เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ตอนที่ 3 – สัญลักษณ์แบบที่ 3

สวัสดีค่ะน้อง ๆ วันนี้ครูพี่โบว์มีเกร็ดความรู้ร้อน ๆ ลับ ๆ มาแนะนำก่อนเข้าห้องสอบอีกเช่นเคยค่ะ บทความที่แล้วครูได้แนะนำเทคนิคการจำและการทำ GAT เชื่อมโยง “สัญลักษณ์แบบที่ 2” วันนี้เรามาต่อด้วย “สัญลักษณ์แบบที่ 3” กันเลยดีกว่าค่ะ

เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง

ตอนที่ 3

“สัญลักษณ์แบบที่ 3” มีเงื่อนไขที่กำหนด คือ ถ้าข้อความที่กำหนดให้มีผลทำให้ข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ) ถูกลด / ยับยั้ง / ป้องกัน / ห้าม / ขัดขวาง ให้เติมตัวเลขประจำของข้อความที่สัมพันธ์และตามด้วย F ครูพี่โบว์แนะนำให้จำง่าย ๆ ว่า F คือ FAULT คือ ผิด, ไม่ดี, ไม่เกิดขึ้น นะคะ

เทคนิค…

เทคนิคสำหรับสัญลักษณ์แบบที่ 3 นี้ คือ “เหตุการณ์หรือข้อความที่เกิดก่อน” จะ “ยับยั้ง, ลด, ขัดขวาง, ป้องกัน, บรรเทา, ห้าม” ไม่ให้เกิด “เหตุการณ์หรือข้อความที่เกิดหลังหรือเกิดตามมา” ตามแผนภาพนี้นะคะ

น้อง ๆ จะสังเกตได้ว่า สัญลักษณ์แบบที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์แบบที่ 1 แต่ต่างกันตรงมีเครื่องหมายกากบาทที่กำกับในสัญลักษณ์แบบที่ 3 นอกจากรูปแบบต่างกัน ความหมายก็ต่างกันด้วยนะคะ อย่าเผลอใส่ผิดเชียวนะจ๊ะ

เพื่อความชัวร์ ความเป๊ะ สู่ 150 คะแนน วันนี้ครูพี่โบว์มีตัวอย่างความแตกต่างของทั้งสองสัญลักษณ์มาให้น้อง ๆ ลองสังเกตในแผนภาพด้านล่างค่ะ

สัญลักษณ์ทั้ง 3 รูปแบบมีลักษณะ วิธีการจำ และเทคนิคความเข้าใจต่างกันนะคะ หลังจากเรียนรู้สัญลักษณ์แล้ว น้อง ๆ จะต้องฝึกทำข้อสอบที่เป็นประโยค ข้อความตั้งแต่ขนาดสั้น ขนาดกลาง หรือทำข้อสอบที่เป็นข้อสอบจริงปีก่อน ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

ครูพี่โบว์มั่นใจเลยนะคะว่าถ้าหากน้อง ๆ เข้าใจตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ต้องกังวลค่ะ

ใกล้วันสอบ GAT/PAT เข้ามาทุกที ครูพี่โบว์อยากให้น้อง ๆ เปิดใจว่า GAT เชื่อมโยงเป็นวิชาช่วยคะแนน ไม่ใช่วิชาฉุดคะแนนน้า …บทความหน้าจะเป็นเทคนิคเรื่องอะไร อย่าลืมติดตามเกร็ดความรู้ที่ใช้ได้จริงในห้องสอบ จากครูพี่โบว์ด้วยนะคะ

รักษาสุขภาพกันด้วยน้า ด้วยรักและห่วงใย
จาก … ครูพี่โบว์

จำง่ายๆ GAT สัญลักษณ์แบบที่ 3 Part 3

SEEME.ME : KruBow

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง