สวัสดีค่ะ น้องๆ หลังจากที่เราได้รู้ทั้งเทคนิคและได้ลองทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง กันไปแล้ว วันนี้ครูพี่โบว์ก็มีเพื่อนใหม่อีกคนมาแนะนำให้น้องๆ ได้ทำความรู้จักกันค่ะ และเค้าคนนั้นก็คือ “ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ” นั่นเองค่ะ
ทำไมต้อง “9 วิชาสามัญ”? แล้ว “9 วิชาสามัญ” มีวิชาอะไรบ้าง? เรามาทำความรู้จักกับเค้าใน “ครบเครื่องความรู้ 9 วิชาสามัญ ภาษาไทย” กันดีกว่าค่ะ
ครบเครื่องความรู้ 9 วิชาสามัญ ภาษาไทย
ข้อสอบวิชาสามัญ เดิมสอบเพียง 7 วิชา จึงเรียกว่า ‘‘7 วิชาสามัญ’’ แต่ในปัจจุบันสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ที่เรารู้จักกันดี ได้ปรับเปลี่ยนในปีการศึกษา 2559 เนื่องจาก 7 วิชาสามัญ ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาการทดสอบของนักเรียนสายศิลป์ สทศ.จึงได้เพิ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั่วไปสำหรับนักเรียนสายศิลป์ จนกลายเป็น ‘‘9 วิชาสามัญ’’ ในปัจจุบันค่ะ
9 วิชาสามัญ ประกอบด้วย วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์1 วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาคณิตศาสตร์2 และวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งน้องๆ สามารถนำคะแนนในส่วนนี้ไปยื่นคัดเลือกในระบบ TCAS ในรอบที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดค่ะ เห็นมั้ยคะว่าสำคัญมากๆ
ข้อสอบวิชาสามัญมีรูปแบบเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คําตอบ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน และมีเวลาในการสอบวิชาละ 90 นาที ซึ่งแต่ละวิชาจะมีจำนวนข้อที่แตกต่างกัน ดังนี้
ขอบข่ายเนื้อหาวิชาในรูปแบบของข้อสอบ 9 วิชาสามัญ ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา แต่เป็นการประมวลความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด ในที่นี้ครูพี่โบว์ได้สรุปขอบข่ายเนื้อหาของข้อสอบวิชาภาษาไทยมาฝากน้องๆ กันค่ะ
เนื้อหาของข้อสอบแบ่งออกเป็น ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการพูด ทักษะการฟัง และหลักการใช้ภาษา
ทักษะการอ่าน
ทักษะการเขียน
ทักษะการพูด
ทักษะการใช้ภาษา
ถ้าจะถามถึงความยากของข้อสอบวิชาภาษาไทย ครูพี่โบว์คิดว่าข้อสอบ 9 วิชาสามัญ และข้อสอบ O-NET มีความคล้ายคลึงกัน แต่ข้อสอบ 9 วิชาสามัญอาจมีความซับซ้อนหรือความยาวของโจทย์ที่มากกว่า และมีสัดส่วนของการอ่านจับใจความหรือทักษะพื้นฐานทางการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน มากกว่าหลักการใช้ภาษาไทยค่ะ
เรามาลองดูตัวอย่างข้อสอบกันนะคะ
ตัวอย่างกระดาษคำตอบ
ตัวอย่างกระดาษคำตอบ
น้องๆ ได้รู้ขอบข่ายเนื้อหา จำนวนข้อสอบ เวลาในการสอบ ตัวอย่างข้อสอบ รวมทั้งตัวอย่างกระดาษคำตอบก็คงจะพอเห็นภาพคร่าวๆ ของการสอบ 9 วิชาสามัญกันไปแล้ว ที่เหลือคือการจัดสรรเวลาในการทบทวนบทเรียนตามขอบข่ายดังกล่าวเพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุด สู่การปูทางเข้าคณะในฝันได้สำเร็จค่ะ
ครูพี่โบว์เอาใจช่วยนะคะ สู้ๆ
บทความที่น่าสนใจ
- กำหนดการสอบ GAT/PAT | รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และเนื้อหาที่ออกสอบ #dek62
- รูปแบบข้อสอบ 9 วิชาสามัญ จำนวนข้อสอบ และเนื้อหาที่ออกสอบ #dek62
- 5 วิธีเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนลงสนามสอบ TCAS
- สรุปมาให้แล้ว การสมัครสอบ TCAS62 ทั้ง 5 รอบ | กำหนดการ รูปแบบการสมัคร คะแนนที่ใช้
- ชื่อเรียกวิชาเรียนต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