คณะเภสัชศาสตร์ หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Faculty of Pharmacy เป็นคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับ ยา ดังนั้นคำว่า เภสัชศาสตร์ จึงมาจากการรวมคำว่า เภสัช ที่แปลว่า ยา และคำว่า ศาสตร์ ที่แปลว่า ความรู้ และเมื่อทั้งสองคำถูกนำมารวมกันจึงมีความหมายว่า ความรู้ในเรื่องยาหรือการศึกษาเกี่ยวกับยา
เภสัชศาสตร์ 6 ปีต้องเรียนอะไรบ้าง ?
โดยที่น้อง ๆ จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาผลิตยา ขั้นตอนการปรุงยา วิธีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ตลอดจนกระบวนการกระจายยา ซึ่งจะต้องลงลึกไปถึงเรื่องของแหล่งที่มาของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ การควบคุมคุณภาพของยา การประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์
รวมไปถึงเรื่องการวิจัยพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ ผลข้างเคียงของการใช้ยาแต่ละชนิด การประเมินการใช้ยา การบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา และยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
- เรียนเภสัชศาสตร์ 6 ปี ต้องเจออะไรบ้าง? เลือกเรียนที่ไหน? จบแล้วทำงานที่ไหน?
- อัปเดต ค่าเทอม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ ปีการศึกษา 2562
ส่องดาวเดือนหน้าใส วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต
เภสัชศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต) และ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก) มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
1. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (สายผลิต)
จะเน้นการศึกษาในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา
2. สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม (สายคลินิก)
จะเน้นการศึกษาด้านการบริบาลเภสัชกรรม คือ จะต้องรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วย การแนะนำให้ความปรึกษากับผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยาหรือใช้ยาอย่างถูกต้อง และยังรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับผู้ป่วย อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วงานในสาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรมจะทำงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา สถานบริการสุขภาพ ฯลฯ
เจาะประเด็น แคลคูลัส Part 3
เภสัชศาสตร์ 6 ปีต้องเรียนอะไรบ้าง? สิ่งที่น้อง ๆ ต้องรู้
สำหรับในชั้นปีที่ 1-2 น้อง ๆ จะเรียนรู้ด้านเตรียมเภสัชศาสตร์ จะศึกษาในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเบื้องต้น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
สำหรับในชั้นปีที่ 3-4 น้อง ๆ จะได้เรียนวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยจะศึกษาในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยา
นอกจากนี้ยังจะได้ศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และการฝึกงาน ซึ่งประกอบไปด้วย เภสัชวิเคราะห์ เภสัชศาสตร์สัมพีนธ์ อาหารและเคมี โภชนาการศาสตร์ บทนำเภสัชภัณฑ์ เภสัชพฤกษศาสตร์ ชีวเภสัชกรรมและเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชกรรมและการบริหารเภสัชกิจ เภสัชวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก นิติเภสัชและจริยธรรม พิษวิทยา เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชเคมี และสุดท้ายก็จะเป็นการฝึกปฎิบัติงานจริง
สำหรับในชั้นปีที่ 5-6 น้อง ๆ จะได้ศึกษาในหมวดวิชาสาขาที่เลือกลึกเฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้เกิดเป็นความชำนาญและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฎิบัติงาน
คะแนนที่ใช้ในการสมัครสอบ
รอบแอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 40%
** ส่วนในรอบอื่น ๆ ของการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะเภสัชศาสตร์นั้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของคณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาได้เลยค่ะ
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Link : คลิกที่นี่
- วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม Link : คลิกที่นี่
- สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Link : คลิกที่นี่
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย Link : คลิกที่นี่
จบแล้วทำงานที่ไหนได้บ้าง?
- เภสัชกรการอุตสาหกรรม เช่น เภสัชกรฝ่ายผลิต เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ เภสัชกรฝ่ายขึ้นทะเบียน เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฯลฯ จะปฏิบัติงานในโรงงานการผลิตหรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐและเอกชน
- เภสัชกรโรงพยาบาล เช่น เภสัชกรผู้รับผิดชอบในการจ่ายยา เภสัชกรผู้ให้ปรึกษาด้านยา เภสัชกรผู้ผลิตยาในโรงพยาบาล ฯลฯ
- เภสัชกรชุมชน เช่น เภสัชกรร้านยา เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ หรือเป็นเจ้าของกิจการร้านยา เป็นต้น
- เภสัชกรการตลาด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยา
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เภสัชกรการศึกษา ฯลฯ
- ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย
- ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.dek-d.com, www.act.ac.th
บทความที่น่าสนใจ
- คณะต่างๆ เรียนคณะนี้ สาขานี้ จบแล้วทำงานอะไร มหาวิทยาลัยมีคณะอะไรบ้าง ?
- พยาบาลศาสตร์ คณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ที่อยากจะเข้าศึกษาต่อ | ม.ที่เปิดสอน
- สาธารณสุขศาสตร์ คณะน่าเรียน สำหรับน้อง ๆ ที่ชอบงานวิจัย วิเคราะห์ ตรวจสอบ และป้องกัน
- ว่าที่คุณหมอจะต้องรู้ วิชาความถนัดแพทย์คืออะไร? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบ