คณะรัฐศาสตร์ ต้องเรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร ?

สำหรับน้องๆ ที่ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับแนวความคิด อย่างเศรษฐกิจ การเมือง เรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หนึ่งในคณะที่ตรงกับความชอบทางด้านนี้ก็คงจะต้องเป็นการเรียนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ซึ่งก็จะมีแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูล คณะรัฐศาสตร์ ต้องเรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร ? มาให้ได้อ่านกันค่ะ

คณะรัฐศาสตร์ ต้องเรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร ?

คณะรัฐศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับรัฐและสังคม การเมืองเปรียบเทียบแนวความคิด และระบบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ซึ่งส่วนใหญ่ตามมหาลัยต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ แต่ในบางมหาวิทยาลัยในปัจจุบันจะมีเพิ่มสาขาวิชาแตกออกไปอีก ยกตัวอย่าง สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย เป็นต้น แล้วแต่ละสาขาต้องเรียนอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

ภาพจาก Facebook : ป.โท MPE คณะรัฐศาสตร์ มธ.

1.สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

การศึกษาในสาขานี้ มุ่งทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเรา โดยจะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ

2.สาขาการระหว่างประเทศ

เป็นสาขาที่มุ่งทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชน  เพราะแต่ละประเทศไม่ได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว ความกินดีอยู่ดีของประชาชนในแต่ละประเทศ ความสำเร็จในธุรกิจการค้าองอาศัยความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ

3.สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์

การศึกษาในสาขานี้จะศึกษาเรื่องการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ การบริหารบุคคล การคลัง การ งบประมาณ และการวางแผนจัดทำโครงการ เทคโนโลยีการบริหาร และการศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ โดยเป็นปัญหาที่สำคัญ ๆ ที่ได้รับการสนใจและมีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน

4.สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา

จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นสิ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบ แต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติงาน และการพัฒนาสังคม

5. สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย

ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ  วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักและทฤษฎีการบริหาร กระบวนการและการบริหารคดี หลักการสืบสวนสอบสวน ทฤษฎีทางอาญาวิทยา  การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันอาชญากรรมและปัญหาสังคม หลักยุติธรรมชุมชน และการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในสังคม  ตลอดทั้งการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในองค์การ

ลักษณะนิสัย/คุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนรัฐศาสตร์

เรียนจบรัฐศาสตร์ ทำงานอะไรได้บ้าง?

– ประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ หรือ “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ  เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการ นายอำเภอ เป็นต้น

– งานรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานไม่ต่างจากงานราชการ ก็จะเป็นงานทางด้านบริหาร จัดการข้อมูล และวิจัย

– งานบริษัทเอกชน  ความรู้เรียนมาสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งอะไร ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับงานการวิเคราะห์ การวางแผนนโยบายต่างๆ เช่น  เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น

มหาลัยไทยที่เปิดสอนคณะ/สาขา เกี่ยวกับ รัฐศาสตร์

ข้อมูลจาก: www.act.ac.th/department.html , th.jobsdb.com/th-th/article , politicalbase.in.thwww.soc.ku.ac.th

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง