TUCUBall TUCUBall73 งานฟุตบอลประเพณี งานฟุตบอลประเพณี73 สแตนเชียร์ แปรอักษร

ขึ้นสแตนเชียร์แปรอักษร งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ต้องทำอะไรบ้าง

Home / กิจกรรม / ขึ้นสแตนเชียร์แปรอักษร งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ต้องทำอะไรบ้าง

หลังจากที่เราได้ไปสัมภาษณ์ชมรมเชียร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว ก็ได้รู้ว่าเราสามารถขึ้นสแตนแปรอักษร  งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ได้โดยไม่ต้องซ้อม แต่นอกจากเพลทเหล็กแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการแปรอักษรอีกหลายอย่างเลย เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ถ้าขึ้นสแตนแปรอักษรไปแล้วต้องทำอะไรบ้าง การแปรโค้ดยุ่งยากไหม

ขึ้นสแตนเชียร์ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ทำอะไรบ้าง

หลังจากเดินทางมาถึงสนามศุภชลาศัยแล้ว ก็ไปต่อแถว เข้าคิวเดินขึ้นไปบนสแตนเชียร์ จากนั้นนั่งลงตรงที่นั่งตามแถวที่เตรียมไว้ ก็จะเจอกับเพลทเหล็ก และถุงสวัสดิอีกใบ ในถุงสวัสดิจะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรอักษรนอกจากเพลทเหล็ก ได้แก่ เพลทสีแบบ 1:1 พู่เชียร์ พัด ร่ม คันฉ่อง และมีสเบียงอาหาร อย่างงานบอลปี 72 ก็เป็นชุดแม็คโดนัล กับเครื่องดื่มสปอนเซอร์

ถุงสวัสดิ

หลังจากที่สำรวจอุปกรณ์ และสิ่งของต่างๆ ที่สตาฟเตรียมไว้ให้แล้ว หัวหน้า และคนที่ดูแลฝ่ายโค้ดจะมาสอนวิธีแปรอักษร ว่าต้องทำอย่างไร โดยใช้เวลาไม่ถึง 30 นาที จากนั้นก็เริ่มแปรอักษรกันเลย ส่วนการแปรโค้ดก็แปรตามใบโค้ดที่ใส่ไว้ให้ในถุงสวัสดิ หัวหน้าฝ่ายโค้ดจะเป็นคนออกคำสั่งว่าให้แปรโค้ดไหน ซึ่งการแปรอักษรนั้นมีหลายอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และสามารถแปรอักษรออกมาได้หลายแบบเลย

แปรอักษรโดยใช้เพลท

เพลทที่ใช้จะมีสองแบบ คือเพลทเหล็ก 1 : 20 ซึ่งเพลทเหล็กจุฬา กับธรรมศาสตร์มีความระเอียดไม่เท่ากัน ของจุฬาจะเป็น 1 : 25 และเพลทสีที่เรียกว่าเพลท 1 : 1 ถ้าเป็นเพลทสีธรรมดา คนสั่งการก็จะบอกให้แปรโค้ดหมายเลขอะไร จากนั้นเราก็ดูในใบโค้ด

ถ้าเป็นแบบ 1 : 1 ผู้ที่ออกคำสั่งก็จะระบุเพิ่มว่า ให้แต่ละที่นั่งหยิบแผ่นสีขึ้นมาตามที่กำหนด เช่น คนที่นั่งแถว a-h ให้หยิบเพลทสีชมพูขึ้นมา พอเราดูใบโค้ดที่ระบุว่าเราอยู่แถวไหน ก็ยกสีป้ายตามคำสั่งของสตาฟ ซึ่งเพจแบบ 1 : 1 จะใช้แปรคำง่ายๆ

ภาพจากเพลทแบบ 1:1

ส่วนเพลทแบบ 1 : 20 จะได้เป็นภาพที่ระเอียด โดยการแปรเพลทเหล็กก็รอคำสั่งว่าจะให้แปรโค้ดไหนเหมือนกัน เพราะในใบโค้ดก็จะมีโค้ดให้เลือกแปรประมาณ 80 กว่าแบบ พอสตาฟระบุโค้ดมาแล้วว่าจะแปรโค้ดหมายเลขอะไร เราก็แค่พลิกเล่มสมุดตามที่ใบโค้ดระบุเอาไว้

ภาพจากเพลทแบบ 1: 20

แปรอักษรโดยไม่ใช่เพลท

นอกจากเพลทแล้วก็ยังมีพู่เชียร์ พัด คันฉ่อง ร่ม โดยอุปกรณ์เชียร์เหล่านี้ คนที่ขึ้นสแตนแปรอักษรก็จะได้เรียนรู้วิธีการใช้ตอนที่เตรียมจะแปรอักษรเลย ไม่มีการสอนก่อนล่วงหน้า สตาฟก็จะให้เราหยิบอุปกรณ์ออกมาจากถุงสวัสดิ จากนั้นก็สอนวิธีการแปรอักษร แล้วเริ่มแปรเลย

เช่น ตอนที่แปรอักษรโดยใช้ร่ม คนออกคำสั่งจะบอกว่าเดี๋ยวจะนับเลข แล้วก็ให้กางหุบร่มตามจังหวะตัวเลขที่นับ สมมุติว่าเรานั่งแถว Q แล้วทั้งสตาฟ กับในใบโค้ดก็ระบุว่าให้คนที่อยู่แถว Q กางร่มตอนหมายเลข 4, 7, 14 เราก็จะกางร่มตามจังหวะการนับ ถ้านับถึงเลข 4 ก็กางร่ม และยังไม่ถึงเลขที่กำหนดก็หุบร่ม ซึ่งการแปรอักษรด้วยร่มก็จะได้เป็น กลอน หรือข้อความที่ต่อเนื่องกัน

ตัวอย่างใบโค้ด

ใบโค้ดเพลท 1:25

นั่นคือตัวอย่างการแปรอักษรที่ผู้ที่ขึ้นสแตนเชียร์จะต้องไปเจอ แต่ถ้าอยากรูว่าการแปรอักษรนั้นเป็นยังไง สนุกไหม ลุ้นว่าจะเปิดเพลททันไหม ก็ต้องไปลองเองแล้ว อีกอย่างปีที่แล้วคนที่ขึ้นสแตนเชียร์ แปรอักษรได้ลุ้นไอโฟน x ด้วยนะ ปีนี้จะแจกอะไรก็คงต้องไปลุ้นกันดู

ภาพ : Bless in dream , ig menamechan , Cheerclub Thammasat

แม่ทัพเชียร์ธรรมศาสตร์ พร้อมแค่ไหนกับงานบอลธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 73

บทความแนะนำ