ความอินดี้ในภาษาอังกฤษ ตอน Collocation – กลุ่มคำที่มักจูงมือกันมา

เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมภาษาอังกฤษใช้คำต่างกัน ทั้งๆ ที่เวลาแปลไทยแล้วก็เหมือนกัน อย่างคำว่า “เปิด” เช่น “เปิดประตู” เราใช้ “open the door” แต่ถ้า “เปิดไฟ” เรากลับใช้ “turn on the light” หรือ แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะเข้าใจเรื่องนี้ วันนี้ผม ครูพี่พีท จาก XChange English จะพามาทำความรู้จักกับ “Collocation” กันครับ

ความอินดี้ในภาษาอังกฤษ ตอน Collocation

กลุ่มคำที่มักจูงมือกันมา

“Collocation” หรือ “กลุ่มคำที่มักจูงมือกันมา” เช่น “make sense” “take a seat” หรือ “have a bite” เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าหากรู้ความหมายเพียงคำๆ เดียว จะสร้างปัญหาให้กับผู้เรียนภาษาอังกฤษไม่น้อยเลย ก่อนจะเข้าเรื่อง collocation เราต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของภาษาก่อน นั่นก็คือ

1) ภาษาอังกฤษมีความ “อินดี้” ในแบบฉบับของตัวเอง
2) ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย “ไม่ใช่ญาติกัน”

ถ้าเราแปลไทยเป็นอังกฤษตรงๆ (direct approach) แน่นอนว่าการพูดการสื่อสารจะติดขัดไปหมด แต่ถ้าไม่ใช้การแปลแบบตรงๆ แล้ว เราจะสื่อสารโดย “ไม่” แปลได้อย่างไร

เทคนิคเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 80/20

วันนี้ผมมีเทคนิคมาฝากโดยประยุกต์จากกฎ 80/20 ของ Pareto (Pareto’s Principle) ซึ่งใช้ได้ผลค่อนข้างดีเลยทีเดียว

กฎที่ว่านี้ใช้ความรู้สึก 80% (intuition) และใช้ความจำอีก 20% (memorization) เราอาจจะสงสัยว่าความรู้สึก 80% จะใช้ได้ผลจริงๆ เหรอ? ขอบอกเลยว่า ‘ได้สิครับ’ เพราะความรู้สึกที่ว่านี้เกิดจากความคุ้นเคยที่ใช้งานจริง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องจำ ส่วนที่เหลืออีก 20% เป็นสิ่งใหม่ก็ต้องอาศัยการท่องจำกันไป

มาลองดูตัวอย่างความอินดี้ของภาษาอังกฤษผ่านเรื่อง Collocation กันครับ

ตัวอย่างคำ Play (v.) แปลว่า เล่น

คำง่ายๆ ที่ใครๆ ก็รู้จักคำนี้ เราคุ้นหูคุ้นตามาตั้งแต่เด็ก แต่คำถามคือ “แล้วเราใช้มันได้ถูกต้องในทุกบริบทหรือไม่” ลองมาดู 2 ตัวอย่างของรูปแบบ direct approach แปลตรงๆ กันก่อนเลยครับ

ตัวอย่างที่ 1

สามคำนี้ในตัวอย่างชุดแรกถือว่าเป็นความฟลุ๊คของ direct approach เลยก็ว่าได้นะครับ เพราะความหมายดันออกมาตรงกันเป๊ะๆ 100% แต่เราอย่าเพิ่งชะล่าใจไปครับ เพราะว่าเราจะไม่ได้โชคดีแบบนี้เสมอไป มาดูตัวอย่างที่สองกันครับ

ตัวอย่างที่ 2

เริ่มเห็นความอินดี้ชัดเจนขึ้นมั้ยครับ ว่าคำว่า “เล่น” กับ “play” ความหมายไม่ตรงกัน 100% โดยเฉพาะสามคำในตัวอย่างชุดที่สองนี้ ซึ่งความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะว่าเราเอา collocation ของภาษาไทยมายัดเยียดให้กับภาษาอังกฤษไงครับ ดังนั้น collocation ในคอลัมน์กลางจึงไม่ make sense ในภาษาอังกฤษ ซึ่ง collocation ที่ความหมายถูกต้องอย่างแท้จริงนั้นอยู่ในคอลัมน์ขวาสุดครับ

เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ภาษาอังกฤษดิ้นได้ จึงนำกฎ 80/20 มาช่วยปิดช่องว่างตรงนี้ได้ เพียงเราเปิดใจเรียนรู้และฝึกใช้ภาษาอังกฤษในบริบทจริงตามธรรมชาติของภาษา เท่านี้เราก็เก่งภาษาอังกฤษได้ไม่รู้ตัวเลยครับ แล้วพบกับความอินดี้ในภาษาอังกฤษได้ใหม่ในตอนต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

by ครูพี่พีท : XChange English

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง