ลักษณะข้อสอบวิชาภาษาไทย ตัวอย่างและเวลาในการทำข้อสอบ – ONET

สวัสดีจ้า วันนี้มาพบกับครูพี่โบว์อีกเช่นเคย ก่อนสอบแบบร้อน ๆ อย่างนี้ ยิ่งต้องรีบนำเกร็ดความรู้ หรือข่าวสารมาอัพเดตกันบ่อยหน่อย .. ช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนคงกำลังจดจ่ออยู่กับการอ่านหนังสือเตรียมสอบทุกสิ่งอย่างชนิดที่เรียกว่า “ไฟลนก้น” กันถ้วนหน้า ไหนจะสอบปลายภาค สอบ GAT PAT O-NET กสพท. จนถึงสนามสอบ 9 วิชาสามัญ เรียกว่าแทบไม่ได้หายใจหายคอกันเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา … วันนี้ครูพี่โบว์มีเรื่องสำคัญมาบอก มาใกล้ ๆ นะ ก็มันเป็นเรื่องสำคัญน่ะ …

ลักษณะข้อสอบวิชาภาษาไทย

วันนี้ครูพี่โบว์มีอาวุธลับที่สามารถนำไปพิชิตคะแนนสอบ O-NET ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้มาฝากค่ะ น้อง ๆ คงเคยได้ยินปรัชญาของซุนวูที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” กันใช่มั้ยคะ ครูพี่โบว์คิดว่าก็คงเหมือนกับการเข้าสู่สนามประลอง TCAS ของเรา

ก่อนเข้าห้องสอบเราก็ควรที่จะรู้ ลักษณะข้อสอบ กันก่อน ว่าเราจะต้องเจออะไร ต้องเตรียมใจ เอ๊ย! เตรียมตัวก่อนเข้าห้องสอบอย่างไร … แต่ที่สำคัญ O-NET วิชาภาษาไทยของพี่ ๆ ม.6 ไม่มีข้อเขียนเหมือนข้อสอบของ น้อง ๆ ป. 6 อย่างแน่นอนค่ะ

เวลาทำข้อสอบ 120 นาที – 80 ข้อ

O-NET วิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จัดสอบในวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 เวลา 08.30 – 10.30 น. น้อง ๆ จะมีเวลาในการทำข้อสอบถึง 120 นาที ข้อสอบมีจํานวน 80 ข้อ ซึ่งสามารถจําแนกได้เป็น 3 ตอน ดังนี้ค่ะ

ตอนที่ 1

ในตอนนี้ มีจํานวน 10 ข้อ แต่ละข้อจะมีข้อย่อย เช่น ข้อ 1 ก ข้อ 1 ข น้อง ๆ จะต้องทำครบทั้งสองข้อย่อย และทำถูกทั้งสองข้อย่อยจึงจะได้ 1 คะแนน หากผิดข้อย่อยข้อใดข้อหนึ่งจะได้ 0 คะแนนค่ะ

ส่วนเนื้อหาสาระ – หลักภาษาไทย

ในส่วนของเนื้อหาสาระจะเป็นเรื่องของหลักภาษาไทย เช่น คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน คำเป็น-คำตาย ราชาศัพท์ บรรณานุกรม การเรียงลำดับข้อความ ศัพท์ที่ใช้ในการประชุม มารยาทในการสื่อสาร ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ โดยเฉพาะกลอนสุภาพและโคลงสี่สุภาพค่ะ

ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 มีจำนวน 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน

อ่านจับใจความ จับประเด็น

ตอนที่ 2 มีจำนวน 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน รวมทั้งสิ้น 40 คะแนน!!!!

ในส่วนนี้มีการให้ความสำคัญมากถึงข้อละ 2 คะแนน เพราะเป็นเรื่องของการอ่านจับใจความ อ่านจับประเด็น ถามแนวคิด จุดประสงค์ของผู้แต่งซึ่งน้อยคนนักที่จะชอบ เพราะไม่อยากอ่านข้อความยาว ๆ ถ้าเป็นไปได้ก็จะข้ามไปก่อน แต่สุดท้ายก็กลับมาทำไม่ทัน น้อง ๆ รู้มั้ยคะว่าจริง ๆ แล้วมันง่ายนิดเดียวค่ะ ถ้ารู้กลลวงของข้อสอบ หรือวิธีการตัดตัวเลือก 40 คะแนนเต็มก็ไม่ไกลเกินหวังค่ะ

ตอนที่ 3

ตอนสุดท้าย มี 50 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน

ตอนสุดท้ายจะมี 50 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน ในตอนนี้จะเป็นศูนย์รวมของเนื้อหาทั้งหลักภาษาไทย การอ่านจับใจความ มารยาทในการสื่อสาร วรรณศิลป์และคุณค่าของคำประพันธ์ ประมวลทุกสิ่งอย่างอยู่ใน 50 ข้อ แต่สั้นและง่ายกว่าสองตอนแรกค่ะ

กระดาษคำตอบของข้อสอบวิชาภาษาไทย มีการกำหนดขอบเขตของแต่ละตอนอย่างชัดเจน อย่าลืม ระมัดระวังตอนที่ 1 ที่น้อง ๆ จะต้องฝนทั้งสองข้อย่อยนะคะ

ควรหาเวลาฝึกทำข้อสอบเก่าเพื่อให้เกิดความเคยชิน

ถ้าเป็นไปได้ครูพี่โบว์แนะนำว่า น้อง ๆ ควรหาเวลาฝึกทำข้อสอบเก่าเพื่อให้เกิดความเคยชิน และที่สำคัญจะได้รู้ว่าเราถนัดข้อสอบตอนไหน เรื่องอะไร เนื้อหาเรื่องใดที่เรายังไม่ได้ทบทวน ตอนไหนควรทำก่อน

ตอนไหนที่เรายิ่งคิดยิ่งสับสน คิดเยอะ คิดวกวน ตอนไหนใช้เวลามากหรือน้อย เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการทำตอนอื่น ๆ และอาจมีเวลาได้ทบทวนข้อสอบทั้งชุดก่อนส่งอีกครั้งค่ะ

น้อง ๆ สามารถอัพเดตข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ หรือประกาศสำคัญ ของการสอบจากหน้าเว็บไซต์ของ สทศ. ที่ www.niets.or.th

บทความหน้าครูพี่โบว์จะนำลักษณะข้อสอบ สนามสอบ 9 วิชาสามัญมาเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมติดตามบทความร้อน ๆ เกร็ดความรู้ฉบับย่อ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจก่อนเข้าห้องสอบกันนะคะ … สู้ ๆ ค่ะทุกคน ครูพี่โบว์เป็นกำลังใจให้จ้า

ติวเข้ม สรุปสาระสำคัญข้อสอบ O-NET และ 9 วิชาสามัญ

Link : https://seeme.me/ch/krubow

จำง่ายๆ GAT สัญลักษณ์แบบที่ 3 Part 3

Link : https://seeme.me/ch/krubow/93XX7M?pl=zKN6eD

SEEME.ME : KruBow

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง