21 เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว มจธ. – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เดิมมีชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่ของประเทศไทย โดยได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ซึ่งในระยะเริ่มแรกได้ทำการเรียนการสอนผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ได้รับการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยวันนี้เราได้รวบรวมเรื่องน่าสนใจของ มจธ. มาให้ทุกคนได้อ่านกันด้วยนะ…

21 เรื่องน่ารู้ รอบรั้ว มจธ.

เรื่องน่ารู้ประจำมหาวิทยาลัย

1. ชื่อเต็มๆ คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” หรือคนทั่วไปมักจะเรียกสั้นๆ ว่า เทคโนฯ บางมด, ม.พระจอมเกล้าธนบุรี, ม.พระจอมเกล้าฯ, มหาวิทยาลัยบางมด, มหา’ลัยบางมด หรือ ม.บางมด แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในย่านบางมด ราษฎร์บูรณะ และทุ่งครุ ยังคงเรียกว่า เทคโนฯ กันอยู่เป็นส่วนมาก

2. หลายๆ คน ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เรียกชื่อย่อมหาวิทยาลัยว่า มจธ. (มอ-จอ-ทอ) ตามอักษรย่อของมหาวิทยาลัย และมักจะเขียนชื่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบบสั้นๆ ว่า “มจธ.” มากกว่าที่จะเขียนด้วยอักษรย่อของมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษว่า “KMUTT”

 

3. คนต่างชาติ มักรู้จัก King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) ในชื่อของ “King Mongkut University” และ “King Mongkut University in Bangkok” และมักจะสับสนกับชื่อในภาษาอังกฤษของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เพราะมีคำว่า “King Mongkut” เหมือนกัน เพื่อลดความสับสนคนต่างชาติมักใช้ตัวย่อ KMUTT ในการเรียกและเขียนชื่อของมหาวิทยาลัยแทนนั่นเอง

4. คนต่างชาติมักจะจำชื่อ King Mongkut’s University of Technology Thonburi ได้จากคำว่า “King Mongkut” และเมื่อคนต่างชาติได้ยินชื่อ King Mongkut’s University of Technology Thonburi อาจจะเข้าใจผิดว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่ถูกก่อในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่อง The King and I

5. ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มี 2 วิทยาเขต ได้แก่ บางขุนเทียน และราชบุรี และก็ยังมี e-School คือ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย และ Bangkok Code ตั้งอยู่บนถนนสาทรใต้

ภาพจาก www.pr.kmutt.ac.th

6. อาคารและสถานที่ในมหาวิทยาลัย อาคารเรียนรวมจะมีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า CB จะมี CB 1, CB 2, CB 3 (ตึกครุ), CB 4 (ตึกวิศวะ), CB 5 (ตึกโยธา), ห้องสโลป (slope) จะมี Slope 200 (บรรจุได้ 200 คน), Slope 600 (บรรจุได้ 600 คน) อยู่ตึกวิทย์ใหม่ทั้งคู่และห้องคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิทยาลัย มีชื่อว่า “ลานแดง” อยู่ใต้ตึก CB 2

7. โลโก้ใหม่ประจำมหาวิทาลัย คือ KMUTT++ กำลังเป็นข้อพิพาทระหว่างอาจารย์และนักศึกษาที่ร้อนแรงมากๆ โลโก้ใหม่เลยดังสมใจแบบไม่ต้องใช้เงินประชาสัมพันธ์ เป็นเรื่องเป็นราวขององค์การนักศึกษาทีเดียวเชียวแหละ ปัจจุบันใช้ KMUTT++ กันอย่างกว้างขวางจนแทบจะลืมไปเลยว่าในอดีตเคยพิพาทกัน

8. สระมรกต มีชื่อมาจากน้ำ (เน่า) ที่เขียวสวยประกายเมื่อยามพระอาทิตย์ส่องดั่ง “มรกต” นั่นเอง

