มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Pibulsongkram Rajabhat University

Home / academy / มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2547แล้วนั้น ยังผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนพุทธศักราช… See More

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2547แล้วนั้น ยังผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนพุทธศักราช 2547

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ประวัติความเป็นมา
มีประวัติค่อนข้างยาวนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2464 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เรียนหนังสือ ความต้องการครูเพิ่มขึ้น มณฑล พิษณุโลก จึงผลิตครูโดย เพิ่มหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นในโรงเรียนประจำมณฑลพิษณุโลก “พิษณุโลกพิทยาคม” ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6เมื่อสำเร็จ แล้ว ทางราชการจะบรรจุให้เข้ารับราชการครูทันทีได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครูมูล

พ.ศ.2469 มณฑลพิษณุโลก ได้รับงบประมาณจากกระทรวงธรรมการ สมทบกับเงินบริจาคของพ่อค้าประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก สร้างอาคารเรียนโรงเรียนฝึกกหัดประจำมณฑลขึ้นในที่ดินพระราชวังจันทน์ (โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมปัจจุบัน)เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชายและได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานนามโรงเรียนและเชิญเสด็จมาทรงเปิดอาคารเรียน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม โรงเรียนว่า “โรงเรียนพิษณุวิทยายน”และเสด็จพร้อมสมเด็จพระบรมราชินีรำไพพรรณี มาทรงเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2469 เวลาประมาณ 15.30 น. ในใบประกาศนียบัตรที่กระทรวงธรรมการออกให้นักเรียนที่เรียนจบ ใช้คำว่าโรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลพิษณุโลก “พิษณุวิทยายน” ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ย้ายสถานที่และไฟไหม้อาคารที่ย้ายไปใหม่ ทางราชการจึงสั่งยุบโรงเรียน

พ.ศ.2476 กระทรวงธรรมการเปิดแผนกฝึกหัดครูขึ้นในโรงเรียนสตรีประจำมณฑล พิษณุโลก (โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีในปัจจุบัน) จัดการศึกษาหลัดสูตรประโยคครูมูล (ครู ป.) หลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู.ว) และหลัดสูตรเป็นประกาศนียบัตรครูประชาบาล (ป.ป.) มาตามลำดับ ครั้น พ.ศ. 2486 แผนกฝึกหัดครูและโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีได้ถูกแยกออกมาเป็นอีก โรงเรียนหนึ่งได้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกโดยที่กิจการแยกกันสถานที่ยังใช้รวมกัน อยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูขึ้นอยู่กับกรมวิสามัญศึกษา

พ.ศ.2497 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น จึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพิษณุโลกไปสังกัดกรรมการฝึกหัดครู และปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา(ป.กศ.) และใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลได้สร้างโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีขึ้นมาใหม่ ในที่ตรงข้ามกับแม่น้ำโรงเรียนเดิม แต่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่แห่งใหม่ ราชการจึงยกโรงเรียนใหม่ ให้แก่โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู

1 มิถุนายน 2499 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูได้แยกจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีไปตั้ง ณ ที่แห่งใหม่ ถนนวังจันทน์และ เมื่อ 23 มิถุนายน 2499 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม เปิดรับนักศึกษาแบบสหศึกษา นักเรียนหญิง อยู่ประจำนักเรียนชายเดินเรียน นับแต่นั้นมาโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ได้ขยายเนื้อที่ดิน ของโรงเรียนการช่างชายซึ่งอยู่ติดกันทำให้มีเนื้อที่เท่าขนาดเนื้อที่ปัจจุบัน คือ 40 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา และยังได้เนื้อที่ ไปฝั่งตรงข้ามในที่ดินของกองทัพอากาศ จำนวน 120 ไร่ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวรขอใช้) ในปี พ.ศ. 2504 ได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูพิบูลสงครามเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อเนื่องประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา(ป.กศ.) ต่อมาได้ผลิตครูยามฉุกเฉินหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เปิดสอนในภาคนอกเวลา เรียนระหว่าง 17.00 น. – 20.00 น. ในวันราชการและเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิชาชีพครูภาษาไทย ใน พ.ศ. 2517

พ.ศ.2518 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู โดยมีสภาการฝึกหัดครู ทำหน้าที่กำหนดนโยบายควบคุมการบริหารงานในวิทยาลัยครูทั่วประเทศแล้วเปลี่ยนชื่อตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษา เป็นอธิการวิทยาลัยครู การบริหารงานของวิทยาลัยฯ จัดเป็นคณะวิชาและสำนักหรือศูนย์ที่เทียบเท่าคณะวิชา

พ.ศ.2519 สภาการฝึกหัดครูประกาศให้หลักสูตรการฝึกหัดครูฉบับใหม่ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา(ป.กศ.)จัดการศึกษา 2 ระดับคือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และระดับปริญญาตรีผู้สำเร็จระดับปริญญาตรี ได้ครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.) งดรับนักศึกษานอกเวลาและเปลี่ยนเป็นเปิดการสอนภาคต่อเนื่องในระดับประกาศนียบัตร วิชาการศึกษาชั้นสูงในเวลาเรียนระหว่าง 17.00 น.- 20.00 น. ในวันราชการ

พ.ศ.2522 เริ่มโคงการอบรมครูและบุคลการการศึกษาประจำการ (อคป.) โดยเปิดอบรมบุคลากรการศึกษาประจำการในวันเสาร์ – อาทิตย์ ทั้งระดับ ป.กศ. ป.กศ.ชั้นสูง และปริญญาตรีและการยกเลิกการฝึกหัดครูภาคต่อเนื่อง

พ.ศ.2524 วิทยาลัยครูได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ทุ่งทะเลแก้ว จำนวน 1,000 ไร่ เพื่อเตรียมขยายวิยาลัยออกไป โดยมีโครงการใช้ที่ดินระยะแรก 40ไร่

พ.ศ.2527 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนปริญญาตรีสาขาวิชาการอื่นได้ และวิทยาลัยได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในบริเวณทุ่งทะเลแก้ว โดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคอาชีพ (อ.วท.)ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคอาชีพ(ป.ทอ.)

พ.ศ. 2530 เลิกโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) เปลี่ยนมาเป็นโครงการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำ(กศ.บป.) แทน ทั้งระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี เรียนในวันเสาร์ – อาทิตย์

14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “พระราชทานนาม” สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

15 มิถุนายน 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน พุทธศักราช 2547 แล้วนั้น ยังผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2547

ปรัชญา สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ตรา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ตรามหาวิทยาลัยเป็นรูปวงรี
วงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2535 ภายในวงรีเป็นชื่อสถาบันราชภัฏแต่ละแห่ง ด้านบนเป็นอักษรภาษาไทย ด้านล่างเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวเขียนที่เป็นลักษณะเฉพาะ สีในตราสถาบันมีความหมายและคุณค่าดังนี้
1. สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม”สถาบันราชภัฏ”
2. สีเขียว แทนค่า แห่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่ง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
4. สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมไทยท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
5. สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม : Pibulsongkram Rajabhat University
ชื่อย่อ : มรภ.พส./PSRU
คติพจน์ : มหาวิทยาลัยอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
สถาปนา : 24 มกราคม พ.ศ. 2538
ประเภท : รัฐบาล
ที่ตั้ง : ส่วนวังจันทน์ ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนทะเลแก้ว ถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านเหนือ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
เว็บไซต์ : www.psru.ac.th
Facebook : https://www.facebook.com/PibulsongkramRajabhatUniversity/

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://www.psru.ac.th/about_history.php

See Less

ดาวเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้