O-NET คืออะไร ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไรกับเข้าเรียนต่อ

การสอบโอเน็ต O-NET คืออะไร ? O-NET หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า Ordinary National Education Test คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดสอบขึ้นโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อชี้วัดคุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษานักเรียนและโรงเรียน

การสอบโอเน็ต O-NET คืออะไร ?

ทั้งนี้คะแนนสอบ O-NET ยังสามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาต่อได้ด้วยนะ โดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 ต้องนำคะแนน O-NET มาใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วย (นอกจากนี้ยังมีผลคะแนน GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ ที่นำมาใช้ประกอบกันอีกด้วย) สำหรับวิชาที่ใช้ในการสอบ O-NET ของนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6 มีดังนี้

วิชาสอบของนักเรียน ป.6

  1. คณิตศาสตร์
  2. ภาษาไทย
  3. วิทยาศาสตร์
  4. ภาษาอังฤษ

วิชาสอบของนักเรียน ม.3

  1. คณิตศาสตร์
  2. ภาษาไทย
  3. วิทยาศาสตร์
  4. ภาษาอังกฤษ

วิชาสอบของนักเรียน ม.6

  1. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  2. คณิตศาสตร์
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. ภาษาไทย
  5. วิทยาศาสตร์

ดาวน์โหลดรายละเอียดการสอบ O-NET ปี 2560 : คลิกที่นี่

O-NET ม.6 นั้นมีสำคัญอย่างไร ?

  1. คะแนน O-NET จะติดตัวเราไปตลอด
  2. การสอบ O-NET จัดสอบโดย สทศ. และสามารถสอบได้เพียงครั้งเดียว
  3. ถ้าขาดสอบ หรือไม่ได้เข้าสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการสมัครแอดมิชชั่น
  4. บางคณะ/สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ เป็นเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย

O-NET เกี่ยวกับข้องกับสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร ?

คะแนนสอบ O-NET ถือว่าเป็นสิ่งที่สำหรับการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะเป็นคะแนนที่บ่งบอกถึงความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐาน ที่ทางมหาวิทยาลัยจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนต่อ ดังนั้นเราจึงต้องเข้าสอบ O-NET และนำหลักฐานผลคะแนนมายื่นในการสมัครเข้าเรียนต่อด้วย โดยคะแนน O-NET สามารถที่จะใช้ยื่นรับตรงและแอดมมิชชั่นได้ ดังนี้

1. รับตรง กสพท 

สำหรับการสมัครรับตรงในกลุ่ม กสพท จะไม่ได้นำคะแนนสอบ O-NET มารวมในน้ำหนักของคะแนน แต่มีเงื่อนไขว่านักเรียนที่สมัครสอบ กสพท จะต้องมีคะแนน O-NET รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 (ใน 5 กลุ่มสาระวิชา)

2. รอบแอดมิชชั่น

ในรอบแอดมิชชั่น สำหรับนักเรียนทั่วไป (รอบที่ 4 ในระบบ TCAS) จะใช้คะแนน O-NET เป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก โดยจะมีค่าน้ำหนักคะแนนร้อยละ 30 และในบางคณะ/สาขาวิชาจะมีการกำหนดคะแนนขั้นต่ำของ O-NET เอาไว้ด้วย

3. รับตรงในบางโครงการ

สำหรับบางคณะ/สาขาวิชาในบางมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดรับสมัครตรงเอง โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เอง โดยนอกจากจะมีการสอบ เกรดเฉลี่ยสะสมแล้ว บางโครงการยังมีการกำหนดให้ต้องใช้คะแนนสอบ O-NET ด้วย

รูปแบบข้อสอบ และจำนวนข้อสอบในแต่ละรายวิชา

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการสอบ O-NET ได้ : คลิกที่นี่ เว็บไซต์ สทศ. : คลิกที่นี่

นำอะไรเข้าห้องสอบโอเน็ตได้บ้าง ?

คำแนะนำในการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย : คลิกที่นี่

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง