คนพิการ

มจธ. พัฒนาฝีมือคนพิการสร้างอาชีพอิสระ พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ชุมชนหมู่บ้านนางอย

Home / วาไรตี้ / มจธ. พัฒนาฝีมือคนพิการสร้างอาชีพอิสระ พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ชุมชนหมู่บ้านนางอย

“ลดอุปสรรคต่อการเดินทางของคนพิการที่อาศัยนอกเขตเมือง ตอบสนองความต้องการประกอบอาชีพอิสระ” พัฒนาฝีมือคนพิการสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ชุมชนหมู่บ้านนางอย จ.สกลนคร

มจธ. พัฒนาฝีมือคนพิการสร้างอาชีพอิสระ

พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ชุมชนหมู่บ้านนางอย

นายสุเมธ ท่านเจริญ ประธานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า มจธ. ได้ดำเนินการด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการ โดยการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงาน ในสถานประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน เป็นปีที่ 8 แล้ว มีคนพิการได้ทำงานมากกว่าร้อยละ 50 จากผู้เข้าร่วมโครงการ

ผศ.วรนุช ชื่นฤดีมล

ผศ.วรนุช ชื่นฤดีมล 

ข้อจำกัดของคนพิการ

จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีคนพิการจำนวนหนึ่งมีความต้องการประกอบอาชีพอิสระ และมีข้อจำกัดต่อการทำงานในสถานประกอบการ เช่น การเดินทางไปทำงาน ประเภทความพิการที่ไม่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ไม่มีวุฒิการศึกษา อายุที่มากเกินไป ฯลฯ รวมทั้งสถานประกอบการจำนวนมากมักอยู่ในเขตเมือง คนพิการที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง ไม่สามารถเดินทางหรือย้ายถิ่นฐานไปทำงานได้

จึงเป็นที่มาของโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการฯ หลักสูตรพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นโดยฝีมือคนพิการ ณ ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านนางอย โพนปลาโหล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ผศ.วรนุช ชื่นฤดีมล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวว่า “คนพิการที่เข้าร่วมหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น จะเป็นกลุ่มคนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งที่มีทักษะการทำงานหัตถกรรมอยู่แล้ว และผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะเพิ่มเติม

โดยในช่วงเริ่มต้นได้ลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และหน่วยงานภายในพื้นที่ชุมชนบ้านนางอย ร่วมพูดคุยและได้ขอคำแนะนำ จากแพทย์ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อขอคำแนะนำและคัดเลือกคนพิการ ที่มีความพร้อม เข้าร่วมโครงการ รวม 19 คน ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 เดือน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยคนพิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รวมทั้งจะได้รับเบี้ยเลี้ยงและค่าเดินทาง ระหว่างการฝึกอบรม

ผศ.นันทนา บุญลออ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรนี้จะมีการอบรมพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นอื่นๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น การออกแบบชิ้นงาน การถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ฯลฯ รวมถึงส่วนภาคปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เช่น การสอนย้อมคราม การทอเสื่อ การออกแบบลวดลาย การทำไม้กวาด และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด

เรียนรู้การสร้างลวดลาย ด้วยแม่พิมพ์และพิมพ์สีธรรมชาติ

การเรียนการสอน

ตัวอย่างการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรหัตถกรรม ณ ศาลาประชาคมหมู่ 7 ตำบลเต่างอย จำนวน 4 วัน ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการแบ่งกลุ่มการอบรม โดย กลุ่มที่ 1 สร้างลวดลายผ้าพันคอด้วยการแต้มสีธรรมชาติ ทดลองแต้มสี ด้วยพู่กันตามแบบลาย กลุ่มที่ 2 สร้างลวดลายด้วยการมัดหยอดสีธรรมชาติ (เสื้อยืดและเสื้อยืดเด็ก) กลุ่มที่ 3 สร้างลวดลายด้วยแม่พิมพ์และพิมพ์สีธรรมชาติ (กระเป๋าผ้าหูรูด) เป็นต้น ทำให้แต่ละกลุ่มได้เห็นความแตกต่าง และมีโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน

ซึ่ง มจธ. คาดหวังว่าเมื่อจบโครงการผู้เข้าร่วมโครงการจะสามารถประกอบอาชีพอิสระ มีรายได้ มีความภูมิใจในตัวเอง และส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของคนพิการดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งพลังของชุมชนและสังคมต่อไป

นายนภนต์ สาทิตานนท์

นายนภนต์ สาทิตานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตย์ฯ

นายพงศธร  สังข์ทอง

นายพงศธร สังข์ทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตย์ฯ

นายสุเมธ ท่านเจริญ ประธานโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการฯ

ผศ.นันทนา บุญลออ

ผศ.นันทนา บุญลออ

ผศ.นันทนา บุญลออ