ไปต่อหรือพอแค่นี้ ? แนวทางการอยู่รอดในแวดวงการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

จากปัญหาตัวเลข ประชากรนักศึกษาลดลง วันนี้ Campus-Star ได้มาสัมภาษณ์ท่านอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ไปต่อหรือพอแค่นี้ ? แนวทางการอยู่รอดของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  ว่าจะมีวิธีแก้ไขและรับมือกับปัญหานี้อย่างไร เราลองมาดูความเห็นจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กันครับ

ไปต่อหรือพอแค่นี้ ? แนวทางการอยู่รอดของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Link : มหาวิทยาลัยราชภัฏ กับการอยู่รอดในแวดวงการศึกษา

แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยกับจำนวนนักศึกษาที่ลดลงในปัจจุบัน

ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ต่อไปในอนาคตข้างหน้า เราจะพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความโดดเด่นด้านการอาหารและการท่องเที่ยว การลดลงของจำนวนประชากรมีผลอย่างยิ่งต่อการเรียนการศึกษาระดับปริญญาตรี

ปัญหาเรื่องโครงสร้างของจำนวนประชากรนั้นมีผลกระทบกับมหาวิทยาลัยในเรื่องเชิงจำนวน แต่เชื่อว่าถ้าเราให้ความสำคัญกับคุณภาพ แม้จะมีผลต่อบทบาทความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังมีการพัฒนาอยู่อีก 4 ด้าน คือ

1. ด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีงานทำ มีความสำเร็จสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง ครอบครัว มหาวิทยาลัย และสังคมในท้องถิ่นนั้น

2. การทำวิจัยสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น เช่น เพชรบุรีนั้นเป็นแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจำนวนแรงงานขนเกลือ-หาบเกลือลดลง ตอนนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้สร้างรถขนเกลือ แทนการใช้แรงงานของคน เป็นต้น

3. การบริหารชุมชน การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เรื่องปัญหายากจน การพัฒนาสินค้า OTOP หรือการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

4. บทบาทหน้าที่ในการบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่น ศิลปกรรมเมืองเพชร เป็นผลงานที่เกิดจากช่างพื้นบ้าน และได้พัฒนาทั้งระดับฝีมือ รูปแบบ เนื้อหา จนเป็นลักษณะเฉพาะของ สกุลช่างเมืองเพชรบุรี  เราก็จะพัฒนานักศึกษาให้สืบสานศิลปะ โดยจะพัฒนาสถาบันศิลปะช่างเมืองเพชรและศิลปะร่วมสมัย เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูฝีไม้ลายมือของช่างในแขนงต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มีจุดเด่นอย่างไร ?

เนื่องด้วยการจัดตั้ง ครม. เห็นชอบ ให้มีการจัดตั้งกระทรวงใหม่คือ กระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม เป็นการรวม 4 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ

1. กระทรวงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม

2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

4. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เพื่อเป็นการเปลี่ยนบทบาทใหม่ ที่มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตนเองไปสู่ระบบใหม่ภายใต้คุณภาพที่ดีกว่า คือ การร่วมมือกับธุรกิจอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี อย่าง บริษัทแคล-คอมพ์ เพื่อเรียนรู้หลักการทำงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

หลักสูตรทางด้านหุ่นยนต์ที่หลากหลาย

การเรียนการสอนระหว่างอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย ในอนาคตจะมีการพัฒนาหลักสูตรเรียนออนไลน์ ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ดูได้ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าการเดินทางให้กับนักศึกษา จะได้ไม่ต้องเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยตลอด 4 ปี แถมยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศและเสียง จากยานพาหนะ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย มหาวิทยาลัยสีเขียว

จะเห็นได้ว่าโลกของเรานั้นได้เข้าสู่ยุคแห่งอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง และหลาย ๆ มหาวิทยาลัยนั้นก็ต่างมีแผนรับมือกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตเช่นกัน

ดูคลิป รีวิว มรภ.เพชรบุรี

บทความอื่น ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง