น้องๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อ สาขาวิชาบัญชี กับ สาขาวิชาการเงิน กันมาบ้างใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งทั้งสองสาขานี้มักจะรวมอยู่ในคณะบริหารธรุกิจ หรือไม่ก็คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีใช่ไหมล่ะคะ แล้วทั้งสองสาขานี้ต่างกันอย่างไร เราลองมาดูรายละเอียดของแต่ละสาขาวิชากันดีกว่า
บัญชี กับ การเงิน ต่างกันอย่างไร
ทั้งสองภาควิชานี้ก็เกี่ยวข้องกับเงิน และตัวเลขทั้งคู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามรายระเอียดที่ภาควิชาเน้นสอนในแต่ละสาขาย่อมต้องแตกต่างกันอย่างแน่นอน แล้วการเงิน กับบัญชี เขาเรียนอะไรกัน ?
การเงินเรียนอะไร
ใจความสำคัญของการเรียน การเงิน คือ การเรียนรู้วิธีคิด และการตัดสินใจทางการเงิน เพื่อบริหารเงินที่มีอยู่ในมือให้ก่อเกิดมูลค่าขึ้นมา อย่างการนำเงินไปลงทุนในโครงการต่างๆ การจัดหาทุน การบริหารเงินให้อยู่ในสภาพคล่อง รวมทั้งการบริหารความเสียงทางการเงินด้วย
สรุป การเงิน คือ การเรียนรู้ที่จะหาเงิน และบริหารเงินที่มีในมือว่า ควรเอาไปใช้อย่างไรจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้เงินเรามีเงินเพิ่มขึ้น
บัญชีเรียนอะไร
แต่ใจความสำคัญของการเรียน บัญชี คือ การเรียนรู้การบันทึก และการวิเคราะห์รายการทางการค้า เพื่อนำข้อมูลส่วนนี้มาวิเคราะห์ แปรผล และใช้ในการวางแผนทางธุรกิจต่อไป นอกจากนี้การเรียนบัญชีก็ยังต้องรู้จักกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะผลลัพธ์ที่ได้มาจากตัวเลขในบัญชีก็จะสัมพันธ์กับกิจกกรมการตลาดต่างๆ ที่ทำขึ้นมาเพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้
สรุป บัญชี คือ การเรียนรู้ที่จะประมวลผลตัวเลขบัญชีที่บันทึกเอาไว้ แล้วเอาผลลัพธ์ที่ได้มาขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินไปข้างหน้า ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ
แล้วจะเลือกเรียนอะไรดี
สำหรับน้องๆ ที่ยังเลือกไม่ได้ก็ให้ลองถามตัวเองดูว่าชอบสายงานแบบไหน เพราะอาชีพหลังจากเรียนจบก็แตกต่างกัน ถ้าเป็นสายการเงินก็จะเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเงิน เช่น
- ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงิน
- ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
- ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (การเงิน)
- นักวิเคราะห์สินเชื่อ
- ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน
- เจ้าหน้าที่การเงิน
- นักวิเคราะห์การเงิน
- ผู้จัดการฝ่ายสัญญาเช่าซื้อขาย
- นักวิเคราะห์ความเสี่ยง
นอกจากนี้คุณสมบัติเบื้องต้นของการเรียนสองสาขานี้ก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย อย่างคนที่เรียนสาขาการเงินควรมีความสนใจในคณิตศาสตร์ และสถิติ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี เพื่อที่จะผสมผสานความรู้เหล่านี้มาเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ และการตัดสินใจทางการเงิน นอกจากนี้ยังควรที่จะมีความสนใจติดตามการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และของโลกอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนบัญชีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติของผู้เรียน การงานอาชีพในสายบัญชี ฯลฯ สามารถเข้าไปอ่านได้ ที่นี่
ถ้าอยากเรียนการเงินเรียนที่ไหนดี
สำหรับน้องๆ ที่เลือกได้แล้วว่าอยากเรียนการเงินแล้วจะเรียนที่ไหนดี อย่างคณะที่เปิดสาขาการเงินแล้วมีชื่อเสียงในประเทศไทยก็อย่างเช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น แต่นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายสถาบันที่เปิดสาขาการเงิน แต่อาจจะใช้ชื่อที่ต่างกัน เช่น การเงินและการธนาคาร เป็นต้น
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาควิชาการเงิน
1. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : Link คลิกที่นี่
2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
3. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
4. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : Link คลิกที่นี่
5. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล : Link คลิกที่นี่
6. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล : Link คลิกที่นี่
7. คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : Link คลิกที่นี่
8. คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : Link คลิกที่นี่
9. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น : Link คลิกที่นี่
10. คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร : Link คลิกที่นี่
11. คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ : Link คลิกที่นี่
12. คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : Link คลิกที่นี่
13. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Link คลิกที่นี่
14. คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
15. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต : Link คลิกที่นี่
16. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี : Link คลิกที่นี่
17. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : Link คลิกที่นี่
18. คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Link คลิกที่นี่
19. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ : Link คลิกที่นี่
20. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน : Link คลิกที่นี่
21. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : Link คลิกที่นี่
22. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี : Link คลิกที่นี่
23. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : Link คลิกที่นี่
ที่มา : FN TU , วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี