ยิ้มแล้วโลกสดใส! ชมพู-ชุติมณฑน์ สาวสวยดีกรี ดรัมเมเยอร์ มธ.

ดาวเด่นแคมปัส-สตาร์ พาไปอัพเดทสาวน่ารัก “ชมพู ชุติมณฑน์” อดีตดรัมเมเยอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รุ่นที่ 70 มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันค่ะ สาวสวยคนนี้เคยผ่านเวทีการประกวด Thai supermodel 2012 และครองตำแหน่ง “มิสซี่ ภูเก็ต 2013” (Mizsy phuket) อีกทั้งยังมีงานโฆษณา เดินแบบ ถ่ายแบบ อีกด้วย วันนี้เรามีภาพความน่ารัก และสไตล์การแต่งตัวของสาวคนนี้มาให้ชมกันค่ะ

อัพเดทความน่ารัก ชมพู-ชุติมณฑน์

อดีตดรัมเมเยอร์ ม.ธรรมศาสตร์

ประวัติ

ชื่อ-นามสกุล:: ชุติมณฑน์ ประสานวรรณ
ชื่อเล่น:: ชมพู
การศึกษา::
ระดับมัธยม โรงเรียนสตรีภูเก็ต
ระดับปริญญาตรี:: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานที่ผ่านมา

ประกวดThai supermodel 2012
ครองตำแหน่ง “มิสซี่ ภูเก็ต 2013” (Mizsy phuket)
ดรัมเมเยอร์ ม.ธรรมศาสตร์ งานบอลประเพณีครั้งที่ 70

ติดตามความน่ารักของเธอได้ที่:: IG : Chompoohctm | Snapchat : c.pooh | www.facebook.com/chompooh.chutimon

อัพเดทความน่ารัก ภาพปัจจุบันของ น้องชมพู

หุ่นดีมาก

อดีตดรัมเมเยอร์ ลูกแม่โดม

สวยหวานมาก

น้องชมพู ตอนเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต

ชมภาพ น้องชมพู แบบแกลอรี่ คลิกที่ภาพด้านล่าง

ขอบคุณภาพจาก:: IG: @chompoohctm

งานฟุตบอลประเพณี มธ. – จุฬา ครั้งที่ 73 จะจัดขึ้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 นี้ ใครสนใจมาร่วมงานสามารถเลือกได้ว่าจะมาเข้าร่วมในฐานะผู้ชมการแข่งขัน หรือจะมาร่วมขึ้นสแตนเชียร์ก็ได้ โดยถ้าอยากขึ้นสแตนเชียร์ฝั่งไหนก็แค่ซื้อเสื้อบอลของฝั่งนั้น แล้วต่อแถวขึ้นไปแปรอักษรได้เลย

how to ขึ้นสแตนเชียร์แบบไม่ต้องซ้อม

หลายคนที่ไม่เคยไปคงงง และเกิดความสงสัยว่า ใครจะขึ้นไปแปรอักษรก็ได้ แล้วไม่ต้องซ้อมก่อนเลยหรือ? แล้วถ้าไม่ซ้อมก่อน จะแปรตัวอักษรในงานวันจริงอย่างไร? ใครก็ขึ้นได้ใช่ไหม ถึงไม่ใช่คนที่เรียนอยู่จุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ก็ได้ใช่ไหม?

สำหรับใครที่อยากขึ้นไปแปรอักษร เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ของงานฟุตบอลประเพณีก็สามารถไปเข้าร่วมได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ของ มธ. หรือจุฬาฯ เท่านั้น จะเป็นใครก็ได้เลย และถึงไม่ซ้อมก่อน เราก็สามารถรวมคนหลายร้อยคนให้แปรอักษรออกมาได้แน่นอน แต่จะทำได้อย่างไรลองมาดูกัน

เทคนิคแปรอักษร

เพลท อุปกรณ์สำคัญในการแปรอักษร

เพื่อไขข้อข้องใจให้กับทุกคน วันนี้ทีมงาน campus star ของเราก็ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ น้องอ้วน ธนทัต มอบนรินทร์ หัวหน้าฝ่ายพัสดุ ชุมนุมเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เราจะแปรอักษรบนสแตนแบบไม่ซ้อมได้ยังไง?

ตอนนี้ในมือของน้องอ้วนมีเพลทเหล็กอยู่ 1 อัน ซึ่งเพลทเหล็กอันนี้ก็คือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการแปรอักษร ก่อนถึงงานวันจริง ฝ่ายพัสดุก็ต้องมาเช็คเพลทเหล็กอันนี้ให้ครบทุกอันก่อน เพื่อที่จะได้เอาไปใช้บนสแตนเชียร์ โดยเพลทเหล็กอันนี้มีชื่อว่า เพลท 1:20 เพราะบนเพจเหล็กทั้งสองด้านจะมีสมุดสีจำนวน 20 เล่มติดอยู่ โดยสมุดแต่ละเล่มจะมีกระดาษสีอยู่จำนวน 26 หน้า และมีเลขกำกับไว้ทุกหน้า

วิธีการเช็คเพลท

เราจะเช็คเพลทโดยการนับจำนวนหน้าของสมุดแต่ละเล่มว่าครบ 26 แผ่นไหม ถ้าเล่มไหนมีหน้าที่ขาดหายไป ก็จะเอาหนังยางรัดเอาไว้ จากนั้นก็ส่งให้ฝ่ายซ่อมต่อ เพื่อเอาหน้าที่ขาดหายไปมาเปลี่ยน และเมื่อเช็คสมุดครบทั้งสองฝั่งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เพลทนี้จะเอาไปใช้บทสแตนยังไง

เพลทที่เช็คแล้วจะเอาไปใช้บนสแตน พร้อมกับใบโค้ด โดยในใบโค้ดจะระบุเลขเอาไว้ ถ้า code บอกให้เปิดหน้า 8 คนที่อยู่บนสแตนก็เปิดสมุดบนเพลทเหล็กไปที่หน้า 8 จากนั้นก็ เปิดสมุดสีทุกเล่มบนเพลท ตามที่ในใบโค้ดระบุไว้ พอเปิดเสร็จแล้วก็ใช้หนังยางรัด เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว ตอนอยู่บนสแตนเชียร์จะต้องเปิดโค้ดอะไร ก็ขึ้นอยู่กับคำสั่งของหัวหน้าฝ่ายโค้ด ของชมรมเชียร์ฯ ที่จะสั่งให้ผู้ที่เข้าร่วมบนสแตนเชียร์แปรอักษร ตามโค้ดหมายเลขอะไร เพื่อที่จะได้รับส่งคำตอบกับอีกฝั่งได้

ธนทัต มอบนรินทร์
หัวหน้าฝ่ายพัสดุ ชุมนุมเชียร์แห่ง ม.ธรรมศาสตร์

ดังนั้นใครที่อยากเข้าร่วมแปรอักษรในงานบอลประเพณีครั้งที่ 73 ที่จะถึงนี้ ก็แค่ไปซื้อเสื้อบอล แล้วก็แถวขึ้นแปรได้เลยจ้า อยากแปรอักษรกับฝั่งไหนก็เลือกเอาตามใจชอบเลย จะฝั่งจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ก็ได้ เพราะสแตนทั้งสองสถาบันเปิดรับทุกคนอยู่แล้ว

เทคนิคแปรอักษร

link : https://seeme.me/ch/campusstar/9aE7x1

ประมวลภาพแปรอักษร ฝั่งจุฬาฯ งานฟุตบอลประเพณีฯ 73 | CSR – ลดช่องว่างสร้างสังคม

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง