รู้จัก ครูจุ๊ย-ส.ส.กุลธิดา จบ ป.โทจากฟินแลนด์ – ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก

เปิดประวัติ ครูจุ๊ย-กุลธิดา ส.ส. แห่งพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้เข้าร่วมประชุมสภาและได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเกี่ยวกับประเด็นด้านการศึกษา ปัญหาครูที่มีภาระและปัญหาความเหลื่อมล้ำ

ประวัติ ครูจุ๊ย-กุลธิดา ส.ส.พรรคอนาคตใหม่

จากประสบการณ์ของเธอที่ได้ไปเล่าเรียนศึกษาที่ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการศึกษาที่มีระบบที่ดีที่สุดในโลก เธอได้สัมผัสระบบตั้งแต่การเป็นนักเรียนมัธยม และในฐานะนักศึกษาปริญญาโทของที่นั่นมาแล้ว ทำให้มองเห็นไปถึงปัญหาของระบบการศึกษาไทยเกี่ยวกับความเท่าเทียมความเหลื่อมล้ำ ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับเธอกันค่ะ

ประวัติส่วนตัว

ครูจุ๊ย (Juice) มีชื่อจริงว่า กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527  ที่กรุงเทพฯ  และได้ย้ายไปอยู่ จ. นนทบุรี ปัจจุบันอายุ 34 ปี มีความสามารถทางด้านการใช้ภาษานอกเหนือจากภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส และฟินนิช (ภาษาฟินแลนด์)

ประวัติด้านการศึกษา

– ระดับชั้นมัธยม โรงเรียนราชินีบน
– เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ที่ประเทศฟินแลนด์
– ปริญญาตรี อักษรศาสตรบัญฑิต เอกภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท Master of Arts in Intercultural Communication จาก University of Jyväskylä ประเทศฟินแลนด์
กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy Programme in Applied Linguistics (International Programme) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ประวัติการทำงาน

– อาจารย์พิเศษวิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ภาคอินเตอร์และภาษาไทย)
– ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โครงการห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ดรุณสิกขาลัย
– คอลัมนิสต์ประจำ WAY Magazine
– ปัจจุบันเป็นนักเขียนและนักแปลอิสระ

. . .

คลิปแถลงในสภา ปัญหาครูมีภาระมากมายนอกเหนืองานสอน ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาของไทยจากครูจุ้ย

ผลงานทางด้านวิชาการ ครูจุ๊ย-กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

– [The Asian Conference on Education 2013’s Conference Proceedings] Uncovering a Cultural Black Box: A Case Study of a Classroom Discourse of a Regional Award-Winning Thai Social Sciences Teacher in a Topic of Culture (2013)

– [13Th International Conference on Thai Studies Globalized Thailand, Connectivity, Conflict and Conundrums of Thai Studies] ”Materialism Must Die.” a Case Study of Binary Opposition Used in Narrative Discourse in a Thai Social Sciences Classroom (2018)

ผลงานด้านอื่นๆ นักเขียน/นักแปล/อาจารย์

– หนังสือ Forgotten English Conversation และ Hot English / สำนักพิมพ์พราว
– งานแปลวรรณกรรมเยาวชนฟินแลนด์ ไตรภาคสโนว์ไวต์ เขียนโดยซัลล่า ซิมุกกา / สำนักพิมพ์ นานมี บุ๊คส์
– รวมเรื่องสั้นแปลจากภาษาฟินแลนด์ “นักสำรวจและเรื่องฟินน์อื่น ๆ” / สำนักพิมพ์กำมะหยี่
– ปัจจุบันเขียนคอลัมน์ เล่า/เรียน ให้กับ WAY Magazine และ เติมครูในช่องว่างให้กับ Voice TV Blogs
– สอนหนังสือวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จนถึงมหาวิทยาลัยระดับปริญญาโท

ตัวตนครูจุ้ย นักอ่าน/ทาสแมว/แว่นเยอะมาก

ครูจุ้ย ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือ โดยเฉพาะนวนิยายของ Haruki Murakami, Kazuo Ishikuro, Jhumpa Lahiri, Steig Larsson, Tove Jansson รวมทั้งงานของนักเขียนไทย อย่างเช่น อุรุดา โควินท์

นอกจากนี้ยังสนใจงานเขียนบทละครเวทีของ Arthur Miller, กลอนของ Wislawa Szymborska, หนังสือประเภทสารคดี และยังชื่นชอบการชมภาพยนตร์อีกด้วย

น้องแมวของครูจุ้ย ชื่อ ฮันเตอร์ เพศหญิงนะเหมียว ๆ 

เธอยังมีแมวเป็นสัตว์เลี้ยง ชื่อน้องฮันเตอร์ และสนใจเสื้อผ้าในสไตล์เฉพาะตัว มีทั้งแแบบเลือกซื้อและตัดเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ชอบใส่แว่นตามีดีไซน์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในครอบครองถึง 21 อัน

เหตุผลการทำงานทางการเมือง – อยากเห็นสังคมไทยเคารพในสิทธิมนุษยชน

ครูจุ้ย สนใจการเมืองเพราะอยากเห็นสังคมไทยดำรงอยู่บนหลักการของความเคารพในสิทธิมนุษยชน เมื่อจบการศึกษากลับมา จึงได้สมัครเข้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่จุดเปลี่ยนที่สุดกลับเป็นการที่ได้มีโอกาสสอนนักเรียนมัธยมปลาย เพราะเธอค้นคว้าการเรียนการสอนด้วยตัวเองอย่างหนัก ด้วยความคิดที่ว่าไม่มีวุฒิทางการศึกษามาก่อน

ขณะกำลังเรียนต่อ ป.เอก พบสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

ในช่วงที่กำลังศึกษาต่อปริญญาเอก (เมื่อกลางปีพ.ศ. 2561) เธอได้ลงมือทำงานค้นคว้าวิจัยเรื่องวาทกรรมในห้องเรียน อาศัยประสบการณ์ทั้งจากการเป็นนักเรียนและการเป็นครูทำให้ตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งด้วย นั่นคือการใช้ภาษาในห้องเรียน และในประเทศไทยยังไม่มีใครสนใจเรื่องนี้มาก่อน

ไม่เคยเห็นครูอยู่ในคณะบริหารการศึกษาจริงๆ

ประสบการณ์จากการทำงานอีกอย่างที่พบคือ ไม่เคยเห็นครูอยู่ในคณะบริหารการศึกษาจริงๆ ดังนั้น การทำงานในภาพรวมจึงเป็นการทำงานบนหอคอยงาช้าง นี่คือ แรงผลักดัน ที่อยากเข้ามาทำงานการเมือง และผลักดันเรื่องการศึกษาจากฐานความเป็นครู

ขอบคุณภาพจาก: KrujuiceOfficial/TW: Kunthida_FWP

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง