วิศวกรรมการเงิน อาชีพสุดรุ่ง ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานไทย + AEC

เชื่อว่าหลาย ๆ คน อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักเกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมการเงินกันมากสักเท่าไหร่ แต่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาที่เรียนจบออกมาแล้วมีงานทำอย่างแน่นอนและยังมีค่าตอบแทนดีมาก เพราะเป็นสายงานที่ต้องการความแม่นยำและความเชี่ยวชาญสูงมาก

อาชีพสุดรุ่ง วิศวกรรมการเงิน

ซึ่งในปัจจุบันตลาดแรงงานยังมีความขาดแคลนผู้ที่มีความชำนาญในด้านวิศวกรรมการเงิน และเมื่อตลาดแรงงานมีการเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ AEC ก็ยิ่งทำให้อาชีพด้านวิศวกรรมการเงินเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

เรียนเกี่ยวกับอะไร?

วิศวกรรมการเงิน (Financial Engineering) จะเน้นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีทักษะทางด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องคำนวณและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างชำนาญ

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศไทยจะสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 3 และปี 4 ได้มีโอกาสในการเข้าสอบใบอนุญาตผู้ประกอบการธุรกิจทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เช่น CISA (Certified Investment & Securities Analyst Program) ของประเทศไทย และ CFA (Certified Financial Analyst) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

คะแนนใช้ในสมัคร (รอบแอดมิชชัน)

** ส่วนในรอบอื่น ๆ ของการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาได้เลยค่ะ

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ได้แก่

1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะเปิดสอนในระดับปริญญาตรีเป็นต้นไป เมื่อน้อง ๆ เข้าไปเรียนในชั้นปีที่ 1 จะเรียนรู้ในรายวิชาขั้นพื้นฐาน เช่น วิชาแคลคูลัส และสถิติต่าง ๆ ฯลฯ พอขึ้นมาในชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนรู้ในรายวิชาที่ลึกลงไป เช่น วิชาคณิตศาสตร์ทางการเงิน และการคำนวณที่ซ้ำซ้อนมากขึ้น ฯลฯ

ส่วนในปี 3 จะเรียนรู้ในรายวิชาที่ประยุกต์ทางการเงิน และการมองเห็นภาพรวมว่าจะนำเอาวิชาที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์อย่างไรในการทำงาน และพอขึ้นมาชั้นปีที่ 4 ในเทอมแรกน้อง ๆ จะต้องฝึกงานสหกิจศึกษาตลอด 4 เดือน กับกลุ่มธุรกิจ  ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร และสายงานประกันต่าง ๆ หลังจากนั้นก็จะต้องศึกษาในวิชาเฉพาะทางอีกด้วย เช่น วิชาตลาดตราสารอนุพันธ์ และวิชาการบริหารจัดการหลักทรัพย์ เป็นต้น

นอกจากนี้ในหลักสูตรกาเรียนการสอนวิศวกรรมการเงินยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สามารถเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมการเงินของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ในเวลา 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง อีกด้วย

เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : คลิกที่นี่

ติวเข้ม Calculus Part 4

Link : https://seeme.me/ch/pparkmathacademy/q1roak?pl=yad0Mz

2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเปิดสอนอยู่ภายใต้คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ระดับปริญญาโท ซึ่งจะมุ่งเน้นเสริมสร้างทักษะและความสามารถให้ผู้สนใจที่จะพัฒนาตนเองไปยังสายงานด้านการประเมินและการบริหารความเสี่ยง การบริหารงานธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจ รวมถึงการร่วมงานกับองค์กรพัฒนาซอร์ฟแวร์ด้านการเงินต่าง ๆ ทั่วโลก

โดยมีระยะเวลาในการเรียน 1 ปี ประกอบด้วยการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างศาสตร์ด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และศาสตร์ด้านการเงิน ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความรู้รอบและรู้ลึกที่นำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านธุรกิจการเงิน

เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คลิกที่นี่

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงินและการจัดการ (FEM) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดสอนในระดับปริญญาโท โดยจะเป็นเป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการความรู้ทฤษฎีด้านการเงิน คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อมุ่งศึกษาคิดวิเคราะห์ และจัดการปัญหาด้านวิศวกรรมการเงิน

โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจการเงิน การธนาคารและการประกันภัย ฯลฯ ซึ่งยังขาดแคลนบุคลากรในปัจจุบัน และมีจำนวนหน่วยกิตรวมในการเรียนตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต น้อง ๆ สามารถเข้ามาดูรายละเอียด : คลิกที่นี่

เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : คลิกที่นี่

ตีโจทย์ฟิสิกส์ พิชิต การแตกแรง

Link : https://seeme.me/ch/devilphysic/Mg8Pjq?pl=EGnYoy

4. พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง + นิด้า

โครงการหลักสูตรร่วม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง + นิด้า KMITL-NIDA Double Degree Program in Financial Engineering เป็นหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท (4+1) จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทั้งหมด ระยะเวลาศึกษา 5 ปี หรือ 10 ภาคการศึกษาในระบบทวิภาค แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

  1. การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลา 4 ปี หรือ 8 ภาคการศึกษา
  2. การศึกษาระดับปริญญาโท ระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา

ซึ่งผู้เรียนจะได้ศึกษารายวิชาทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน (Economic and Finance Theory) วิชาทางวิศวกรรมศาสตร์ (Methods of Engineering) และเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ (Tools of mathematics) รวมถึง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming) โดยคณาจารย์จาก สจล. และ นิด้า ร่วมกันสอนตั้งแต่ปีแรก พร้อมยังมีการผนวกหลักสูตรควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ

โดยหลักสูตรดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสภาสถาบันของทั้งสองสถาบัน คาดว่าจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในช่วงต้นปี 2562 โดยผ่านระบบรับสมัครของ สจล. และเปิดภาคเรียนในเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป 

เว็บไซต์ KMITL : คลิกที่นี่

เรียนจบแล้วทำงานด้านไหน?

  1. ทำงานด้านบริหารความเสี่ยง
  2. ทำงานด้านนโยบายสินเชื่อ
  3. ทำงานด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์
  4. ทำงานด้านการลงทุน
  5. ทำงานด้านการประกันภัย
  6. นักวิจัยภายในหน่วยงานของธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ และหน่วยงานของที่ปรึกษาการลงทุน ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่ ฯลฯ

Written by : Toey

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง