การจัดอันดับ คณะแพทยศาสตร์ สาขาแพทยศาสตร์ สูตินรีแพทย์ เรียนต่ออะไรดี แนะแนวการศึกษา แพทย์

สาขาแพทยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แนะนำ 10 อันดับน่าสนใจ

Home / ข่าวการศึกษา / สาขาแพทยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แนะนำ 10 อันดับน่าสนใจ

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า “แพทย์” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีรายได้สูง ไม่แพ้อาชีพในสายวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ เลย โดยที่อาชีพแพทย์ สามารถแตกแขนงออกไปได้อีกหลากหลายสาขาวิชาด้วยกัน เช่น สูตินรีแพทย์ ศัลยแพทย์ช่องปาก ศัลยแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์ทั่วไป ฯลฯ เผื่อน้องๆ คนไหนสนใจจะได้เลือกเรียนกันให้ถูกสาย … ลองมาดูกันเลยว่า สาขาแพทยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แนะนำ 10 อันดับน่าสนใจ

เรียนจบแพทย์ สาขาวิชาไหนดีที่สุด ?

1. แพทย์กระดูก

สำหรับ แพทย์กระดูก หรือเรียกว่า “ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)” โดยที่ประเทศไทยจะมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ในสาขานี้มากมายหลายชื่อด้วยกัน เช่น ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์กระดูกและข้อ หรือหมอกระดูก เป็นต้น หรือจะเรียกสั้นว่า “หมอออร์โธฯ” ก็ได้ แพทย์ในสาขานี้จะต้องทำการวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย

โดยทั่วไปแล้วศัลยแพทย์จะมีค่าตอบแทนที่คอนข้างสูง เมื่อเทียบกับแพทย์ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และยังต้องมีทักษะที่ดีเยี่ยม มีความชำนาญมากเป็นพิเศษด้วย ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่โรคกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงอุบัติเหตุทางร่างกายและกระดูกหักสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเหตุนี้เองก็ทำให้ศัลยแพทย์กระดูกมีความต้องการสูงมากยิ่งขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย เมื่อยิ่งต้องการมากขึ้นรายได้ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย

2. ศัลยแพทย์หัวใจ

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า “โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรก่อนวัยอันควร มาเป็นอันต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากโลกหัวใจสูงขึ้นถึงปีละ 17 ล้านคนจากทั่วโลก และยังมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย จึงทำให้แพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคหัวใจเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวัน

ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)” หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons)” ก็ได้ โดยที่เป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ดังนั้น แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด จึงทำให้แพทย์ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดมีรายได้เฉลี่ยต่อปี สูงมาเป็นอันต้นๆ ของประเทศไทย

3. ศัลยแพทย์ทั่วไป

ศัลยแพทย์ทั่วไป (General Surgeon) หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “หมอผ่าตัด” จัดว่าเป็นหมอที่มีรายได้สูงมากอีกหนึ่งสาขาวิชาก็ว่าได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานภายใต้ความกดดันและแข็งขันกับเวลา เพราะทุกนาทีหมายถึงชีวิตของผู้ป่วยที่ฝากเอาไว้ในมือของหมอ โดยที่ศัลยแพทย์สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกหลายแขนงด้วยกัน เช่น ประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าสมอง) ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก) และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่ที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ “ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง” หรือที่เรียกกันว่า “หมอเสริมความงาม” นั่นเอง และในส่วนของศัลยแพทย์ทั่วไปจะทำหน้าที่ในการผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่ง กระเพาะ ลำไส้ ถุงน้ำดี และม้าม เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการผ่าตัดเล็กต่างๆ อีกด้วย

4. วิสัญญีแพทย์

วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หมอดมยา หรือ หมอวางยาสลบ” ทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด ทั้งในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ต้องเลือกยา รวมถึงวิธีการให้เหมาะสมกับเคสและกายภาพของผู้ป่วย มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่ค่อยถูกพูดถึงมากสักเท่าไหร่ แต่อันที่จริงแล้ววิสัญญีแพทย์เป็นผู้ที่ปิดทองหลังพระ ทำงานหนักไม่แพ้หมอคนอื่นๆ เลยทีเดียว

5. สูตินรีแพทย์

สูตินารีแพทย์ (Gynecologist) มีบทบาทในการทำคลอดและตรวจรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ บางคนจึงมักเรียกพวกเขาว่า “หมอตรวจภายใน” โดยมีหน้าที่ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรและการผ่าตัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงอีกด้วย

6. แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

หลายๆ คนอาจจะไม่เชื่อเลยว่า แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินปัสสาวะ จะสาขาที่ขาดแคลนและต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังได้รับค่าตอบแทนที่สูงอีกด้วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้จะเรียกว่า “ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist)” จะหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคเฉพาะทางระบบเดินปัสสาวะทั้งหมด ระบบอวัยวะที่สำคัญภายในคือ “ตับและไต” โดยที่ใครจะเลือกเรียนต่อแพทย์ในสาขานี้ ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั้งตับและไตให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดของเพศชายด้วย ได้แก่ องคชาติ อัณฑะ ถุงอัณฑะ ท่ออสุจิ ต่อมลูกหมาก และถุงน้ำกาม เพราะเมื่อผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อระบบไตอีกด้วย

7. ศัลยแพทย์ช่องปาก

ศัลยแพทย์ช่องปาก (Oral and Maxillofacial Surgeons) เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพทางด้านทันตแพทย์ ที่ลงลึกเฉพาะทางเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติของขากรรไกร ใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ ดูแลระบบบดเคี้ยวอาหาร และการทำหน้าที่ของอวัยวะภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร ผ่าตัดฝังรากฟันเทียมต่างๆ ปลูกฟัน ผ่าตัดเนื้องอกในช่องปาก หรือแม้แต่การเตรียมความพร้อมก่อนใส่ฟันปลอม ก็ล้วนเป็นงานของศัลยแพทย์ช่องปากทั้งสิ้น

เรียนแพทย์

8. รังสีแพทย์ : รังสีวิทยา

หลายๆ คน ต้องเคยได้ยินคำว่า “เอ็กซเรย์” กันอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเวลาป่วยไม่สบายแล้วไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสิ่งที่อยู่ในร่างกาย ที่จะส่งผลทำให้เราป่วยได้ แต่น้อยคนมากที่จะรู้ว่าแพทย์เฉพาะทางที่เรียนมาในสาขานี้จริงๆ แล้วจะต้องเรียกว่า “รังสีแพทย์” จัดอยู่ในสาขารังสีวิทยา (radiology) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพสิ่งต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ ทางการแพทย์ข้ามาช่วย ได้แก่ รังสีเอกซ์ (x-ray), รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง, คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging) เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบันมีโรคที่ต้องใช้รังสีในการรักษาเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งที่ยังคงต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นส่วนใหญ่ แพทย์เฉพาะทางในสาขานี้จึงเป็นที่ต้องการ และสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

9. แพทย์เฉพาะทางด้าน ตา หู คอ จมูก

อย่างที่เรารู้กันว่า ตา หู คอ จมูก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายและการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก โดยที่อวัยวะเหล่านี้มีความซับซ้อน และต้องการความละเอียดละอ่อนในการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเมื่ออวัยวะเหล่านี้เกิดผิดปกติขึ้นมาก ก็อาจจะสร้างความทุกข์ ทรมาน และความเจ็บปวดให้ผู้ที่ป่วยได้อย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ที่ให้คำตอบและคำปรึกษาในการรักษาได้ดีที่สุดก็คือ แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาข“โสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngology)” หน้าที่สำหรับแพทย์ในสาขานี้ ได้แก่ ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู จมูก กล่องเสียงหรือช่องคอ ศีรษะ และคอ โดยโรคที่เจอได้บ่อยๆ ก็คือ โรคไซนัสอักเสบ โรคนอนกรน โรคหูน้ำหนวก เจ็บในลำคอ ต่อมไทรอยด์ หรือโรคภูมิแพ้หู คอ จมูก เป็นต้น

10. ศัลยกรรมตกแต่ง

ซึ่งแน่นอนว่า ในบรรดาสาขาวิชาที่เลือกเรียนแพทย์นั้น เป็นอะไรที่ค่อยข้างยาก แต่ก็ได้รับค่าตอบแทนสูงมากเลยทีเดียว และแน่นอนว่าในยุคปัจจุบัน ผู้คนต่างก็เริ่มยอมรับกับการทำศัลยกรรมพลาสติกกันมากยิ่งขึ้น โดยที่ “Plastic Surgery” คือ แขนงวิชาเฉพาะสาขาของ “ศัลยศาสตร์ (Specialized Branch of Surgery)” ศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกาย ซึ่งในความจริงแล้วศัลยแพทย์ตกแต่ง มีขอบข่ายในการทำงานที่กว้างมาก ไม่ใช่เฉพาะเสริมจมูก เสริมอึ๋ม หรือทำตาสองชั้น เพียงเท่านั้น

ข้อมูลจาก : www.hotcourses.in.th

บทความที่เกี่ยวข้อง