TU 100 วิชาพลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา ร่วมสร้างความเป็นพลเมืองดีให้กับนักศึกษา

TU 100 วิชาพลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา เป็นวิชาเรียนบังคับตัวหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เด็ก มธ. ต้องเคยผ่านวิชานี้มากันทุกรุ่น สำหรับน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเด็กเฟรชชี่ปี 1 ที่เพิ่งเข้าอาจจะงงว่าวิชานี้คือวิชาอะไร แล้วสำคัญอย่างไร ทำไรถึงต้องเรียนด้วย เราจะมาเล่าให้ทุกคนฟังเอง

วิชา พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา

วิชา พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา (CIVIC ENGAGEMENT) วิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก บทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบของการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในฐานะพลเมืองโลกให้กับนักศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การบรรยาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ การไปดูงาน เป็นต้น

วิธีการแบ่งห้องเรียน

การเรียนการสอนวิชานี้จะแบ่งเด็กออกเป็นห้องย่อยๆ หลายสิบห้อง โดยห้องหนึ่งจะมีนักศึกษา 50 คนกับอาจารย์ 1 คน ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนวิชานี้ไม่จำเป็นต้องอาจารย์ของอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสมอไป อาจมาจากหน่วยงานภายนอกก็ได้ อย่างกรณีของผู้เขียนเองก็เคยเรียนวิชานี้กับอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งเป็นบุคลากรภายนอก

เรียนอะไรบ้าง ?

คำตอบคือเรียนอะไรก็ได้ที่ทำให้เราเป็นพลเมืองดี ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ และรู้ว่าควรปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองที่ดีอย่างไร จึงจะช่วยให้สังคมของเราสงบสุข นอกจากนี้ก็ยังมีการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการพาไปดูโรงแยกขยะ พาไปลงชุมชน ไปดูว่าในชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง แล้วจะแก้ไขอย่างไร อีกทั้งยังพาไปร่วมกิจกรรมกับคนในชุมชนด้วย

ให้เกรดยังไง ?

เกรดวิชานี้มาจากคะแนนของใบบันทึกกิจกกรรมที่ทำในห้องเรียน และโครงงาน ซึ่งนักศึกษาจะคิดทำอะไรขึ้นมาก็ได้ แต่สิ่งนั้นจะต้องช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในมหาวิยาลัย หรือชุมชนได้ และทางมหาวิทยาลัยก็จะมีงบประมาณให้กับนักศึกษาเพื่อจัดทำโครงงานด้วย เคล็ดลับหรับคนที่อยากได้เกรด A วิชานี้ แนะนำให้ออกไปพรีเซนต์งาน หรือออกไปพูดหน้าชั้นบ่อยๆ ก็จะมีส่วนช่วยให้อาจารย์เห็นถึงความมีส่วนร่วมของเราได้มากขึ้น

เรียนแล้วได้อะไร ?

วิชา พลเมืองกับการลงมือแก้ปัญหา เป็นวิชาที่เหมือนกับยาขมสำหรับนักศึกษา เพราะตอนที่ผู้เขียนเรียนอยู่ปี 1 จะต้องไปเรียนวิชานี้ทุกวันเสาร์ เพื่อนหลายคนก็โอดครวญว่าทำไมวันหยุดยังต้องตื่นเช้ามาเรียนด้วย แต่วิชานี้เรียนแล้วเห็นผลจริงนะ เพราะนักศึกษาที่ผ่านวิชานี้มาจะได้รับการขัดเกลาให้รู้จักการเป็นพลเมืองดี ตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปแบบเห็นได้ชัดคืออย่างน้อยทุกคนก็รู้จักการแยกขยะ พอทุกคนช่วยกันแยกขยะ สภาพแวดล้อมก็ดีขึ้น แถมไม่ไปเบียนเบียนสุขภาพคนแยกขยะที่โรงงานรีไซเคิลขยะด้วยด้วย

ทำไมต้องเรียน ?

สาเหตุที่ มธ. ต้องมีวิชานี้เพราะว่า วิชาพลเมืองเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ และแน่นอนว่าในสังคมทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันในหลายๆ เรื่อง แล้ววิธีหนึ่งที่จะแก้ไขความแตกแยกในสังคมคือการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม และความเสมอภาคนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เป็นหน้าที่ของวิชา พลเมืองศึกษา (Civic Education)

รวมภาพกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา TU 100

ขอบคุณภาพจาก : learningcitizen , Facebook TU 100,jcpr

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง