หลายคนอาจจะอยากเรียน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า วิทย์กีฬา แต่ไม่รู้จบไปจะเป็นอะไรได้มากกว่าครูพละ จริง ๆ แล้วมีอาชีพที่หลากหลายและน่าสนใจกว่านั้น จะมีอะไรบ้างลองไปดูกันเลย
วิทยาศาสตร์การกีฬา เรียนจบไป ทำอะไรได้บ้าง ?
วิทยาศาสตร์การกีฬา เรียนอะไรบ้าง?
เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ชีวกลศาสตร์ โภชนาการ ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของมนุษย์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
โค้ชฝึกสอนกีฬา
สำหรับใครที่มีความสามารถด้านกีฬาอยู่แ้ลวก็สามารถไปเป็นโค้ชฝึกสอนได้ เพราะได้เรียนทั้งศาสตร์ทางด้านกีฬาประเภทต่าง ๆ รวมถึงกายวิภาคศาสตร์ และจิตวิทยา ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบการฝึกซ้อมกีฬา จัดโปรแกรมการฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสม
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
ทำงานตามทีมกีฬาต่าง ๆ ดูแลนักกีฬาทั้งด้านโภชนาการ เทคนิคกีฬา จิตวิทยา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายนักกีฬาอย่างเป็นขั้นตอน
นักโภชนาการกีฬา
คอยให้ความรู้ จัดการในเรื่องโภชนาการให้กับนักกีฬา ดูแลเรื่องอาหารของนักกีฬาให้เหมาะสมในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขัน
นักเวชศาสตร์การกีฬา
ฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กับนักกีฬา รักษาอาการบาดเจ็บ เพื่อช่วยเสริมสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์พร้อมที่สุด ทำงานตามทีมกีฬา หรือโรงพยาบาล
เทรนเนอร์ฟิตเนส
ด้วยความสามารถทางด้านกีฬาและการได้รับความรู้ที่ถูกหลัก ผู้ที่จบคณะนี้สามารถไปทำงานเทรนเนอร์งานฟิตเนสตามฟิตเนส สปอร์ตคลับ สถานศึกษา องค์กรต่าง ๆ หรือเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวได้
นักจิตวิทยาการกีฬา
ช่วยฟื้นฟู เยียวยา ปลุกใจนักกีฬาทั้งก่อนแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน ไปจนถึงหลังแข่งขัน โดยจะทำงานอยู่ตามทีมกีฬาต่าง ๆ
นักข่าวกีฬา
หากจบวิชาเฉพาะทางด้านการสื่อสารมวลชนทางกีฬา ก็สามารถเป็นนักข่าวสายกีฬาได้ โดยนำความรู้ด้านกีฬามาใช้ในการสื่อสารมวลชน
อาจารย์มหาวิทยาลัย
ผู้ที่เรียนจบคณะนี้สามารถเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้
นักกีฬา
มีนักกีฬาหลายคนเลือกที่จะเรียนคณะนี้ เพราะจะได้เรียนรู้หลักและเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของนักกีฬาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก: jobsdb
Written by: Typrn
บทความแนะนำ
- เรียนจบแล้วยังไม่อยากทำงาน | Gap Year ทั้งที ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า
- How to ฝึกงานยังไง ให้ประสบความสำเร็จ – ฝึกงานให้ได้งาน
- อย่าสติแตก! 4 กฎเหล็ก เรียนไปทำงานไป ทำยังไงไม่ให้ชีวิตพัง
- สัมภาษณ์งานระวังให้ดี! 7 ข้อนี้ที่ HR จับตามมองคุณอยู่ แต่ไม่เคยบอก
- แนะนำ 10 งานพาร์ทไทม์ ช่วงปิดเทอม
- 3 อาชีพเสริม ที่นักศึกษา สามารถทำได้ในระหว่างเรียน