นศ. ปริญญาเอก มจธ. พัฒนาระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ดูแลผู้สูงอายุ

นศ.ปริญญาเอก SIT มจธ. ศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ จึงมีความพยายามนำเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลมาช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล

แต่ยังคงมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ผู้สูงอายุไม่ชอบใช้เทคโนโลยี ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัญหาด้านสายตา และการเปิดใจในการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มากนัก เป็นต้น

นางสาววิธารักษ์ เตชะไตรภูมิ นักศึกษาปริญญาเอก โดยมี อ.อัจฉรา ธารอุไรกุล ผศ.ดร.สุรีย์ ฟูนิลกุล และ รศ.ดร.วิเชียร ชุติมาสกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงดำเนินการวิจัยโดยทำการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ พัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลตามกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

ในเบื้องต้นการศึกษา

การยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ผู้สูงอายุยอมรับและเปิดใจกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับ ดี ถึง ดีมาก จากการที่ได้รับผลการทดสอบที่กล่าวข้างต้น ทางคณะได้ร่วมมือกับสถานประกอบการจริง เพื่อทำวิจัยต่อเนื่องใน ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือน ความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ

ซึ่งถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในระบบการแพทย์ทางไกล ซึ่งระบบนี้จะทำการวัดคลื่นหัวใจจากเครื่องมือวัดคลื่นหัวใจที่ประยุกต์ขึ้นเพื่อส่งข้อมูลคลื่นหัวใจด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในรูปแบบของกราฟคลื่นหัวใจบนสมาร์ตโฟน นอกจากนั้น

แอปพลิเคชันจะแจ้งเตือนข้อความ

หากตรวจพบว่าการเต้นของคลื่นหัวใจ มีรูปแบบผิดปกติ และเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน แอปพลิเคชันจะแสดงสัญลักษณ์ขอความช่วยเหลือขึ้นมาโดยอัตโนมัติ โดยผู้สูงอายุสามารถกดเพื่อส่งข้อความและโทรหาผู้ดูแลหรือครอบครัวอัตโนมัติตามที่ผู้ใช้ได้ตั้งค่าไว้

กระบวนการวิจัยที่กล่าวมา

ได้นำเข้าร่วมประชุมพิจารณากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคหัวใจ ได้ผลสรุปการใช้งานว่า สามารถนำไปใช้ในการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้จริง

การวิจัยนี้ เป็นต้นแบบหนึ่งของตัวอย่างการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านอื่นๆ ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุยอมรับการใช้เทคโนโลยี ลดภาระในการเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

บทความอื่น ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง