มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย แยกตัวออกมาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2548
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เน้นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรและพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านช่างอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ การท่องเที่ยว การบริหารจัดการและทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ เป็นมหาลัยที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีที่ดีในภาคใต้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ ในช่วงเริ่มของการก่อตั้งนั้นได้รวบรวมเอาสถาบันการศึกษาที่เดิมเคยสังกัด สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในเขตภาคใต้
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เดิม “โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง” จัดการเรียนการสอนแบบให้เปล่า นักเรียนที่เข้าเรียนที่นี่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จำกัดอยู่ในวงแคบเพราะเปิดรับเฉพาะนักเรียนชายที่สำเร็จ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในท้องที่อำเภอทุ่งสงเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เข้าเป็นนักเรียนกินนอนของโรงเรียนเท่านั้นโดยใช้ เวลาในการเรียน 2 ปี จึงจบหลักสูตร โรงเรียนเปิดดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องงดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2481 ทั้งนี้เพื่อเตรียมโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช”
พ.ศ. 2484 โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้ทำการโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล แต่ภาระหน้าที่ ให้ความรู้ยังเน้นในเรื่องเกษตรกรรม
พ.ศ. 2489 เปิดสอนชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกเกษตรกรรมหลักสูตร 3 ปี ขึ้นอีกหนึ่งแผนก
พ.ศ. 2499 ได้ยกเลิกหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษา ตอนต้นและเปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปีโดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและได้ขยายการรับนักเรียนให้กว้างขึ้นตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรี ลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส รวม 22 จังหวัด
พ.ศ. 2505 ทุนอุดหนุนได้ยกเลิกไป แต่ภารกิจการเรียนการสอนยังคงดำเนินต่อไป จนปี พ.ศ. 2507 ได้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนก เกษตรกรรม หรือประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม (ม.ศ.6 แผนกเกษตรกรรม) เข้าเรียนต่ออีก 2 ปี
พ.ศ. 2432 กระทรวงศึกษาธิการได้ ยกฐานะโรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชขึ้นเป็น “วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช” เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2508
พ.ศ. 2510 กรมอาชีวศึกษาได้จัดให้วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชได้เข้า เป็นวิทยาลัย
พ.ศ. 2520 วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนโอนไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้เพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้ทั้งระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าปริญญาตรีในสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2531 นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ไปยังคณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช ณ ป่าสงวนบ้านขอนไทรหัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. 2531 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผลให้วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
วิทยาเขตสงขลา เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สังกัดกรมอาชีวศึกษา ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2497โดยเปิดสอน 3 แผนกวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง พาณิชยการ และช้างไม้ปลูกสร้าง ต่อมาได้เปิดสอนเพิ่มเติมในแผนกวิชาช่างยนต์ แผนกวิชาช่างโลหะแผนกวิชาคหกรรมศาสตร ์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง รวมเป็น 7 แผนกวิชาแผนกวิชาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการศึกษา ระดับประโยคอาชีวศึกษาหรือระดับประกาศนียบัตรใช้เวลาเรียน 3 ปี ในช่วงการเจัดตั้ง
วิทยาเขตตรัง คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จังหวัดตรัง เป็นการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชายฝั่งทะเลภาคใต้ ใน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2533
วิทยาเขตศรีวิชัย อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2548 ได้ทำการรวมวิทยาเขตศรีวิชัย เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช โดยใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ประกอบด้วยดวงตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ อยู่ภายในวงกลมมีรูปดอกบัว ๘ กลีบ เหนือวงกลมมีเลข ๙ และพระมหาพิชัยมงกุฎครอบ ใต้วงกลมมีแถบโค้งรองรับ ภายในบรรจุอักษรชื่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดวงตราพระราชลัญจกร เลข ๙ และพระมหาพิชัยมงกุฎ สื่อความหมายถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระราชลัญจกรประจำพระองค์ และพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเครื่องหมายราชการ รูปดอกบัว ๘ กลีบ สื่อความหมายถึง ความสดชื่นเบิกบานที่ก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ต้นยางนา เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้อนุรักษ์ไว้ และพระราชทานเป็นกล้าไม้มงคลไปปลูกตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ ลักษณะลำต้นสูงใหญ่เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผลกลมมีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก เมื่อผลหล่นจากต้นจะปลิวไกลไปตามกระแสลม เปรียบเสมือน การนำความรู้ ความเจริญงอกงามทางสติปัญญาไปรับ ใช้สังคมและพัฒนาอยู่เสมอ ดังผลยางที่ไม่หล่นอยู่กับที่
สีประจำมหาวิทยาลัย
สีเหลือง เป็นสีที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ การประสบความสำเร็จ เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ความเจริญรุ่งเรือง
รูปปั้นประจำมหาวิทยาลัย
โนรากินรีศรีวิชัย รูปลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทยทางภาคใต้และภาคกลางผสมผสานเข้าด้วยกัน คือ ส่วนหัวเป็นมโนราห์สอมเทริดปละตั้งแต่ลำตัวลงมาเป็นกินรี หมายถึง ความสามัคคีและการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยออกแบบโดย อาจารย์พลากร พันธุ์มณี อาจารย์คณะศิปกรรมศาสตร์
ตัวย่อ : มทร.ศ./RMUTSV
สถาปนา : 18 มกราคม พ.ศ. 2548
ประเภท : รัฐบาล
อธิการบดี : ผศ.รุจา ทิพย์วารี
นายกสภามหาวิทยาลัย : ศ.กิตติคุณพีระศักดิ์ จันทร์ประทีป
ที่ตั้ง
วิทยาเขตสงขลา
ถนนราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่
ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ขนอม
ตำบลท้องเนียม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิทยาเขตตรัง
ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา
จังหวัดตรัง
เว็บไซต์ : www.rmutsv.ac.th
facebook : RMUTSV
ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ www.rmutsv.ac.th