เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เรียนกับสถาบันไหนก็เหมือนกัน

Home / วาไรตี้ / เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เรียนกับสถาบันไหนก็เหมือนกัน

เป็นประเด็นที่อ่อนไหวสำหรับหัวข้อที่ว่า .. สถาบันไหนก็ไม่สำคัญ หรือจริงๆ แล้ว “สถาบัน” นี่ล่ะสำคัญที่สุด? จากกระทู้ที่มีคนโพสต์ในเว็บไซต์ Pantip.com ที่ถามว่า “เราควรบอกเด็กเตรียมสอบไปตรงๆ ดีมั้ยครับว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ความจริง” ในวันที่ 24 ก.พ. 2560 ของ สมาชิกหมายเลข 2975282

เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ?

– ในฐานะที่เคยมีประสบการณ์ตรงนี้มาก่อน เคยเชื่อมาก่อนว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน แต่สุดท้ายมันไม่จริงครับ เรียน ม.ต่างจังหวัด แต่อยากเป็นนักการฑูต ภาษาไม่แน่น ทฤษฎีไม่แน่น ยังไงมันก็สอบไม่ได้ ม.ที่เรียนไม่ได้เน้นตรงนี้ด้วย คือจบกันเลย พลาดโอกาสไปตลอดชีวิต

ผมว่าเราน่าจะบอกความจริงกับเด็กๆ เตรียมสอบนะครับว่า มหาวิทยาลัยแต่ละที่มีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ถ้าแค่ทำงานเอกสารในเทศบาลหรือ อบต.ใกล้บ้าน ม.ภูธร ใกล้บ้าน มันก็คงเป็นตัวเลือกที่ไม่เลว แต่ถ้ามีความฝันอยากเป็นสถาปนิก วิศวกร อันนี้น่าจะไม่ตอบโจทย์ละ คือมันน่าจะมีการบอกกันตรงๆ ไปเลยว่า มหาวิทยาลัย A B C เก่งทางด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัย C E F เก่งทางด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัย X Y Z เก่งทางด้านภาษา อะไรแบบนี้ เด็กๆ จะได้เลือกเส้นทางของตัวเองได้ถูก ไม่ใช่บอกว่าเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ต่างกัน –

อ่านความคิดเห็นอื่นๆ เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ pantip.com/topic/36146166

ความคิดเห็นน่าสนใจ

– คห.ที่ 2 : ถ้าบอกไปแบบนี้ สถาบันที่ไม่ติดโผ ก็จะดราม่าอีก

– คห.ที่ 6 : บอกไปเถอะค่ะ อธิบายเพิ่มให้เด็กสักหน่อยว่าทำไม เพราะอะไร ถ้าเด็กเข้าใจและยอมรับความจริงได้ เค้าไม่ตีโพยตีพายหรอก มีแต่จะพยายามปรับปรุงตัว ส่วนเด็กที่รับความจริงไม่ได้ไม่สนใจโลกภายนอกจะดราม่าก็ปล่อยๆ ไป

คห ที่ 39 : 1.เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนรู้อยู่เต็มอก แต่พูดออกสื่อสาธารณไม่ได้จะโดนพวกโสกสวยด่า เด็ก ม.ปลาย ทุกคนก็รู้อยากสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ ทั้งนั้น เมื่อสอบไม่ได้ก็จะมีการพูดปลอบใจเรียนที่ไหนก็ได้ไม่สำคัญ ถ้าจะทำงานบริษัทเอกชนผมคิดว่าดูชื่อมหาวิทยาลัยก่อน ฉะนั้นคนจบมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจะได้งานก่อนส่วนได้งานแล้วจะทำงานเป็นอย่างไรก็ไปดูกันอีกที่แต่ก็ได้งานได้เงินไปแล้ว ถ้างานราชการที่ต้องสอบเข้าก็วัดกันที่การสอบ

2.เมืองไทยคงจะให้ประกาศว่ามหาวิทยาลัยอันดับที่เท่าไรของประเทศคงไม่ได้ พวกโลกสวยจะออกมาด่าอีกว่าแบ่งชนชั้น หลักเกณฑ์ไม่เหมาะสม แต่เห็นข่าวว่าต่างประเทศจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทยแล้ว

– คห.ที่ 55 : ผมว่า ใช้ได้กับบางอาชีพหน่ะครับ อย่างโปรแกรมเมอร์เป็นต้น อย่างโปรแกรมเมอร์สุดท้ายแล้ว การเรียนรู้ด้วยตัวเองจำเป็นมากกว่าเรียนจากที่ อ.สอนอีก

มุมของคนทำงาน

– MJ : มองย้อนกลับไป ถ้าเลือกได้ แล้วสอบได้ ก็ยังจะเลือกเรียนที่เป็นมหาวิทยาลัยดังๆ ของรัฐบาลค่ะ เพราะบ้านเรายังคงโฟกัสที่ตรงนี้อยู่มากเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า เรียนอะไรด้วยนะคะ

– NM : ไม่จริงค่ะ ต่างสถาบันระบบการเรียนการสอนต่างกันแน่นอนค่ะ ยิ่งเรื่องเทคโนโลยีในการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ เลือกคณะสาขาที่ชอบต้องเลือกมหาวิทยาลัยด้วยค่ะ ว่าพร้อมแค่ไหน เช่น เรียนสถาปัตย์ ก็ควรจะหามหาลัยที่ดังและพร้อมสอนค่ะ

– NN : ถ้าเรียนที่ไหนก็ได้ แล้วจะมีให้สอบเข้าทำไม ไม่งั้นก็เปิดให้คนเข้าไปสมัครเรียนได้เลย ถ้าสอบติดที่ดังๆ เราก็จะไปเรียนที่นั่นค่ะ แต่เมื่อไม่ติดที่ดังๆ จบมาแล้วก็มีงานทำเหมือนกัน ซึ่งอาจจะรอนาน หางานยากหน่อยค่ะ แล้วแต่โอกาสด้วยค่ะ

ในมุมของนายจ้าง

– หากคนนั้นจบมาจาก ม.ดังๆ ที่มีชื่อเสียง ก็จะเรียกเงินเดือนสูง เรียกร้อง เล่นตัว และลาออกง่าย กรณีของคนที่เรียนจบ ม.ไม่ดัง การเรียนอาจจะกระท่อนกระแท่น วิชาการไม่แน่น แต่อาจจะใส่ใจ ขยันมาก ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทชอบสไตล์ไหน ใช้คนแบบไหน ก็ว่ากันไปครับ

– ในบางครั้ง จุดเริ่มต้นอาจจะไม่เท่ากัน แต่บางทีประสบการณ์งาน อาจจะผลักดันให้ไปเสมอกัน หรือดีกว่าก็ได้ พื้นฐาน สิ่งแวดล้อมก็ส่วนนึง ตัวบุคคลด้วยเป็นส่วนหนึ่ง