าง ความรู้ทางด้านวิศวกรรม การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถออกแบ่งสิ่งต่าง ๆ ภายในอาคารให้ออกมาใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

4. สาขาวิชาการออกอุตสาหกรรม

จะเน้นการออกแบบ 5 สาขา ได้แก่ สาขาการออกแบบเลขนิเทศ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาการออกแบบตกแต่งภายใน สาขาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และสาขาการออกแบบสิ่งทอ ซึ่งเราจะต้องเรียนทั้ง 5 สาขา และพอขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นค่อยมาเลือกเรียนในสาขาที่ตนเองชอบหรือมีความถนัด หลังจากก็จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษาด้วย

5. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม

จะเน้นการเรียนรู้ทางด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวของมนุษย์และธรรมชาติ เพื่อทำให้ทั้งสองอย่างมีความสมดุลกัน โดยจะเรียนเกี่ยวกับสุนทรียภาพและการใช้สอยของมนุษย์แต่ละคน รวมถึงยังมีเรียนเกี่ยวกับการอกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตร์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป้า ต้ำน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ปล. ทั้งนี้สาขาวิชาในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป อาจจะมีเพิ่มเติมมากกว่านี้น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละมหาวิทยาลัยได้เลยค่ะ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน มีดังนี้

1. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
4. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
8. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
10. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
11. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
12. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
13. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
14. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
15. คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
16. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
17. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
18. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
19. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
21. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
22. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
23. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
24. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
25. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
26. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
27. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
28. สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
29. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
30. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
31. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
32. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
33. คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

1. สถาปนิก

สำหรับอาชีพสถาปนิก จะเป็นคนที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานก่อสร้าง การทำสัญญากับเจ้าของโครงการผ่านทางการออกแบบอาคารและการทำแบบก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะมีวิศวกรเป็นคนที่ให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคที่ซับซ้อน ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญในแต่ละแขนงเกี่ยวกับงานก่อสร้าง

2. นักออกแบบอิสระ

ผู้ที่เรียนจบมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาาสตร์จะมีความสามารถในการออกแบบด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสิ่งทอ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น ซึ่งสามารถรับงานที่เกี่ยวกับการออกแบบเกี่ยวกับอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น ของประดับตกแต่ง เสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น

3. นักออกแบบโฆษณาและสื่อสิ่งพิมพ์

สำหรับคนที่จบด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถที่จะประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการออกแบบโฆษณาและสื่อสิ่งพิมพ์ได้ ทั้งในแบบสองมิติและสามมิติ

4. นักออกแบบตกแต่งภายใน

สำหรับอาชีพนักออกแบบตกแต่งภายในมีหน้าที่ในการออกแบบอาคาร ที่พักอาศัย ร้านค้า สำนักงาน ออกแบบตกแต่งภายในเครื่องบิน รถยนต์ รถไฟ และยังรวมถึงการออกแบบตกแต่งเวที นิทรรศการต่าง ๆ อีกด้วย

5. นักออกแบบและอนุรักษ์ภูมิสถาปัตยกรรม

มีหน้าที่ในการออกแบบและปรับปรุงตกแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์และธรรมชาติให้มีความสมดุลกัน เช่น การออกแบบสวนสาธารณะ ออกแบบสวนสัตว์ นักอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ นักอนุรักษ์ชุมชนเมือง เป็นต้น

6. รับราชการ

นอกจากเราจะสามารถประกอบอาชีพอิสระได้แล้ว ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านสถาปัตย์ฯ ยังสามารถเข้ารับราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย

7. อาจารย์

นอกจากเราจะเข้าทำงานในบริษัทเอกชนและรับราชการในกระทรวงต่าง ๆ แล้ว เรายังสามารถนำความรู้ด้านการออกแบบมาถ่ายทอดให้กับผู้ได้ด้วย โดยการเป็นอาจารย์สอนทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์

ข้อมูลจาก : https://th.jobsdb.com, https://th.wikipedia.org/wiki/

Written by : Toey

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง