อยากเรียน แพทย์ทหาร ต้องทำอย่างไร – เรียนต่างจากแพทย์ (ทั่วไป) อย่างไรบ้าง?

เชื่อว่าน้อง ๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็น “คุณหมอ” ต้องรู้กันดีอยู่แล้ว่าการเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ ต้องใช้เวลาในการเรียนถึง 6 ปี แต่สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็น “แพทย์ทหาร” แต่ไม่รู้ว่าใช้คะแนนอะไรในการสอบเข้า และเมื่อเข้าไปเรียนแล้วจะต้องเรียนอะไรบ้าง ใช้เวลาในการเรียนกี่ปี และวิชาที่เรียนมีความแตกต่างจากการเรียนแพทย์ธรรมดาอย่างไร ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบเหล่านี้มาบอกกันด้วยค่ะ

แพทย์ทหาร เปิดรับสมัครรอบไหนบ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนด้านแพทย์ทหารสามารถสอบเข้าศึกษาต่อได้ที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านแพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันด้านการแพทย์ลำดับที่ 7 ของไทย จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย

ภาพจาก FB : Born to Be Medical Cadet Camp ค่ายตะกายฝัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (ภาพโดย : บินไปบินมา) 

ช่องทางการรับบุคคลเข้าศึกษา

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า จะเปิดรับสมัครผ่านระบบ TCAS รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบที่ 4 แอดมิชชัน รายละเอียดการรับสมัคร TCAS63 : คลิกที่นี่ โดยได้มีการแยกการรับสมัครระหว่างเพศชายและเพศหญิง มีรายละเอียดดังนี้

รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน #TCAS63

** รวมจำนวนรับรอบนี้ทั้งหมด 95 นาย

รอบที่ 4 แอดมิชชัน #TCAS63

** ทั้งนี้ จำนวการรับสมัคร และรอบที่เปิดรับสมัครผ่านระบบ TCAS ในแต่ละปีการศึกษาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ดังนั้นน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ : www.pcm.ac.th

เกณฑ์การรับสมัคร

ภาควิชาที่เปิดสอน

ในปัจจุบันวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ได้มีการเปิดสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แบ่งออกเป็น 21 ภาควิชา มีรายละเอียดดังนี้

1. ชั้นปรีคลินิก แบ่งออกเป็น ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, ภาควิชาชีวเคมี, ภาควิชาสรีรวิทยา, ภาควิชาเภสัชวิทยา, ภาควิชาจุลชีววิทยา, ภาควิชาพยาธิวิทยา, ภาควิชาปรสิตวิทยา และภาควิชาเวชศาสตร์ทหารและชุมชน

2. ชั้นคลินิก แบ่งออกเป็น ภาควิชาอายุรศาสตร์, ภาควิชาศัลยศาสตร์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์, ภาควิชาจิตเวชและประสาทวิทยา, ภาควิชาวิสัญญีวิทยา, ภาควิชารังสีวิทยา, ภาควิชาจักษุวิทยา, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

ภาพจาก FB : Born to Be Medical Cadet Camp ค่ายตะกายฝัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

นพท. ใน 6 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง?

เมื่อน้อง ๆ ได้เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า แล้วนั้น การเรียนการสอนที่น้อง ๆ จะเจอก็คือ การเรียนวิชาการด้านแพทย์ เหมือนกับการเรียนแพทย์ทั่วไปในคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่การเรียนแพทย์ทหารไม่ได้มีเพียงเท่านี้ เพราะน้อง ๆ ยังจะได้เรียนเกี่ยวกับการฝึกวิชาทหารและเวชศาสตร์ทหาร อีกด้วย

ชั้นปีที่ 1 ชั้นเตรียมแพทย์

โดยนิสิตเตรียมแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า จะได้เข้าเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาพื้นฐานทั่วไป อาทิ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี และคณิตศาสตร์ ฯลฯ

ชั้นปีที่ 2 ชั้นปรีคลินิก

จะมีการจัดการเรียนการสอนที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดยในชั้นปีที่ 2 นอกจากน้อง ๆ จะต้องเรียนวิชาด้านการแพทย์แล้ว ยังมีการปรับเปลี่ยนความเป็นทหารมากยิ่งขึ้น (ปรับสภาพจากพลเรือนเป็นทหาร) ด้วยการฝึกวินัยขั้นพื้นฐานทางการทหาร

ชั้นปีที่ 3 ชั้นปรีคลินิก

ยังคงทำการเรียนการสอนที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โดยในปีนี้น้อง ๆ จะเริ่มเป็นทหารเต็มตัวแล้ว ออกไปฝึกทหารเสนารักษ์ การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในสนามรบ ฝึกการซุ่มโจมตีและเล็ดลอดหลบหนี รวมถึงวิธีการดูแลผู้ป่วย และการส่งกลับผู้บาดเจ็บในสนามรบ ทั้งการใช้เปลสนาม รถพยาบาล และการส่งกลับทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ สิ่งที่น้อง ๆ จะต้องฝึกและเรียนรู้ เช่น การเรียนกระโดดร่ม หรือการขึ้นเครื่องเฮลิคอปเตอร์ที่มีสองใบพัด เป็นต้น

ชั้นปีที่ 4 ชั้นคลินิก

สำหรับสถานที่การเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4 น้อง ๆ จะได้ย้ายมาเรียนที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยในระดับคลินิกจะเป็นการนำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดมาประยุกต์ใช้จริง ซึ่งน้อง ๆ จะได้ขึ้นวอร์ด และได้ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง ๆ อาทิ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ สูติศาสตร์  และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นต้น

ชั้นปีที่ 5 ชั้นคลินิก

น้อง ๆ ยังคงฝึกปฏิบัติงานจริงอยู่ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยจะได้เริ่มทำงานจริงกับผู้ป่วย ทั้งการวินิจฉัยโรค เข้าห้องผ่าตัด อยู่เวรทั้งคืน ซึ่งในปีนี้น้อง ๆ ไม่ต้องฝึกหนักเหมือนในช่วงปีแรก ๆ ที่ผ่านมาแล้ว เพราะจะต้องเตรียมตัวสอบก่อนที่จะจบเป็นแพทย์

ชั้นปีที่ 6 ชั้นคลินิก

มาถึงในชั้นปีที่ 6 ก็ยังคงฝึกปฏิบัติงานจริงอยู่ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยจะมีการหมุนเวียนการฝึกปฏิบัติงานในภาควิชาคลินิกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่ โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทหารในค่าย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียนจบเป็นแพทย์เต็มตัวนั่นเอง

ภาพจาก FB : Born to Be Medical Cadet Camp ค่ายตะกายฝัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

สิ่งที่จะได้รับ ขณะกำลังศึกษาและเรียนจบ

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ : www.pcm.ac.th หรือ น้อง ๆ คนไหนอยากลองเข้าค่ายก่อนสมัครเรียนต่อ ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ FB : Born to Be Medical Cadet Camp ค่ายตะกายฝัน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.tcaster.net, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.pcm.ac.th

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง