กำลังเป็นประเด็นดราม่ากับ การคัดเลือกการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ ด้วยระบบใหม่ที่เรียกว่า Thai University Central Admission System หรือ TCAS 61 ที่ระบบเอื้อให้เกิดการกั๊กที่นั่ง จนทำให้คะแนนปีนี้สูงปรี๊ด ทำเอาเด็ก ม.6 หลายคนต้องเสียน้ำตาไปตาม ๆ กัน เราเลยอยากให้ทุกคนได้ดูระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ของประเทศฟินแลนด์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกกัน ว่าเขาสอบแบบไหน สอบกันยังไง สอบอะไรบ้าง?
ส่องระบบแอดมิชชั่น ของประเทศฟินแลนด์
“The Matriculation Examination is a national examination based on the syllabus of the Finnish upper secondary school.”
เป็นประโยคที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ของ “YLIOPPILASTUTKINTOLAUTAKUNTA STUDENTEXAMENSNÄMNDEN” (ภาษาฟินแลนด์) อ่านไม่ออกก็ไม่เป็นไรเนาะ เอาเป็นว่าเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ สทศ. ของไทยนี่ล่ะ (แต่การทำงานคงเทียบกันไม่ได้เนอะ)
จากคำเปรยข้างต้น พูดง่าย ๆ ก็คือ The Finnish Matriculation Examination เป็น “การสอบเข้าเป็นนักศึกษา” ของประเทศฟินแลนด์นั่นเอง
Link ; seeme.me/ch/goodmorningthailand
สอบ Matriculation Examination ไปเพื่ออะไร?
สอบเพื่อให้จบระดับ ม.6 และใช้คะแนนี้ไปยื่เข้ามหา’ลัย เป็นการทดสอบคุณภาพของนักเรียน ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษาระดับ 2 (ม.4 – ม.6) และจะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งการสอบแอดมิชชั่น หรือ Matriculation Examination ถือเป็น “การสอบครั้งสุดท้าย” (Final Exam) ด้วย
ระบบแอดมิชชั่นของฟินแลนด์
ไม่ วุ่น วาย
มีการสอบแค่อย่างเดียวเท่านั้นคือ Matriculation examination นี่แหละ
สอบ 2 ครั้งต่อปี
การสอบจะถูกจัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี คือในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (กุมภาพันธ์ – มีนาคม) และในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (กรกฎาคม – กันยายน)
ไม่มีสอบติด ๆ กัน
สอบวันเว้น 2 – 3 วัน ทำให้มีเวลาให้พัก และอ่านหนังสืออย่างเต็มที่
ไม่จำเป็นต้องสอบให้เสร็จในครั้งเดียว
ผู้เข้าสอบทุกคนต้องสอบทุกวิชาให้เสร็จ ภายในเวลาไม่เกิน 3 ครั้งที่จัดสอบ หรือถ้าใครรีบ จะสอบทุกวิชาให้เสร็จภายในครั้งเดียวก็ทำได้ เช่น ปีเตอร์สอบครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 2017 แต่ผลออกมาเขาสอบตกคณิตฯ ปีเตอร์จะมีสิทธิ์สอบแก้ตัวภายในระยะเวลาไม่เกินอีก 2 ครั้งที่จัดสอบ (ใบไม้ร่วง 2017, ใบไม้ผลิ 2017)
ไม่มี GPAX
การจะสอบเข้ามหา’ลัยของเด็กฟินแลนด์ เกรดตอน ม.4 หรือ ม.5 ไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการคิดเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ถ้าอยากเรียนให้จบ ม.6 ก็แค่ทำข้อสอบไฟนอล หรือ Matriculation examination ให้ผ่าน! แต่จะมีแค่บางโรงเรียนเท่านั้นที่จะเอาเกรด ม.4 ม.5 มาเฉลี่ยรวมกับผลสอบแอดมิชชั่น ก่อนตัดออกมาเป็นคะแนน
เอาคะแนน Matriculation Examination ไปยื่นมหา’ลัยได้เลย
พอสอบ Matriculation Examination เสร็จ ก็สามารถเอาคะแนนสอบนี้ไปยื่นให้ทางมหา’ลัยได้เลย มหา’ลัยส่วนใหญ่ก็จะจัดสอบอีกรอบหนึ่ง ซึ่งมหาลัยเป็นคนออกข้อสอบเอง และสุดท้ายจะใช้คะแนนสอบ Matriculation มารวมกับ คะแนนสอบของมหา’ลัย ที่ใช้ตัดสินชะตาชีวิตของเด็ก ๆ
บางมหา’ลัยก็ใช้แค่คะแนน Matriculation Examination
– แต่ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่มีการสอบรอบสอง หมายความว่า แค่สอบแอดมิชชั่น หรือ Matriculation Examination อย่างเดียวก็เอาคะแนนมายื่นกับมหา’ลัยได้เลย
สายอาชีพไม่ต้องสอบ Matriculation Examination
กลุ่มที่ไม่ได้เรียน ม.ปลาย แต่เรียนสายอาชีพมา ไม่ต้องสอบ Matriculation Examination แค่เรียนจบจากโรงเรียนอาชีวะ แล้วไปสอบข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออกเองได้เลย หรือบางคณะในบางมหา’ลัย ก็ไม่ต้องใช้คะแนนแอดมิชชั่น แค่ต้องสอบของมหา’ลัยอย่างเดียวจบเช่นกัน (ข้อยกเว้นเยอะเหลือเกิน)
มีการสอบแค่ 4 วิชา
– ภาษาแม่
– ภาษาที่สอง หรือ ภาษาต่างประเทศ
– คณิตศาสตร์
– กลุ่มวิชาอื่น ๆ โดยจะมีให้เลือกสอบทั้งหมด 13 วิชา เช่น สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ฟิสิกส์ เป็นต้น โดยจะเลือกสอบกี่วิชาก็ได้ ใครมั่นใจว่าเจ็งฟิสิกส์ นึกว่าลูกไอสไตน์มาเอง ก็จะสอบฟิสิกส์อย่างเดียวก็ได้
แต่ก็ไม่ง่ายไปทั้งหมด เพราะ วิชาที่มีความใกล้เคียงกันอย่าง เคมีกับฟิสิกส์ หรือ ประวัติศาสตร์กับสังคมศึกษา จะมีตารางสอบชนกัน สามารถเลือกสอบได้แค่วิชาเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ที่ผ่านมา มีการทดลองใช้การสอบผ่านทางระบบดิจิทัล ใช้แลปทอปในการทำข้อสอบในบางวิชา และในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก: ylioppilastutkinto.fi, reddit
Written by: Typrn
บทความแนะนำ
- เรียนจบแล้วยังไม่อยากทำงาน | Gap Year ทั้งที ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า
- How to ฝึกงานยังไง ให้ประสบความสำเร็จ – ฝึกงานให้ได้งาน
- อย่าสติแตก! 4 กฎเหล็ก เรียนไปทำงานไป ทำยังไงไม่ให้ชีวิตพัง
- สัมภาษณ์งานระวังให้ดี! 7 ข้อนี้ที่ HR จับตามมองคุณอยู่ แต่ไม่เคยบอก
- เรียนไปเป็นครูพละ? วิทยาศาสตร์การกีฬา เรียนจบไป ทำอะไรได้บ้าง ?