คณะน่าเรียน คณะสหเวชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ จบแล้วทำงานอะไร แนะแนวการศึกษา

อยากเป็น นักเทคนิคการแพทย์ หรือ หมอแล็บ ต้องเรียนกี่ปี – สอบเข้าเรียนต่ออย่างไร?

Home / ข่าวการศึกษา / อยากเป็น นักเทคนิคการแพทย์ หรือ หมอแล็บ ต้องเรียนกี่ปี – สอบเข้าเรียนต่ออย่างไร?

เชื่อว่าน้อง ๆ ม.ปลายหลายคนคงได้เคยยินชื่อ คณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณะสหเวชศาสตร์ กันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน แต่ก็ยังคงมีน้อง ๆ หลายคนที่ไม่รู้ว่าคณะเรียนเกี่ยวกับอะไร เรียนเหมือนกับแพทย์หรือเภสัชศาสตร์หรือเปล่า จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนบ้าง และถ้าจะสมัครเข้าศึกษาต่อจะต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะเทคนิคการแพทย์มาให้น้อง ๆ ได้ศึกษาทำความเข้าใจกันก่อนสมัครเรียนแล้วจ๊ะ ถ้าพร้อมไปลุยกันเลย

คณะเทคนิคการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

เทคนิคการแพทย์ (Medical technologist) หรือที่ทุกคนมักจะเรียกกันว่า หมอแล็บ เป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานที่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลังการรักษาของคุณหมอ โดยมีหน้าที่ในการตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและการติดตามการรักษา เช่น การตรวตสารชีวเคมีในเลือด ปัสสาวะ น้ำคัดหลั่ง เซลล์เม็ดเลือด การตรวจวิเคราะห์พยาธิ การตรวจแยกชนิดและการทดสอบยาปฎิชีวนะ การตรวจภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย การเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการวิเคราะห์สารเสพติดและสารพิษในร่างกาย ในอาหาร และในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ยาบ้า เฮโรอีน สารตะกั่ว และสารปรอท เป็นต้น คณะเทคนิคการแพทย์เรียน 4 ปีด้วยกัน โดยในแต่ละปีการศึกษาน้อง ๆ จะเจอวิชาเรียน ดังต่อไปนี้

Medical technologist

ปี 1 – 4 เรียนอะไรบ้าง?

ชั้นปีที่ 1 น้อง ๆ จะเรียนปรับพื้นฐานด้านวิทย์-คณิตในวิชาต่าง ๆ อาทิ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ (เน้นเรื่องสถิติและแคลคูลัส) ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วนชั้นปีที่ 2 จะเริ่มมีการปูพื้นฐานให้น้อง ๆ มีความเข้าใจถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มากยิ่งขึ้น ทั้งระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย โครงสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาท เคมี และชีวโมเลกุลที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

มาถึงชั้นปีที่ 3 จะเรียนวิชาเฉพาะด้านเทคนิคการแพทย์ โดยจะเรียนเกี่ยวกับการตรวจสอบสารคัดหลั่งของมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัย การติดตามโรค การพยากรณ์โรค การป้องกันโรค ตัวอย่างวิชาที่เรียน เช่น โลหิตวิทยาคลีนิก ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการตรวจแยกเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว ฯลฯ

และในชั้นปีที่ 4 จะเป็นการทำวิทยานิพนธ์และฝึกปฏิบัติงาน โดยในเทอมที่ 1 จะเรียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีด้านเทคนิคการแพทย์ กฎหมายวิชาชีพ และนอกจากนี้ยังจะต้องทำวิทยานิพนธ์ด้วย ส่วนในเทอมที่ 2 จะเป็นการฝึกปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข สภากาชาด ฯลฯ

คุณสมบัติของผู้สมัครเรียน

  • สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนการเรียนวิทย์-คณิต
  • มีสุขภาพดี ไม่มีอาการของตาบอดสี

** ในบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีการกำหนดผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ขั้นต่ำด้วย ดังนั้นน้อง ๆ ควรจะต้องดูรายละเอียดในข้อดีกันให้ดีด้วยนะจ๊ะ

นักเทคนิคการแพทย์

คะแนนที่ใช้ในการสมัคร (รอบแอดมิชชัน)

  • GPAX : 20%
  • O-NET : 30%
  • GAT : 20%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) : 30%

** ทั้งนี้สัดส่วนคะแนนที่ใช้ในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดด้วยนะจ๊ะ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร ฯลฯ

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

  • นักเทคนิคการแพทย์
  • นักวิจัย
  • นักรังสีเทคนิค
  • นักทัศนมาตรศาสตร์
  • เซลล์ขายอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ครู/อาจารย์ ฯลฯ

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.u-review.in.th, www.tcaster.net

บทความที่น่าสนใจ