น้องๆ คนไหน ที่กำลังจะเรียนจบในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากจะเข้าศึกษาต่อในคณะพยาบาลศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร แล้วต้องสอบอะไรบ้าง วันนี้ แคมปัส-สตาร์ ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้คณะพยาบาลศาตร์ ของการสมัครสอบเข้าทั้งในแบบรับตรง และรอบ Admissions ในปีการศึกษา 2561 มาบอกกันด้วย จะมีเรื่องอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย…
เรียนพยาบาล ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- ต้องศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสายวิทย์-คณิต เท่านั้น
- ต้องมีหน่วยกิตของวิชาที่เรียนในระดับ ม.ปลาย (สายวิทย์-คณิต) ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
น้ำหนักและส่วนสูง (เพศหญิง)
ต้องบอกก่อนเลยว่าในแต่สถาบันการศึกษานั้น มีการกำหนดคุณสมบัติในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป บางสถาบันอาจจะไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบการ แต่บางสถาบันก็จะกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า ผู้สมัครต้องมีความสูงเท่าไหร่ขึ้นไป น้ำหนักต้องไม่เกินเท่าไหร่ เช่น
- ม.นเรศวร (รอบ Admissions) ผู้สมัครต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 45 กิโลกรัม และส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
- ม.บูรพา (รอบ Admissions) ผู้สมัครต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม และส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
- โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล (รอบ Admissions) ผู้สมัครต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
- ม.เทคโนโลยีสุรนารี (รอบรับตรง) ผู้สมัครต้องมีส่วนสูงไม่ตํ่ากว่า 150 เซนติเมตร
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพอากาศ (รอบรับตรง) ผู้สมัครต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม และส่วนสูงไม่ตํ่ากว่า 155 เซนติเมตร
- วิทยาลัยพยาบาลทหารเรือ (รอบรับตรง) ผู้สมัครต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 42 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม และส่วนสูงไม่ตํ่ากว่า 155 เซนติเมตร
- วิทยาลัยพยาบาลทหารบก (รอบรับตรง) ผู้สมัครต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 45 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 65 กิโลกรัม และส่วนสูงไม่ตํ่ากว่า 155 เซนติเมตร
- วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (รอบรับตรง) ผู้สมัครต้องมี 40 กิโลกรัม และสูงไม่ตํ่ากว่า 155 เซนติเมตร
*** หมายเหตุ นอกจากนี้หลายๆ สถาบันการศึกษายังได้กำหนดคุณสมบัติเอาไว้อีกด้วยว่า คนที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เหล่านี้จะไม่สามารถสอบเข้าเรียนพยาบาลได้ เช่น ผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตเวชขั้นรุนแรง มีอาการตาบอดสี สายตาไม่ปกติ (เมื่อทำการรักษาด้วยการใส่แว่นตาแล้ว แต่ยังมีสายตาที่ต่ำกว่า 6/24 หรือ 20/40 ทั้งสองข้าง) มีอาการหูหนวกหรือหูตึง (Threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40 dB) เป็นต้น
86 รายชื่อสถาบันการศึกษา ด้านพยาบาลศาสตร์ ในประเทศไทย
โดยจะทำการแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ สถาบันการศึกษาที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว กับ สถาบันการศึกษาที่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สถาบันการศึกษา ที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว
- สังกัดสถาบนัพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 29 สถาบัน
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 27 สถาบัน
- สังกัดสถาบนัเอกชน จำนวน 22 สถาบัน
- สังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 3 สถาบัน
- สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 1 สถาบัน
- สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 สถาบัน
ดูรายชื่อสถาบันการศึกษาที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว : คลิกที่นี่
2. สถาบันการศึกษา ที่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา
- สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 1 สถาบัน
- สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1 สถาบัน
- สถาบนัการศึกษาเอกชน จำนวน 1 สถาบัน
ดูรายชื่อสถาบันการศึกษาที่ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษา : คลิกที่นี่
*** ส่วนระบบการรับตรง (ระบบ TCAS) ของคณะพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 ในด้านของระเบียบการ/คุณสมบัติของผู้สมัคร ของแต่ละสถาบันการศึกษายังประกาศออกมาไม่ครบทุกสถาบันกันค่ะ น้องๆ สามารถเข้ามาดูระเบียบการทั้งหมดได้ที่ : tcas61.cupt.net (ถ้ามีการประกาศออกมาครบแล้วหรือมีอะไรเพิ่มเติม แคมปัส-สตาร์ จะมาอัพเดทให้น้องๆ ได้รู้กันต่อไปค่ะ)
วิชาที่ต้องสอบวัดความรู้ GAT/PAT มีดังนี้
- การวัดความถนัดทั่วไป (GAT) น้องๆ ต้องเจอทั้งพาร์ทที่เป็นเชื่อมโยง (ภาษาไทย) จะวัดเรื่องความสามารถในการอ่านและการคิดวิเคราะห์ และพาร์ทภาษาอังกฤษ ก็จะวัดความสามารถในภาษาอังกฤษของน้องๆ นั่นเอง
- วิชาสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) น้องๆ ที่ต้องสอบเข้าเรียนต่อในด้านพยาบาลศาสตร์ ต้องเลือกสอบ “PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์”
*** นอกจากนี้ น้องๆ ยังต้องทำคะแนนการทดสอบ O-NET ให้ออกมาสูงอีกด้วย โดยวิชาสำคัญที่ต้องทำคะแนนให้ได้ดีๆ เลย ก็คือ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์
รับชมคลิปตามติดชีวิตพยาบาล มศว
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณภาพจาก Facebook : พยาบาลทหาร ทุกเหล่า