คณะนิติศาสตร์ – อยากเรียนด้านกฎหมาย เลือกเรียนที่ไหน จบมาแล้วทำงานอะไร ?

อยากเป็น ทนายความ ต้องเรียนด้านไหน? เชื่อได้เลยว่าอาชีพทนายความต้องเป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของน้อง ๆ หลายคน แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่าใช่ว่าทุกคนจะสามารถเรียนสายกฎหมายได้ ถึงแม้ว่าน้อง ๆ จะเรียนจบมาในสายวิทย์-คณิต สายศิลป์ต่าง ๆ หรือสายอาชีวะก็ตาม แต่การเรียนด้านนี้น้อง ๆ จะต้องมีความชอบ มุ่งมั่น รอบคอบ และใจรักด้วย ไม่งั้นรับรองเลยว่าเรียนไม่รู้เรื่องแน่นอน –  เรียนนิติศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร

เรียนนิติศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร ?

สำหรับน้อง ๆ ที่มีใจรักอยากจะเป็นนักกฎหมายจริง ๆ เราก็ต้องเข้าศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ทั้งของรัฐและเอกชน แต่ว่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และจบออกมาทำงานอะไรได้บ้างนั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบมาให้น้อง ๆ ได้ศึกษากันก่อนตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกันด้วยนะ

นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) เป็นคณะที่เรียนกับกฎหมาย หรือวิชาที่มีกฏหมายเป็นวัถตุประสงค์การศึกษา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ความประพฤติของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีระเบียบ

ดังนั้น การเรียนในคณะนิติศาสตร์ก็คือ การเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้กฎหมายอย่างถูกต้องและมีจริยธรรม ซึ่งกฎหมายมีทั้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. กฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบระหว่างรัฐกับราษฎร เช่น รัฐธรรมนูญ, กฎหมายปกครอง และกฎหมายอาญา ฯลฯ

2. กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐ เช่น กฎหมายแพ่ง, กฎหมายพาณิชย์ และกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ฯลฯ

3. กฎหมายต่างประเทศ (International Law) เป็นกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับด้วยรัฐและมีความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งมีความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศด้วย เช่น กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ และกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน มีที่ไหนบ้าง?

มหาวิทยาลัยของรัฐ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยเอกชน

วิทยาลัยที่เปิดสอน

สถาบันการศึกษา

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

1. ทนายความ

สำหรับอาชีพทนายความ เป็นอาชีพสายตรงของผู้ที่เรียนจบมาจากคณะนิติศาสตร์เลย โดยที่ทนายความจะมีหน้าที่ในการดำเนินการแทนลูกความในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เป็นผู้ที่จัดทำเอกสารด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาต่าง ๆ ในศาล เพื่อช่วยให้บุคคลและองค์กรต่าง ๆ ได้รับความยุติธรรม

2. ที่ปรึกษาทางกฎหมาย

สำหรับคนที่เรียนจบมาในคณะนิติศาสตร์สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับองค์กรของรัฐ เอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้กับองค์กรนั้น ๆ เป็นทนายความให้กับองค์กรนั้น ๆ ร่างสัญญาระหว่างบริษัทคู่ค้า ฯลฯ

3. ผู้พิพากษา

เป็นอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีค่าตอบแทนค่อนข้างสูง ผู้พิพากษามีหน้าที่ในการพิจารณาคดีความทั้งปวงในราชอาณาจักร ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในศาลยุติธรรม ก่อนที่เราจะสามารถเป็นผู้พิพากษาได้นั้น เมื่อเรียนจบแล้วเราะจะต้องไปสอบเนติบัณฑิต หลังจากนั้นก็ต้องรอให้มีอายุครบ 25 ปี พร้อมทั้งกับคุณสมบัติอื่น ๆ ตรงตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด จึงจะสามารถเข้าสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา และค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อยตามลำดับขั้น

4. พนักงานอัยการ

พนักงานอัยการจะมีหน้าที่ในการประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความและกฏหมายบัญญัติ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล

5. นิติกร

เป็นก้าแรกของอาชีพของผู้ที่จบนิติศาสตร์ใหม่ ๆ เพราะเป็นอาชีพที่อาจจะไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย และยังถือว่าเป็นการสะสมประสบการณ์ก่อนก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไป นิติกรคือผู้ที่ดูแลงานด้านที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น งานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายขององค์กรและระหว่างหน่วยงาน ความเป็นธรรมและระเบียบของพนักงาน เป็นต้น

6. งานด้านธนาคาร 

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าการเรียนจบนิติศาสตร์มาก็สามารถเข้าทำงานที่ธนาคารได้เหมือนกัน โดยสามารถทำงานเร่งรัดหนี้ งานสินเชื่อซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ พิจารณาการให้สินเชื่อ แจกแจงข้อกฎหมายตามที่ระบุหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด และส่งต่อให้ฝ่ายกฎหมายเป็นผู้จัดการต่อ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ เป็นอย่างดี

ข้อมูลจาก : https://th.jobsdb.com/วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง