จุลชีววิทยา สาขาน่าเรียน เรียนจบมาแล้ว เป็นอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

อีกหนึ่งสาขาวิชาน่าเรียนที่ แคมปัส-สตาร์ อยากจะแนะนำน้องๆ ก็คือ สาขาวิชา จุลชีววิทยา (Microbiology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขนาดเล็ก หรือจุลินทรีย์ ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น เห็ด, รา ฯลฯ และที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส, โปรตัวซัว และสาหร่ายบางชนิด ฯลฯ

จุลชีววิทยา

จุลชีววิทยา-สาขาวิชาที่จะทำให้เราเข้าใจสิ่งมีชีวิตได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการศึกษาทางด้านจุลชีววิทยานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียวในปัจจุบัน เพราะจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ทำการศึกษาเราสามารถพบเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวของเราทุกคน และเจ้าจุลินทรีย์พวกนี้ยังได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ ของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งในด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ เช่น ด้านการผลิตอาหารและการเน่าเสียของอาหาร, ด้านสาธารณสุข, ด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม และยังรวมถึงเรื่องการผลิตสินค้าต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรม อีกด้วย

แนะนำสาขาน่าเรียน จุลชีววิทยา

ซึ่งการศึกษาด้านจุลชีววิทยาจะช่วยทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ที่ปรธโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ยีสต์ที่ใช้ในการผลิตแอลกอฮอล์สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม การผลิตยาปฏิชีวนะจากแบคทีเรียชั้นสูงหรือเชื้อราบางชนิดที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ เช่น Clostridium botulinum ที่จะทำให้เกิดพิษในนมหรืออาหารประเภทหมักชนิดต่างๆ โดยที่มนุษย์เราได้มีการนำเชื้อแบคทีเรียนี้มาประยุกต์ใช้ในทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการบำบัดสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ฯลฯ

การศึกษาด้านจุลชีววิทยาถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

  1. การศึกษาแบคทีเรีย (Bacteriology)
  2. การศึกษาเห็ด รา และยีสต์ (Mycology)
  3. การศึกษาไวรัส (Virology)
  4. การศึกษาระบบภูมิคุ้มกัน (Immunology)

การแบ่งเนื้อหาการเรียนการสอน ออกเป็นสาขาย่อยๆ ได้แก่

  1. สรีรวิทยาของจุลินทรีย์ จะศึกษาหน้าที่ทางชีวเคมี การเจริญเติบโต เมตาบอลิซึม และโครงสร้างของเซลล์ของจุลินทรีย์
  2. พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ของเซลล์ในจุลินทรีย์ และการสร้างหรือควบคุมยีน (สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับอณูชีววิทยา)
  3. จุลชีววิทยาทางการแพทย์ จะศึกษาบทบาทของจุลินทรีย์ในโรคของมนุษย์ กระบวนการก่อโรคของจุลินทรีย์ และระบาดวิทยา (สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน)
  4. จุลชีววิทยาของสิ่งแวดล้อม จะศึกษาหน้าที่และความหลากหลายของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมทั้งนิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในวัฏจักรสารอาหาร
  5. จุลชีววิทยาของอุตสาหกรรม จะศึกษาการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น การหมัก การบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น (สาขานี้มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ)
  6. จุลชีววิทยาของอากาศ จะศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในอากาศ
  7. จุลชีววิทยาของอาหาร จะศึกษาการเน่าเสียของอาหารที่มีสาเหตุมาจากจุลินทรีย์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. ภาควิชาชีววิทยา (สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม, สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  2. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  3. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  5. สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  6. สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  7. สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวทิยาลัยทักษิณ 
  8. สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  9. สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  10. สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  11. สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  12. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  13. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  14. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  15. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เรียนจบแล้วทำงานด้านไหนได้บ้าง?

  1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยาทางการเกษตร, อาหาร, อุตสาหกรรม, การแพทย์, สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีชีวภาพ
  2. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์
  3. เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  4. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ
  5. นักวิจัย หรือนักวิชาการในสถานประกอบการต่างๆ
  6. ตัวแทนจําหน่ายสารเคมี, อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์
  7. ผู้ประกอบการอิสระทางด้านจุลชีววิทยา
  8. และอื่นๆ

จำได้ภายใน 3 นาที สรุปกรด-เบส คำนวนการผสม แบบโมลเท่า

บทความที่น่าสนใจ

ข้อมูลและภาพจาก : https://sciencing.comwww.whatengineers.comวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Written by : Toey

ข่าวที่เกี่ยวข้อง