เรื่องน่ารู้ การสอบของเด็กไทย เกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนต่อ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ

น้องๆ เคยนับกันบ้างหรือเปล่าว่าตั้งแต่เราเรียนมานั้น เราได้สอบอะไรกันบ้าง… ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย โดยการสอบที่น้องๆ มักจะได้ยินกันบ่อยในช่วงที่กำลังจะสอบเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ O-NET, GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งเป็นการสอบที่น้องๆ ทุกคนจะต้องเคยผ่านกันมาแล้วอย่างแน่นอน แต่นอกจากการสอบทั้ง 3 ตัวนี้ ยังมีการสอบแบบอื่นๆ ที่น้องๆ จะต้องเจอกันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสอบวัดความรู้ทางด้านภาษา เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือจะเป็นการสอบความถนัดทางด้านการแพทย์ ฯลฯ

การสอบของเด็กไทย เกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนต่อ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ได้รวบรวมการสอบที่เด็กไทย (เกือบทุกคน) จะต้องเคยผ่านกันมาแล้วให้มาดูกันด้วย สำหรับน้องๆ คนไหนที่กำลังรู้สึกสับสนไม่รู้ว่าเราจะต้องอะไรบ้างในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องมาดูกันเลย… จะได้เตรียมตัวกันได้ถูกนะจ๊ะ

1. O-NET

O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. ซึ่งเป็นการจัดสอบสำหรับนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 (ที่จะต้องใช้คะแนน O-NET เป็นส่วนหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย) เพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียน ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 51 มาตรฐานการเรียนรู้ โดยครอบคลุม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

  1. วิชาภาษาไทย
  2. คณิตศาสตร์
  3. วิทยาศาสตร์
  4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  5. ภาษาอังกฤษ

. . . . .

2. GAT

GAT (General Aptitude Test) เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป เพื่อเป็นการวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นคะแนนที่น้องๆ ม.6 จะต้องยื่นสมัคร TCAS ตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป โดยได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  1. ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
  2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Speaking and Conversation, Vocabulary, Structure and Writing และ Reading Comprehension

. . . . .

3. PAT

PAT (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ คือ การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการทดสอบสำหรับน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะยื่นสมัคร TCAS ตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป โดยที่น้องๆ ไม่จำเป็นจะต้องสอบให้ครบทุกวิชา แต่เลือกสอบเฉพาะวิชาที่ใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในคณะ/สาขาวิชาที่เราต้องการเข้าเรียนต่อก็พอ ทั้งนี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 วิชา ได้แก่

. . . . .

แจกแต้ม #PAT2 บอกเลยข้อนี้ออกทุกปี!!

4. 9 วิชาสามัญ

9 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบกลางที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ. เพื่อใช้ในการรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับนักเรียนในสายวิทย์และสายศิลป์ (แต่น้องๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องสมัครสอบให้ครบทั้ง 9 วิชา ให้เลือกสอบเพียงวิชาที่ใช้ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยตามคณะ/สาขาวิชาที่ได้กำหนดเอาไว้) วิชาที่ใช้สอบมีดังต่อไปนี้

  1. วิชาภาษาไทย
  2. วิชาสังคมศึกษา
  3. วิชาภาษาอังกฤษ
  4. วิชาคณิตศาสตร์ 1
  5. วิชาฟิสิกส์
  6. วิชาเคมี
  7. วิชาชีววิทยา
  8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์)
  9. วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์)

. . . . .

5. วิชาความถนัดแพทย์

วิชาเฉพาะ หรือวิชาความถนัดแพทย์ เป็นวิชาที่สมัครสอบพร้อมกับการสอบ กสพท สำหรับน้องๆ ที่ต้องการยื่นสมัคร กสพท ในรอบที่ 3 ของระบบ TCAS จะต้องสมัครวิชาความถนัดแพทย์ โดยการสอบวิชาความถนัดแพทย์มีสัดส่วนคะแนนอยู่ที่ 30% และแบ่งออกเป็น 3 ด้านในการสอบ ได้แก่

  1. ด้านเชาว์ปัญญา เช่น คณิตศาสตร์ อนุกรมเลข อนุกรมภาพ การอ่านจับใจความ เป็นต้น
  2. ด้านจริยธรรมทางการแพทย์ (ซึ่งไม่มีสอนในห้องเรียน)
  3. ด้านทักษะการเชื่อมโยง คล้ายๆ กับการสอบ GAT แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มีความแตกต่างอยู่ด้วย

. . . . .

EP.3 ออกชัวร์100% กับ 8 เนื้อหาที่ต้องรู้! พิชิต 9 วิชาและ PAT2

6. BMAT

BMAT เรียกเต็มๆ ว่า Biomedical admission test เป็นข้อสอบเฉพาะทางสำหรับน้องๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดสอบโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร แต่สาเหตุที่ถูกพูดถึงอยู่ในประเทศไทยบ่อยๆ นั้นก็เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาหลักสูตรทางด้านการแพทย์ของประเทศไทย ได้มีการทำข้อตกลงว่าจะใช้ข้อสอบ BMAT ในการรับนักศึกษาแพทย์ใหม่ นั่นเอง เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CICM) ซึ่งเป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ อินเตอร์ ที่ได้มีการประกาศว่านักศึกษาใหม่จะต้องผ่านการสอบ BMAT, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้เปิดรับผลคะแนนสอบ BMAT เหมือนกัน เป็นตัน

นอกจากนี้น้องๆ ยังต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรอบการเปิดรับสมัครของระบบ TCAS ด้วยว่ามีการใช้คะแนน BMAT หรือไม่ และการสอบ BMAT ใช้เวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง โดยได้มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. ความถนัดและทักษะ 60 นาที (ข้อสอบปรนัย)
  2. ความรู้และการประยุกต์ใช้ด้านวิทยาศาสตร์ 30 นาที (ข้อสอบปรนัย)
  3. งานเขียน 30 นาที (ข้อสอบบรรยาย)

. . . . .

7. SAT

SAT หรือมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Scholastic Assessment Tests เป็นข้อสอบมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงบางหลักสูตรในประเทศไทยใช้ประกอบการสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรี เพียงแต่ไม่ได้วัดที่ความรู้วิชาต่างๆ แต่เป็นการวัดทักษะ (Skills) การใช้เหตุผล เหมือนข้อสอบความถนัดทั่วไป (GAT) สำหรับการสอบ SAT จะสอบในตอนที่น้องๆ สมัคร TCAS รอบที่ 1 (ในบางโครงการ) และหลักสูตรนานาชาติในรอบอื่นๆ SAT ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. Critical Reading
  2. Mathematics
  3. Writing

. . . . .

เรียน Pronoun ใน 7 นาที ง่ายขนาดนี้เลยหรอ??

8. SAT II

SAT II มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า SAT Subject Test เป็นการสอบวิชาเฉพาะทางที่จำเป็นในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย (อินเตอร์) ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยได้มีการแบ่งการสอบออกเป็น 3 วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ และวิชาชีววิทยา

. . . . .

9. ACT

ACT หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า American College Testing เป็นการสอบวัดระดับทักษะในการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการเรียนระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย แต่โดยทั่วไปแล้ว ผลคะแนนสอบ ACT ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเหมือนกับผลคะแนนสอบ SAT ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเกือบทุกหลักสูตร โดยที่ข้อสอบ ACT มีคะแนนเต็มทั้งหมด 36 คะแนน จากการทดสอบทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่

  1. English
  2. Mathematics
  3. Reading
  4. Science Reasoning
  5. Writing

. . . . .

10. TOEFL

TOEFL หรือ Test of English as a Foreign Language เป็นการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของภาษาอังกฤษอเมริกัน ซึ่งมีการออกแบบสำหรับใช้ในการประเมินความสามารถทางภาษาของผู้สมัคร เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในเรื่องของการศึกษาต่อหรือทำงานในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยผลคะแนน TOEFL จะใช้ได้เป็นระยะเวลา 2 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นถ้าต้องการคะแนนอีกก็ต้องทำการสมัครสอบใหม่

ด้วยปัจจุบันในหลายๆ คณะมีการกำเหณฑ์ว่าน้องๆ จะต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษด้วย เพื่อยื่นรับตรงโดยเฉพาะในระบบ TCAS รอบที่ 1 (บางคณะ/สาขาวิชาจะให้น้องๆ เลือกสอบระหว่าง TOEFL หรือ IELTS) และน้องๆ คนไหนที่ต้องการเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักก็ต้องใช้คะแนนสอบ TOEFL iBT ด้วยเช่นกัน โดยที่การสอบ TOEFL ได้ถูกแบ่งการสอบออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

  1. การพูด (Speaking)
  2. การฟัง (Listening)
  3. การอ่าน (Reading)
  4. การเขียน (Writing)

โดยทั่วไปแล้วเราจะมีเวลาในการทำข้อสอบประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งทั้งนี้เราสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะทำการสอบแบบ Internet-based Test (iBT) หรือ Paper-based Test (PBT) ขึ้อยู่กับสนามหรือศูนย์ที่จัดสอบว่าสามารถเลือกได้หรือไม่

. . . . .

R กับ L ต่างกันอย่างไร Royal กับ Loyal ภาษาอังกฤษออกเสียงอย่างไร

11. IELTS

IELTS หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า International English Language Testing System เป็นการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยที่เราจะต้องสอบการฟัง การอ่าน และการเขียนในวันเดียวกันทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาตให้หลุดพักระหว่างการสอบ ส่วนการสอบพูดอาจจะสอบภายในวันเดียวกันกับการสอบทั้งสามตัวแรก หรือภายใน 7 วันก่อนและหลังจากนั้น (ขึ้นกับทางศูนย์สอบจะทำการกำหนด) โดยการสอบทั้งหมดจะเวลาไม่ 3 ชั่วโมง

ซึ่งในปัจจุบันมีหลายคณะ/สาขาวิชาที่มีข้อกำหนดออกมาว่า คนที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะนี้จะต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เพื่อยื่นรับตรงโดยเฉพาะในระบบ TCAS รอบที่ 1 (โดยที่สามารถเลือกสอบได้ว่าจะสอบ TOEFL หรือ IELTS)

. . . . .

12. HSK

HSK หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Hanyu Shuiping Kaoshi หมายถึง การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาจีน สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่ การสอบนี้จัดขึ้นโดย The Office of Chinese Language Council International : HANBAN ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ที่มีผลคะแนนสอบสูงสุดในแต่ละระดับของศูนย์สอบจะได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลจีน ในการเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศจีนเป็นประจำทุกปี การสอบ HSK แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

  1. ระดับพื้นฐาน (HSK: Basic) สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนมาแล้วราว 100 – 800 ชั่วโมง มีความรู้ในคำศัพท์พื้นฐาน 400 – 3,000 คำ และเข้าใจถึงหลักไวยากรณ์โครงสร้างประโยคขั้นพื้นฐาน
  2. ระดับต้นและกลาง (HSK: Elementary and intermediate) คือ ระดับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนราว 400 – 2,000 ชั่วโมง มีความรู้ในคำศัพท์พื้นฐาน 2,000 – 5,000 คำ
  3. ระดับสูง (HSK: Advanced) คือ ระดับผู้ที่ผ่านหลักสูตรการเรียนภาษาจีนมาแล้ว ตั้งแต่ 3,000 คาบขึ้นไป มีความรู้ในศัพท์กว่า 5,000 คำ เข้าใจไวยากรณ์โครงสร้างทางภาษาในรูปประโยคที่ซับซ้อน

. . . . .

13. JLPT

JLPT มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Japanese Language Proficiency Test เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในแต่ละด้านและความสามารถในการสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์จริง ทั้งการพูด การฟัง การอ่านและเขียน มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นการสอบภายในประเทศญี่ปุ่นจัดโดยสมาคมสนับสนุนการศึกษานานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (JEES) โดยจัดสอบในหลายจังหวัดที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น มูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบ แบ่งผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ และจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมและเดือนธันวาคม สำหรับน้องๆ คนไหนที่ต้องการขอรับทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น จะต้องทำการสอบวัดรับความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นเสียก่อน

. . . . .

ภาษาญี่ปุ่นที่มีเสียงคล้ายภาษาไทย ! (คนญี่ปุ่นพูดไทย)

14. TOPIK

TOPIK ย่อมาจากคำว่า Test Of Proficiency In Korean เป็นการทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีของชาวต่างชาติ โดยเป็นการสอบเพื่อวัดพื้นฐานหรือความสามารถทางภาษาเกาหลีของผู้ที่ไม่ใช้ภาษาเกาหลีเป็นพื้นฐาน ชาวเกาหลีที่อยู่ต่างแดน ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศเกาหลี ผู้เรียนภาษาเกาหลี นักเรียนต่างชาติที่สนใจเรียนที่เกาหลี บุคคลที่สนใจทำงานในประเทศ หรือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลี สำหรับการสอบ TOPIK ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีทั่วไป (The Standard TOPIK)

เป็นการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลีทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน ที่จำเป็นต่อความเข้าใจถึงวัฒนธรรมเกาหลีและการศึกษาต่อ เป็นต้น หรือที่ในหมู่นักเรียนที่เรียนภาษาเกาหลีเรียกกันว่าการสอบ “กึบ” หรือ ระดับนั่นเอง ผู้เข้าสอบสามารถเลือกเข้าสอบตามระดับชั้นที่เหมาะสมกับความสามารถของตน โดยจะมีการเปิดให้สมัครสอบ 3 ช่วงชั้นด้วยกัน คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง

2. การทดสอบความสามารถทางภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ (The Business TOPIK)

เป็นการสอบเพื่อวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาเกาหลี เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและที่จำเป็นต่อการทำงานในสถานประกอบการเกาหลี ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะทำงานในประเทศเกาหลี การสอบ TOPIK ประเภทนี้ไม่มีการให้เกรดว่ามีความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับใด หรือการประเมินผลว่าสอบตก-สอบผ่านใดๆ ทั้งสิ้น มีเพียงแต่การตรวจให้คะแนน และให้ผู้สอบนำผลคะแนนไปใช้ในการสมัครงานเท่านั้น โดยคะแนนเต็มของการสอบ TOPIK ประเภทนี้ คือ 400 คะแนน

. . . . .

อ้างอิงข้อมูลจาก : www.niets.or.thwww.aims.co.thwww.adviceforyou.co.thwww.idp.comwww.devserv.phuket.psu.ac.th,
www.edupac-lemonde.com, www.admissionpremium.comhttp://education.thaiembassy.jp

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง