นักบัญชี เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะด้วยความมั่นคงในการทำงาน ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และงานด้านบัญชียังมีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจในทุกประเภทอย่างขาดไม่ได้ จึงทำให้อาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีอัตรการว่างงานน้อยมาก นอกจากนี้เมื่อมีการเปิดสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก็ทำให้อาชีพด้านบัญชีมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะอาชีพนักบัญชีถูกกำหนดให้เป็นอาชีพอิสระ สามารถไปทำงานประเทศใดในอาเซียนก็ได้
อยากเรียนบัญชี เลือกเรียนต่อที่ไหนดี
เรื่องน่ารู้ ของคนที่อยากเรียนต่อ ‘บัญชี’
และในปัจจุบันก็ได้มีสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ที่ได้เปิดการเรียนการสอนด้านบัญชีอย่างมากมาย แต่ที่เรามักจะคุ้นและได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เปิดสอนก็มีการใช้ชื่อคณะ/สาขาวิชาที่แตกต่างกันออกไป จะมีที่ไหนบ้าง ตามมาดูกันเลย
เรียนเกี่ยวกับอะไร?
การเรียนในสาขาบัญชีนั้น วิชาหลักที่น้อง ๆ จะต้องเจอกันทุกคนเลยก็คือ เศรษฐศาสตร์และการเงิน (คณิตศาสตร์) รวมถึงความรู้ในเรื่องการจัดการเบื้องต้น และกฏข้อบังคับของสถาบันการเงิน อุตสาหกรรม และหน่วยงานของภาครัฐ การมีความรู้พื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับเนื้อหาเหล่านี้ ย่อมจะช่วยทำให้เรารู้เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานด้านบัญชีได้ดียิ่งขึ้น ช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังมีวิชาเฉพาะที่เราจะต้องเรียนอีกด้วย (ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีวิชาที่เหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือไม่เหมือนกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนด)
และอีกหนึ่งสิ่งที่นักบัญชีในยุคใหม่จะลืมไม่ได้เลย นอกเหนือจากความรู้ทางด้านทฤษฎี ทักษะในการคิดวิเคราะห์ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธรุกิจได้แล้ว เรายังจะต้องพัฒนาตนเองให้ก้าวทันเทคโนโลยี รู้ทันข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ถ้าน้อง ๆ สามารถทำได้ก็จะทำให้การทำงานสายบัญชีเป็นเรื่องที่ง่ายและได้เรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกัน นำมาประยุกต์ใช้กับงานได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษาต่อในคณะนี้ จะต้องเป็นคนที่มีระเบียบในการทำงาน เป็นคนช่างสังเกต ชอบการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล สนใจเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีความรอบคอบ อดทน และสามารถนำเสนอข้อมูลได้เป็นอย่างดี มีปฏิภาณไหวพริบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดี
คะแนนที่ใช้ในการสมัคร
ระบบรับตรง
- จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6
- มีผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 3.00
- เฉพาะสาขาบัญชี ต้องมีผลคะแนนสอบ GAT และ PAT1 (เกณฑ์ขั้นต่ำคะแนนรวมทุกวิชา 50%)
ระบบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% (คะแนนวิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคมศึกษา, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 30%)
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
** ทั้งนี้ในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีเกณฑ์ที่ใช้ในการรับสมัครที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนจะสมัครกันนะจ๊ะ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : Link คลิกที่นี่
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
- วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล : Link คลิกที่นี่
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี : Link คลิกที่นี่
- คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : Link คลิกที่นี่
- คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ : Link คลิกที่นี่
- คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : Link คลิกที่นี่
- วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา : Link คลิกที่นี่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Link คลิกที่นี่
- คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม : Link คลิกที่นี่
- คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Link คลิกที่นี่
จบแล้ว ทำงานตำแหน่งอะไรได้บ้าง?
- นักบัญชี / พนักงานบัญชีอยู่ในสำนักงานบัญชี (มีหน้าที่ดูแลบัญชีต่าง ๆ ของบริษัทที่มาจ้าง ซึ่งหนึ่งคนอาจจะดูแลบัญชีมากกว่า 1 บริษัท)
- ที่ปรึกษาทางบัญชี / ผู้ตรวจสอบบัญชี / ผู้สอบภาษี
- ผู้วางระบบหรือเขียนโปรแกรมบัญชี
- นักวิเคราะห์ต้นทุน
- เจ้าหน้าที่ทางการเงิน / เจ้าหน้าที่ทางการตลาด
- เจ้าหน้าที่ของธนาคาร / เจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
- วิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี
- ภาษีอากร
- นักการตลาด / นักวิจัยการตลาด / นักลงทุน และอื่น ๆ
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.hotcourses.in.th
Written by : Toey