9. ร้านขายน้ำต่างๆ ทั้งสตาร์บัคและทรูคอฟฟี่ช้อปไม่กล้ามาตั้ง เพราะไม่สามารถสู้แคมเปญของร้าน “ลุงหนุ่มน้ำปั่น” ได้คือ แจก iPad เป็นของสมนาคุณให้กับลูกค้าด้วย… แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าจะยังมีอยู่หรือเปล่าน้า

10. KFC ของมหาวิทยาลัย ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลกและไม่ได้มีแค่ขายไก่ทอดเพียงอย่างเดียว แต่ขายอาหาร ก๋วยเตี๋ยว น้ำ หลากหลายประเภทรวมไปด้วยอาหารนานาชาติ (ข้าวแกงปักษ์ใต้ ลาบ ส้มตำ ก็มีนะ) เพราะที่นี่คือ KFC (King’s Mongkut Food Center)

11. หน้าตึก SIT (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) มีประติมากรรม หนึ่งชิ้นซึ่งราคาประมาณสิบล้าน (ออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ) แต่เด็กในคณะเรียกว่า ครองแครงยักษ์, แคบหมู, เปลือกหอย, ลูกชิ้น, ไอ้ก้อนๆ นั้นอะ ส่วนใหญ่เรียกว่าแคบหมู (อย่าให้อาจารย์ได้ยินนะ!!) ชื่อจริงๆ คือ “Information Evolution”

12. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำการเปิดการเรียนการสอนภาควิชามัลติมีเดีย (Chaos Making Machine) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

13. ที่วิทยาเขตบางขุนเทียนมี ป.ตรี คณะเดียว คือ “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “School of Architecture and Design” หรือเขียนย่อว่า SoA+D และถูกแบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ Architecture, Interior Architecture, Industrial Design และ Communication Design เรียกสั้นๆ ว่า เต็ก ,อินท์ ,ไอดี และ คอมเดส

14. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้าน วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, สถาปัตยกรรมศาสตร์

15. มจธ. เปิดทำการเรียนการสอนทั้งหมด 8 คณะ, 1 สถาบัน, 1 บัณฑิตวิทยาลัย, 1 โครงการร่วมบริหาร ทั้งในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี, โท และเอก

ชมรมสันทนาการและเชียร์ (Alumilize)

16. ชื่อเต็มภาษาไทยคือ ชมรมสันทนาการและเชียร์ และมีชื่อเล่นภาษาอังกฤษว่า Alumilize (อลูมิไลซ์ บางคนก็เขียน อะลูมิไลซ์) มีที่มาจากคำว่าอะไรมิรู้?! (มีชื่อเรียกเล่นๆ สั้นๆ ว่า อลู หรือ อะลู)

17. มีเด็กในชมรมมาจากทุกภาควิชาในมหาวิทยาลัย แต่เด็กวิทยามีน้อยมาก ไม่รู้ทำไม บางรุ่นมีคนเดียว?!

18. สัญลักษณ์ประจำชมรม คือ มดที่มีปีก 2 ข้าง ประกอบด้วยปีกเทพข้างขวา 3 ปีก และปีกมารข้างซ้าย 3 ปีก มีวงแหวนเทวดาอยู่บนหัว และมีหางปีศาจ (มีรุ่นพี่คนหนึ่งบอกว่า ท่าหลีดเพลงพระจอมเกล้าธนบุรีท่าแรก มาจากตัวอลูนี่แหละ ไม่เชื่อลองไปดูสิ)

19. เครื่องแบบของชมรม คือ เสื้อชมรมสีดำและกางเกงเลสีแดง

20. เสื้อชมรมต้องทำการคัดเลือก ออดิชั่นสมาชิกเพื่อเข้าชมรมก่อนถึงจะได้รับ ไม่มีขาย เพื่อหาคนที่เป็น Alumilize อย่างแท้จริง ไม่เจ๋งจริงอยู่ไม่ได้

21. สมาชิกในชมรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสันทนาการและฝ่ายเชียร์

ที่มา : ไร้สาระนุกรม (อัพเดทเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2559)
ภาพจาก Facebook : rmutt.official

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง