ทำไมต้อง เปิด-ปิด เทอมตามอาเซียน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนวันเปิดเทอม? เคยสงสัยไหมว่าทำไมบ้านเราต้องเปลี่ยนแปลงวันเปิดเทอมด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ได้มีความเห็นร่วมกัน ในหลักการปรับเปลี่ยนวันเปิดเทอมของสถาบันอุดมศึกษา ให้อยู่ในช่วงกลางเดือน ส.ค.-ก.ย. ในปี 2557 เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกโดยเห็นว่าการปรับเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับระบบอุดมศึกษาของไทย – เปิด-ปิด เทอมตามอาเซียน –

เปิด-ปิด เทอมตามอาเซียน ดีอย่างไร

อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบหมายประธาน ทปอ. ไปดำเนินการศึกษาเรื่อง การปรับระบบการเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษา ทั้งในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบรับตรงและระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาหรือแอดมิชชั่นกลาง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 3 ได้ใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนให้เต็มเวลามากขึ้น ต่างจากปัจจุบันที่นักเรียนจะต้องเร่งเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั้งที่ยังศึกษาไม่จบ

เตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย

และในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยจะได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา ก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ทั้งเรื่องการปรับพื้นฐานการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพทางภาษาของนักศึกษา

เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าเราควรจะเปิดเทอมให้ตรงกัน ในประชาคมอาเซียนจึงได้เสนอการ เปิด-ปิดเทอม ของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งกำหนดเปิด-ปิดในเดือน ก.ย.-ธ.ค. จากเดิม มิ.ย.-ต.ค. ส่วนเทอมสองเปิด-ปิดเดือน ม.ค.-พ.ค. จากเดิม พ.ย.-มี.ค. และในส่วนของสภานศึกษาในสังกัดของสพฐ. จะปรับเปลี่ยนการเปิด จากเดิมภาคเรียนที่ 1 วันเปิดภาคเรียน 16 พ.ค. และปิดภาคเรียน 11 ต.ค. เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 10 มิ.ย. และปิดภาคเรียน 4 พ.ย. ภาคเรียนที่ 2 วันเปิดภาคเรียน 1 พ.ย. และปิดภาคเรียน 1 เม.ย. ของปีถัดไป เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 26 พ.ย. และปิดภาคเรียน 26 เม.ย. ปีถัดไป ซึ่งจะเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกันทั้งหมดในปีการศึกษา 2557

สรุป วันเวลาเปิด-ปิด เทอมแบบใหม่

– ภาคเรียนที่ 1

วันเปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม (กำหนดเดิมคือ เปิด-ปิดเทอม ในเดือน มิ.ย.-ต.ค.)
ปิดภาคเรียน 11 ตุลาคม เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 10 มิถุนายน และปิดภาคเรียน 4 พฤศจิกายน

– ภาคเรียนที่ 2

วันเปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน (กำหนดเดิมคือ เปิด-ปิดเทอม ในเดือน ม.ค.-พ.ค.)
ปิดภาคเรียน 1 เมษายนของปีถัดไป เปลี่ยนเป็นเปิดภาคเรียน 26 พฤศจิกายน และปิดภาคเรียน 26 เมษายน ของปีถัดไป

ผลดีของการเปลี่ยนวันเปิด-ปิดเทอม

1.นักศึกษาในกลุ่มอาเซียนเปิด-ปิดเทอมตรงกันทำให้ วิถีชีวิตการศึกษาเหมือนกัน คือ พอปิดเทอมก็เป็นช่วงที่หยุดเหมือนกัน
2. นักศึกษาที่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนก็จะรู้สึกไม่แตกต่างจากที่เรียนที่ประเทศของตน
3.ไม่เสียเปรียบกัน ในช่วงการสำเร็จการศึกษา ในการหางานทำ เพราะเป็นช่วงเดียวกัน
4.ในเมื่ออยู่ในกลุ่มอาเซียนเดียวกันการปฏิบัติแนวเดียวกัน เพื่อความเสมอภาค
5.เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวไปสู่การพัฒนา
6.ไม่เสียเวลาการศึกษาต่อในกลุ่มอาเซียน

ผลเสียของการเปลี่ยนวันเปิด-ปิดเทอม

1.นักศึกษาต้องมีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากวิถีเดิมที่เป็นอยู่
2.นักศึกษาที่อยู่ช่วงรอยต่อการเลื่อนการเปิด-ปิดเทอม แบบใหม่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
3.อาจมีการแข่งขันกันทางด้านการหางานทำสูงขึ้น

แต่กระนั้นการศึกษาของไทย นอกจากการเลื่อนการเปิด-ปิด ภาคเรียนเข้าสู่อาเซียนแล้ว ควรจะมีมาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมหรือที่ดีและทันสมัย เพื่อแข่งขันทางด้านการศึกษาและบัณฑิตจบออกมาอย่างมีคุณภาพออกมาทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรื่อง

รวมรวมข้อมูลโดยศูนย์ข่าวการศึกษาไทย อ้างอิงข้อมูลจาก www.dailynews.co.th/education/11183 , www.thaipost.net/news/080811/42994 , www.suthichaiyoon.com/detail/22008 , fahnaja.blogspot.com/2012/02/blog-post.html , www.enn.co.th/8412 (ข่าวเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 56) , ภาพจาก www.educationnews.org

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง