โรงเรียนสตรีวิทยา เป็นโรงเรียนรัฐบาลสำหรับนักเรียนหญิง ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนสตรีวิทยา
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2443 ก่อตั้งสตรีวิทยา
โรงเรียนสตรีวิทยาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่เดิมตั้งอยู่ที่วังพระองค์เจ้าอลังการหลังโรงหวย กข.ตำบลสามยอด(ปัจจุบันเป็นตึกของบริษัทสามมิตรสงเคราะห์) กรมศึกษาธิการได้แต่งตั้ง มิสลูสี ดันแลป เป็นครูใหญ่คนแรกของสตรีวิทยา ต่อมาโรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกสองชั้น ถนนเจริญกรุง หลังวังบูรพาภิรมย์ ในช่วงนั้นคนทั่วไปนิยมเรียกโรงเรียนสตรีวิทยาว่า”โรงเรียนแหม่มสี”สมัยนั้นโรงเรียนเปิดรับทั้งชายและหญิง ซึ่งนักเรียนชายต้องอายุไม่เกิน 12 ปี สอนตั้งแต่เด็กเริ่มเรียน ส่วนชั้นประถมมีการสอนภาษาอังกฤษด้วย เมื่อโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ มิสลูสี ดันแลป ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่ต้องพัฒนาในระดับสูงขึ้น จึงแจ้งความประสงค์ยกโรงเรียนสตรีวิทยาให้แก่กรมศึกษาธิการ กรมธรรมการ และ มิสลูสี ยินยอมรับราชการต่อไป
3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นโรงเรียนรัฐบาล
กระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้ลงแจ้งความเปิดโรงเรียนสตรีวิทยาประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นโรงเรียนของรัฐบาล ให้สอนตามหลักสูตรของกรมศึกษาธิการและได้จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับมัธยมศึกษา
พ.ศ. 2448 ย้ายไปที่ตึกริมถนนราชบพิธ
โรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกริมถนนราชบพิธติดกับโรงพิมพ์โสภณพิพัฒนาการ
พ.ศ. 2449-2450
มิสลูสี ดันแลป ลาออกเพราะสุขภาพไม่ดี กรมศึกษาธิการจึงให้ครูทิม กาญจนาโอวาท ครูใหญ่โรงเรียนศึกษานารี เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรีวิทยาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมากระทรวงธรรมการรวมโรงเรียนสตรีวิทยาและโรงเรียนศึกษานารีเข้าด้วยกันแล้วย้ายมาอยู่ที่ตึกดิน มุมถนนดินสอและถนนราชดำเนินกลาง(ปัจจุบันคือบริเวณ บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด) โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีวิทยาตั้งแต่พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2452 ย้ายไปถนนดินสอ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องการที่ดินคือเพื่อสร้างอาคารตามโครงการปรับปรุงถนนราชดำเนินใหม่ กระทรวงศึกษาธิการโดย พล.ร.อ.หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งให้หาที่สร้างโรงเรียนสตรีวิทยาใหม่ อาจารย์สิริมา จิณณาสา อาจารย์ใหญ่ ตกลงเลือกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ริมถนนดินสอ พื้นที่9ไร่อยู่ตรงข้ามสถานที่เดิม การก่อสร้างโรงเรียนใหม่ของสตรีวิทยา พล.ร.อ.หลวงสินธุ์สงครามชัย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ชุบชีวิตสตรีวิทยา มีความประสงค์จะให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างในเชิงก่อสร้าง โดยวางแผนผังให้เหมาะสมโอ่โถงงดงาม รายการปลูกสร้างได้แก่ ตึกเรียน2ชั้น1หลัง หอประชุมหรือโรงอาหารเป็นโรงโถงชั้นเดียว มีเวทีสำหรับการแสดง ห้องส้วม ห้องพยาบาล เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ต่อมามีการสร้างหอการฝีมือ โรงครัว บ้านพักครูใหญ่ เรือนภารโรง การก่อสร้างใช้เวลา 17เดือน เปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484
พ.ศ. 2487 ปิดโรงเรียนเพราะสงครามโลก
ปิดโรงเรียนเพราะสงครามโลกครั้งที่สองเกรงจะเป็นอันตรายจากการทิ้งระเบิด
พ.ศ. 2488 เปิดโรงเรียน
หลังสงครามโลกได้เปิดสอนต่อแต่ไปเรียนที่โรงเรียนเบญจมราชาลัยเพราะอาคารเรียนสตรีวิทยาใช้เป็นที่ตั้งหน่วยพยาบาล ของทหารพันธมิตรจนเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 ทหารย้ายออกไป จึงกลับมาเรียนที่เดิม
พ.ศ. 2490 เปิดชั้นเตรียมอุดม
เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมเป็นรุ่นแรกมีแผนกอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนเตรียมแผนกอักษรศาสตร์สอบไล่ได้เป็นที่1ของทั้งประเทศ นอกจากนั้นยังสอบได้เป็นที่2 และที่19ในจำนวนนักเรียน50คนแรกที่ได้รับประกาศชื่อนับเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนรัฐบาลสามารถทำได้ โรงเรียนสตรีวิทยาจึงได้ริเริ่มคิดป้าย เกียรตินิยมเรียนดี ขึ้นเพื่อประกาศชื่อนักเรียนที่เรียนดีติดไว้ที่หอประชุมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2491 จัดตั้งสตรีวิทยาสมาคม
จัดตั้งสตรีวิทยาสมาคม เพื่อเป็นที่พบปะติดต่อกันของศิษย์เก่าและให้ศิษย์เก่าร่วมแรงร่วมใจกันทำประโยชน์ให้แก่โรงเรียน ได้ทำพิธีเปิดป้ายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม
พ.ศ. 2492 กีฬาประเพณี
สมาคมได้มอบทุนให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ที่สอบไล่ได้คะแนนยอดเยี่ยม จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประเพณีซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. 2495-2496 ครบรอบครึ่งทศวรรษ
โรงเรียนได้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์โรงเรียนได้จัดงานฉลองโรงเรียนครบครึ่งทศวรรษ เพื่อฉลองอาคารวิทยาศาสตร์ไปด้วยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2496 งานครั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโดยทรงพระกรุณาเสร็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงาน ยังความปลาบปลื้มปิติแก่คณะครูนักเรียนสตรีวิทยาอย่างหาที่สุดมิได้
พ.ศ. 2498 จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูสตรีวิทยา
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองและครู ตลอดจนเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาของเยาวชนร่วมกัน
พ.ศ. 2512-2515
โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารดังนี้ – สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 40 ห้องเรียน พร้อมหอประชุมใหญาลานเอน จุคนได้ประมาณ1200คน ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – สร้างอาคาร5ชั้นด้านถนนราชดำเนิน ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร เป็นอาคารที่มีห้องเรียนประมาณ40ห้อง และมีห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องพักครู ห้องฝ่ายปกครอง ห้องพิมพ์ดีด และห้องสหกรณ์โรงเรียน
พ.ศ. 2530-2532
โรงเรียนสตรีวิทยาได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น 3 ปีซ้อน และโรงเรียนพระราชทาน นักเรียนพระราชทานปี 2533
พ.ศ. 2543
โรงเรียนสตรีวิทยาครบรอบร้อยปี
เข็มสตรีวิทยา
เป็นรูปโล่ บริเวณพื้นที่สีแดงมีรูปคบเพลิง บริเวณพื้นที่สีขาวมีอักษรเขียนว่า”โรงเรียน”และ”สตรีวิทยา”
คติพจน์ของโรงเรียน
ธัมมัง สุจริตตัง จเร พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
สีประจำโรงเรียน
แดง-ขาว
แดง(แดงเลือดนก) หมายถึง เลือดเนื้อของชาวสตรีวิทยา ลูกสตรีวิทยาจะต้องรักพวกพ้อง สามัคคีกัน ประดุจพี่น้องร่วมสายโลหิต
ไม่ว่าอยู่ ณ ที่ใด สีแดงจะสด-เด่น เปรียบคุณค่าลูกสตรีวิทยาที่มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และพร้อมที่จะทำประโยชน์แก่สังคมฉันนั้น
ขาว หมายถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ดุจดอกมะลิของลูกสตรีวิทยาที่มีจิตใจพร้อมถึงคุณธรรม
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นโพธิ์
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
ดอกเต็งแต้วแก้วกาหลง มีสีขาว เมื่อก่อนจะถูกปลูกไว้บริเวณหน้าโรงอาหาร
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน
พระนิรันตราย
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ฐานกว้าง1เมตร สูง4เมตรขนาดหน้าตัก29นิ้วเบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มมหาโพธิ์ยอดมีรูปพระมหามงกุฏ มีทรวดทรงอย่างคนสามัญแต่คงมีรัศมีตามแบบพระพุทธรูปทั่วไป ประดิษฐาน ณ ด้านขวามือของอาคารเก้าทศวรรษ
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฉลองพระองค์แบบสามัญชนดังที่เคยทรงขณะเป็นนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ฯ ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2543
เทพารักษ์ท่านพระยาทรงสุรเดช
พระยาทรงสุรเดชรับราชการอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เดิมชื่อยม ชาวสตรีวิทยาเคารพบูชาเทพารักษ์ท่านพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างมากมักจะนำหมากพลูไปนมัสการกราบไหว้ท่าน
เจ้าพ่อตึกดิน-เจ้าแม่ทับทิม
เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพบูชาอย่างมากสำหรับชาวสตรีวิทยา ในช่วงสอบไล่-สอบเข้า นักกีฬาไปแข่งขัน หรือทัศนศึกษานอกโรงเรียน มักจะมีการนมัสการกราบไหว้เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิมเพื่อความเป็นสิริมงคล
พระนิรันตราย
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ฐานกว้าง1เมตร สูง4เมตรขนาดหน้าตัก29นิ้วเบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มมหาโพธิ์ยอดมีรูปพระมหามงกุฏ มีทรวดทรงอย่างคนสามัญแต่คงมีรัศมีตามแบบพระพุทธรูปทั่วไป ประดิษฐาน ณ ด้านขวามือของอาคารเก้าทศวรรษ
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระรูปจำลองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีฉลองพระองค์แบบสามัญชนดังที่เคยทรงขณะเป็นนักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์ฯ ในวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2543
เทพารักษ์ท่านพระยาทรงสุรเดช
พระยาทรงสุรเดชรับราชการอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เดิมชื่อยม ชาวสตรีวิทยาเคารพบูชาเทพารักษ์ท่านพระยาทรงสุรเดชเป็นอย่างมากมักจะนำหมากพลูไปนมัสการกราบไหว้ท่าน
เจ้าพ่อตึกดิน-เจ้าแม่ทับทิม
เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิม เป็นที่เคารพบูชาอย่างมากสำหรับชาวสตรีวิทยา ในช่วงสอบไล่-สอบเข้า นักกีฬาไปแข่งขัน หรือทัศนศึกษานอกโรงเรียน มักจะมีการนมัสการกราบไหว้เจ้าพ่อตึกดินและเจ้าแม่ทับทิมเพื่อความเป็นสิริมงคล
อักษรย่อ : ส.ว.
ประเภท : รัฐบาล สังกัด สพฐ.
ก่อตั้ง : 3 สิงหาคม พ.ศ. 2443
รหัส : 10012001
โทรศัพท์ : 0-2281-6505 , 0-2282-1626
email : [email protected]
เว็บไซต์ : http://satriwit.ac.th/
facebook : https://www.facebook.com/Satriwithaya.offcial.page/?fref=ts
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://satriwit.ac.th/