การสมัคร TCAS 62 ในปีนี้มีทั้งหมด 5 รอบ แต่ละรอบก็จะมีกฎเกณฑ์กำหนด และค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป ถามว่าแล้จะสมัครรอบไหน จำเป็นมั้ยที่ต้องสมัครทุกรอบ คำตอบคือไม่จำเป็นค่ะ จุดประสงค์สำคัญคือ TCAS 62 ทั้ง 5 รอบนี้เป็นทางเลือกให้น้อง ๆ เลือกค่ะ อาจจะเลือกรอบใดรอบหนึ่งเพียงรอบเดียวก็ได้ ในบทความนี้เราจะมา สรุปค่าใช้จ่าย TCAS 62 ทั้ง 5 รอบ ว่าแต่ละรอบจะต้องเตรียมงบประมาณไว้เท่าไรบ้าง?
สรุปค่าใช้จ่าย TCAS 62 ทั้ง 5 รอบ ของแต่ละคณะ
ค่าใช้จ่าย TCAS รอบที่ 1 Portfolio-ยื่นแฟ้มสะสมผลงาน
กลุ่มวิทย์สุขภาพ
คณะแพทยศาสตร์, คณะทันตแพทยศาสตร์
- ค่าใช้จ่ายธรรมเนียมการสมัครสอบประมาณ 250 – 1,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายสอบสัมภาษณ์และทดสอบสุขภาพจิต 2,500 บาท
- ค่าธรรมเนียมตรวจสุขภาพ 1,500 – 1,700 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
- TOEFL ประมาณ 6,000 บาท (เป็นการทดสอบวัดความรู้ในภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย)
- IELTS 6,900 บาท (เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน)
- SAT ประมาณ 3,000 บาท (คือการสอบวัดความรู้เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง SAT สามารถใช้สอบเข้าต่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ SAT ถูกจัดสอบโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาชื่อ College Board )
- CU-TEP ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 900 บาท ( CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยสอบทักษะด้านการฟัง อ่าน เขียน )
คะแนนสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อการแพทย์
- BMAT 6,700 บาท ( BMAT คือการสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment)
. . . . .
- วิธีการคิดคะแนน ในระบบ TCAS | GPAX, O-NET, GAT และ PAT
- 4 คะแนนพื้นฐาน ที่น้อง ๆ ต้องมีเอาไว้ใช้สมัคร TCAS – แต่ละรอบใช้คะแนนอะไรบ้าง?
. . . . .
คณะเภสัชศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 700 บาท
คณะพยาบาลศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 350 – 400 บาท
- ค่าธรรมเนียมตรวจสุขภาพ 940 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
- คะแนนสอบความถนัด วิภาววิสัย และจิตวิทยา 300 บาท (เป็นการทดสอบสมอง ทดสอบความจำ ทดสอบความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของบุคคล)
คณะเภสัชศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 700 บาท
คณะสหเวชศาสตร์, เทคนิคการแพทย์, สาธารณสุขศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 300 บาท
คณะสัตวแพทยศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 700 บาท
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, วิทยาศาสตร์การกีฬา, วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี, เทคโนโลยีและการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์ , คณะประมง
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 300 – 400 บาท
คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 350 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- CU-AAT 1,300 บาท (เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- SAT II (Math Level 2 // Physics and Chemistry) ประมาณ 3,000 – 4,000 บาท ( SAT II เป็นแบบทดสอบ SAT Subject Test เป็นการสอบวิชาเฉพาะทางที่จำเป็นในการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เช่น Mathematics (ในระดับที่ยากกว่าใน SAT I), Physics, Chemistry, Biology เป็นต้น โดยข้อสอบ SAT II ในวิชาข้างต้นจะให้เวลาทำในแต่ละวิชาเพียง 60 นาทีเท่านั้นและคำถามจะเป็นแบบ Multiple Choice)
คะแนนสอบวัดความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- CU-ATS 1,000 บาท (แบบทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อเข้าเรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ-Inter)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ IT, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 500 บาท
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณะครุศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 300 บาท
คณะนิเทศศาสตร์ , วารสารศาสตร์ฯ
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 600 บาท
- ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- TOEFL ประมาณ 6,000 บาท (เป็นการทดสอบวัดความรู้ในภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย)
- IELTS 6,900 บาท (เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน)
- TOEIC 1,500 บาท ( TOEIC หรือ Test of English for International Communication คือการทดสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับการสื่อสารทั่วๆ ไป TOEIC จะมีอยู่สองแบบคือ TOEIC Listening and Reading Test การฟังและการอ่าน และ TOEIC Speaking and Writing Tests การพูดและการเขียน)
- CU-TEP 900 บาท ( CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยสอบทักษะด้านการฟัง อ่าน เขียน )
- SWU-SET 500-600 บาท (คือ การสอบวัดระดับสมิทภาพทางภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แบ่งเป็น 4 พาท ได้แก่ Listening, Vocabulary, Usage & Functional Language และ Reading SWU-SET เป็นข้อสอบที่สอบแบบ Paper มีคำถามทั้งหมด 100 ข้อ ให้เวลาในการทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ค่าสมัครสอบบุคลทั่วไป 600 บาท/ครั้ง หากเป็นนิสิตของ มศว ค่าสมัครสอบ 500 บาท/ครั้ง หลังจากสอบรอรับผลคะแนนภายใน 7 วันหลัง
กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มนุษยศาสตร์ และโบราณคดี
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 250 – 350 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความสามารถทางภาษา
- TOEFL ประมาณ 6,000 บาท (ทดสอบวัดความรู้ในภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาลัย)
- IELTS 6,900 บาท (เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน)
- SAT ประมาณ 3,000 บาท ( SAT เป็นข้อสอบมาตรฐาน ที่วัดทักษะด้าน verbal และ mathematical reasoning)
- CU-TEP 900 บาท ( CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา เหมาะสำหรับวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยสอบทักษะด้านการฟัง อ่าน เขียน )
- TU-GET 500 บาท (เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง)
- TOPIK 700 บาท ( หรือเรียกว่า Test Of Proficiency In Korean เป็นการสอบวัดระดับความรู้ ความเข้าใจ ในภาษาเกาหลี มาตรฐานเดียวกับที่ใช้วัดระดับภาษาเกาหลีในมหาวิทยาลัย)
- Goethe-Zertifikat A2 = 2,300 บาท เป็นการสอบภาษาเยอรมันสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อรับรองความสามารถขั้นต้นระดับสองหรือ A2 จากทั้ง 6 ระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบความตกลงร่วมกันของสหภาพยุโรป หรือ GER โดยรวมแล้วต้องเข้าใจและใช้ประโยค รวมถึงสำนวนที่ใช้เป็นประจำในสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้
- JLPT ระดับ N1 N2 N3 = 800 บาท / N4 N5 = 600 บาท (JLPT เป็นการสอบเพื่อวัดผลและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นภายในและนอกประเทศ )
- DELF ระดับ A1 A2 = 800 บาท / B1 B2 = 900 บาท / C1 C2 = 1,200 บาท (DELF คือ การทดสอบระดับภาษาฝรั่งเศส)
- HSK ระดับ 1 = 500 บาท / ระดับ 2 = 700 บาท / ระดับ 3 = 900 บาท / ระดับ 4 = 1,200 บาท / ระดับ 5 = 1,600 บาท / ระดับ 6 = 2,000 บาท (HSK คือ การวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง)
คณะรัฐศาสตร์, คณะนิติศาสตร์ / คณะสังคมวิทยา / คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 350 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความสามารถทางภาษา
- IELTS 6,900 บาท (เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน)
- TU-GET 500 บาท (เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง)
- TOEFL – IBT ประมาณ 6,000 บาท (การสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ มีทดสอบ Reading (การอ่าน), Listening (การฟัง), Speaking (การพูด) และ Writing (การเขียน) )
คณะบริหารธุรกิจ, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, เศรษฐศาสตร์, จิตวิทยา
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์
- TU-GET 500 บาท (เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง)
- CU-AAT 1,300 บาท (เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้สำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- SAT ประมาณ 3,000 บาท ( SAT เป็นข้อสอบมาตรฐาน ที่วัดทักษะด้าน verbal และ mathematical reasoning)
คณะมัณฑนศิลป์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, คณะดุริยางคศิลป์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 600 บาท แล้วแต่คณะ
กลุ่มสถาปัตย์
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 500 บาท
ค่าสมัครสอบวัดความถนัดเพิ่มเติม
คะแนนสอบวัดความสามารถทางภาษา
- TU-GET 500 บาท (เป็นข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้ประสงค์จะทดสอบความรู้ ภาษาอังกฤษเพื่อทราบระดับความสามารถของตนเอง)
- IELTS 6,900 บาท (เป็นการทดสอบการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน)
- TOEFL ประมาณ 6,000 บาท (ทดสอบวัดความรู้ในภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกันในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาลัย)
ค่าใช้จ่าย TCAS รอบที่ 2 – รับตรงโควตา
มีทั้งแบบสอบข้อเขียนและปฏิบัติ อาจมีการจัดสอบวิชาเฉพาะเพิ่มเติมในบางโควตา ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือก กำหนดเกณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบเอง มีช่องทางในการสมัครคือผ่านทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัย โดยสามารถยื่นได้มากกว่า 1 ที่ สอบติดได้มากกว่า 1 ที่ แต่เลือกยืนยันสิทธิ์ได้เพียง 1 ที่เท่านั้น
- ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 200 – 600 บาท (ยกตัวอย่างโครงการรับสมัครคัดเลือก TCAS รอบที่ 2 ของ มศว ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 600 บาท, โควตา 28 จังหวัด ม.ศิลปากร ค่าสมัครสอบ 400 บาท ( โควตานี้น้อง ๆ จะต้องเสียค่าสอบวิชาเฉพาะเพิ่มวิชาละ 200 บาท เช่น PSAT เภสัชศาสตร์) , โครงการความสามารถพิเศษ รับแบบโควตาพื้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ ค่าสมัครสอบ 200 บาท ในโครงการนี้ เป็นต้น ทั้งนี้น้อง ๆ ต้องเข้าไปเช็ครายละเอียดค่าสมัครของคณะที่สนใจของแต่ละมหาลัย)
. . . . .
ค่าใช้จ่าย TCAS รอบที่ 3 – รับตรงร่วมกัน + กสพท
ช่องทางที่ใช้ในการสมัครคือ เว็บไซต์ ทปอ. : http://a.cupt.net โดยมีคะแนนที่ใช้ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
- เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ (สำหรับบางโครงการ)
- GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ ประมาณวิชาละ 140 บาท)
- 9 วิชาสามัญ ประมาณ 700 บาท
- สอบวิชาเฉพาะ (ความถนัดแพทย์) ประมาณ 800 บาท
- คะแนน O-NET ขั้นต่ำ (สำหรับบางโครงการ + กสพท)
** ตารางค่าใช้จ่ายวิชาสอบ แยกตามกลุ่มคณะมาฝาก ซึ่งมีทั้งของเด็กสายวิทย์และสายศิลป์ เช็คได้ที่นี่)
โดยการเลือก TCAS รอบที่ 3 นี้สามารถเลือกได้ 6 อันดับ (แบบเรียงลำดับ) ค่าเลือกอันดับละ 100 บาท ค่าบริหารจัดการสิทธิ์ส่วนกลาง 50 บาท (ใครเลือก 6 อันดับ จะมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด 650 บาท) หากน้อง ๆ วางแผนมาดีว่าจะเลือกอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทั้ง 6 อันดับก็ได้
. . . . .
ค่าใช้จ่าย TCAS รอบที่ 4 – Admission
สำหรับแอดมิชชั่น คะแนนสอบกลางที่ใช้คือ
- เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- O-NET ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ ประมาณวิชาละ 140 บาท)
เลือกได้ 4 อันดับ อันดับแรก มีค่าสมัคร 100 อันดับถัดไปบวกเพิ่มอันดับละ 50 บาท ถ้าเลือกทั้งหมดก็ 250 บาท
. . . . .
TCAS รอบที่ 5 – รับตรงอิสระ
สมัครโดยตรงกับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดค่าธรรมเนียมการรับสมัครได้อิสระ ก็มีค่าสมัครเริ่มต้นตั้งแต่ 300 – 1,000 บาท คะแนนที่ใช้ในการพิจารณาในการสมัคร ได้แก่
- เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ (สำหรับบางโครงการ) ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- O-NET ไม่เสียค่าใช้จ่าย
- GAT/PAT (ขึ้นอยู่กับวิชาที่เลือกสอบ ประมาณวิชาละ 140 บาท)
- 9 วิชาสามัญ ประมาณ 700 บาท
โดยสรุปแล้ว
ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย ก็จะมีค่าสมัครสอบ GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ และค่าสมัครโครงการรับตรงต่าง ๆ หากน้อง ๆ มีการวางแผนก่อนที่จะทำการสมัคร ไม่สมัครแบบหว่านแห ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายที่บานปลายนะคะ
ขอบคุณที่มาจาก: dek-d
แจกแต้ม #PAT2 บอกเลยข้อนี้ออกทุกปี!!
Link : https://seeme.me/ch/devilphysic
บทความแนะนำ
- คำถามเกี่ยวกับการศึกษาไทย TCAS GAT/PAT O-NET 9 วิชาสามัญ ระบบเคลียริ่งเฮาส์
- ระบบเคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) คืออะไร | รวมข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการรับตรง
- สรุปทุกเรื่องการสอบของนักเรียนไทย
- สรุป ค่าสมัครสอบ พร้อมค่ายืนยันสิทธิ์ ในระบบ TCAS ปีการศึกษา 2561
- สรุปรายวิชา GAT/PAT ที่ใช้คัดเลือก แต่ละคณะ/สาขาวิชา (รับตรงและแอดมิชชัน)
- เช็คผลสอบโอเน็ตได้ 3 ช่องทาง – ประกาศผลสอบโอเน็ต ป.6 ม.3 ม.6 !