สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยอุตสาหกรรมดนตรีของไทย คือกำลังสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ หลังสร้างเม็ดเงินสะพัดราว 35,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 10% รุกตั้งเป็นสำนักวิศวกรรมสังคีต (Institute of Music Science and Engineering : IMSE) เป็นศูนย์กลางประยุกต์ความรู้ศาสตร์วิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร/โทรคมนาคม และไอที เข้ากับศิลป์ คือ ดนตรี องค์ประกอบทางแสง สี เสียง รวมถึงงานด้านกราฟิกและแอนนิเมชั่น เทียบชั้นหลักสูตรมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
สจล. เผย 7 กลุ่มอาชีพ วิศวกรเสียง มาแรง
สจล. รุกตั้ง ‘สำนักวิศวกรรมสังคีต’ เทียบชั้นหลักสูตรมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
ที่ผ่านมาสาขาวิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม สจล. พัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอน โดยการนำความรู้ศาสตร์วิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร/โทรคมนาคม และไอที ประยุกต์รวมกับความเป็นศิลป์ คือ ดนตรี องค์ประกอบทางแสง สี เสียง รวมถึงงานด้านกราฟิกและแอนนิเมชั่นเข้าด้วยกัน
รูปแบบการสอนในลักษณะนี้ถือว่าทัดเทียมกับหลักสูตร ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในด้านนี้ เช่น มหาวิทยาลัยไมอามี และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงทำให้นักศึกษามีความรู้และทักษะที่หลากหลาย เมื่อจบออกไปสามารถประกอบอาชีพได้ทุกสายงาน ทั้งในอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิง รวมไปถึงสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันทั่วประเทศยังมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญน้อยมาก ตัวอย่างเช่น Sound Engineer ขณะนี้มีเพียงหลัก 10 เท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มอาชีพที่นักศึกษาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม สามารถประกอบอาชีพได้หลังจบการศึกษา แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มอาชีพหลัก ดังนี้
1. กลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี โดยเป็นวิศวกรที่ทำงานทางด้าน Sound Engineer, Light and Sound Control ทั้งในภาคสนามและใน studio รวมทั้งการออกแบบงานด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Live Show ทั้งในรูปแบบของคอนเสิร์ตและละครเวที ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยถือเป็นช่องทางหลักในการสร้างรายได้แก่ศิลปินและภาคธุรกิจ
2. กลุ่มอุตสาหกรรมภาพยนตร์/โฆษณา/เกมส์และแอนิเมชั่น ทำงานด้านการสังเคราะห์เสียงสำหรับผลิตเกมส์และแอนิเมชั่น ผลิตโฆษณาและภาพยนตร์ รวมไปถึงเป็นวิศวกรระบบเครือข่ายสำหรับการ Download Digital Contents ต่างๆ และเกมส์ On-line รวมทั้งงานทางด้าน Mobile Applications
3. สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ เป็นวิศวกรสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ออกแบบระบบอะคสูตกิในห้องส่ง ควบคุมเสียงและภาพในการบันทึกเทปหรือออกอากาศสด และระบบการถ่ายทอดสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ มากมาย
4. กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรี เป็นวิศวกรที่นำเอาหลักการทางด้านวิศวกรรมมาสร้าง Audio/Sound Effectสำหรับเครื่องดนตรีต่างๆ การสร้าง Mixer, Equalizer, Amplifier รวมทั้งงานด้านการวิเคราะห์เสียงของเครื่องดนตรีไทย สำหรับการสร้างมาตรฐานของเสียงและการผลิตเครื่องดนตรีไทย
5. กลุ่มอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมความปลอดภัยทางเสียง และโสตทัศนะอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นวิศวกรด้านความปลอดภัยทางเสียง เช่น ออกแบบและสร้างเครื่องช่วยฟัง และอุปกรณ์ช่วยผู้บกพร่องทางการได้ยินและการมอง เป็นต้น
6. กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นวิศวกรด้านระบบเสียงในรถยนต์ การออกแบบระบบอะคูสติกในห้องโดยสาร เครื่องเสียงติดรถยนต์ ระบบสื่อสารในรถยนต์และระหว่างรถยนต์กับรถยนต์รองรับระบบการขนส่งอัจฉริยะ
7. กลุ่มอุตสาหกรรม Consumer Electronics เป็นวิศวกรที่ทำางานด้านระบบเครื่องเสียงและระบบอะคูสติก ทั้งภายในสำานักงาน ห้องประชุม หอประชุมขนาดใหญ่ โรงละคร โรงภาพยนตร์ สถานบันเทิง รวมทั้งระบบ Home Theater ในบ้าน
นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th
บทความแนะนำ