สภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน ไม่เอื้อพัฒนาครู กระทบตรงที่นักเรียน – insKru

Home / วาไรตี้ / สภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน ไม่เอื้อพัฒนาครู กระทบตรงที่นักเรียน – insKru

อินสครู (insKru) ธุรกิจเพื่อสังคมด้านการศึกษาในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่สนับสนุนครูไทย ผ่านการรวบรวมไอเดียเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ปัจจุบันมีมากกว่า 7,000 ไอเดียที่เปิดให้ครู เข้ามาใช้งานได้ฟรี ผ่านแอคเคาท์ ในเว็บไซต์ insKru.com ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานรวม 163,000 แอคเคาท์ เพิ่มขึ้น 77% จากปี 2564

สภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน

ล่าสุดพบ “สภาวะแวดล้อม ทางสังคมในโรงเรียน” เป็นเพนพ้อยท์ ไม่เอื้อต่อการพัฒนาตัวเองของครูไทยซึ่งส่งผลกระทบ โดยตรงต่อนักเรียน ประกาศปี 2566 ขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน ที่ดีต่อครูและนักเรียน ควบคู่ผลักดัน ครูเป็น “ผู้ริเริ่ม” ไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการวิชาการ ผ่านการสร้าง Supportive Relationship ในห้องเรียน พร้อมออกแบบโมเดลทางธุรกิจของ insKru โดยมุ่งเป้าไปที่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้คอมมูนิตี้ครู คาดว่าช่วยเพิ่มผู้ใช้งาน ไม่ต่ำกว่า 100% ในปี 2566 นี้

นางสาวชลิพา ดุลยากร ผู้ก่อตั้ง insKru ธุรกิจเพื่อสังคมด้านการศึกษา เปิดเผยว่า “จากที่ insKru ได้นำแพลตฟอร์มออนไลน์ www.inskru.com ใช้เป็นเครื่องมือให้ครูทั่วประเทศ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ทำงานกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยมีกลุ่มเฟสบุ๊ก insKru-ครูปล่อยของ และเพจ insKru – พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอนเป็นพื้นที่ร่วมขับเคลื่อน มาจนก้าวสู่ปีที่ 5

ในปี 2566 นี้ insKru พบว่ากำแพง ที่จะทำให้เราไปไม่ถึงปลายทาง คือ “สภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียน” หรือ School Environment ไม่เอื้อต่อการพัฒนาตัวเองของครู ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการสอนที่ได้ประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ให้กับนักเรียน”

จากเพนพ้อยท์ดังกล่าวทำให้ insKru มองเห็นเป็นโอกาสในการต่อยอดในการช่วยเหลือและสนับสนุนครู เพื่อการเรียนการสอนที่ดีกับนักเรียน โดยร่วมตั้งเป้าขับเคลื่อนเร่งสร้างผลกระทบ หรือ “Impact” ต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียนที่ดีต่อครูและนักเรียน

โดยเริ่มจากให้ครูได้รับ ประสบการณ์ในห้องเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี และส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม หรือ Social Emotional Learning: SEL ให้กับครู เพื่อให้ครูส่งต่อแนวคิดดี ๆ ให้กับนักเรียนและสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ให้กับการศึกษาของประเทศต่อไป

“ในปีนี้ insKru มีเป้าหมายที่จะหาวิธีการลดบรรยากาศที่ทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งทางกาย ความคิด และจิตใจ (Toxic Environment) เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมทางสังคมในโรงเรียนที่ดีขึ้น เริ่มต้นจากการ เปลี่ยนบทบาทครูจาก “ผู้ให้บริการวิชาการ” เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยสบายใจ (Supportive Relationship) ทั้งครูกับครู และครูกับนักเรียน

โดยผลักดันให้ครูเป็น ‘ผู้ริเริ่ม’ เปลี่ยนแปลง ห้องเรียนในแบบของตัวเอง เพราะเราอยากเห็นครูทุกคนในประเทศเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ หรือ Initiator ไม่ว่าจะเป็นเริ่มจากการเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนห้องเรียน เปลี่ยนโรงเรียน เปลี่ยนสังคมครู เป็นต้น

นอกจากนี้ insKru ยังมีตั้งเป้าในการออกแบบโมเดลใหม่ในการสร้างรายได้ โดยจะโฟกัสที่การสร้าง Impact ให้ดีขึ้นและมากกว่าเดิม ผ่านการสร้างโมเดลให้ภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามาร่วมสร้างอิมแพ็กต์ ผ่านคอมมูนิตี้ของ insKru รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมที่จะขยายคอมมูนิตี้ของ InsKru ด้วยเป้าหมายสร้างคอมมูนิตี้ครูในระบบนิเวศน์ของ insKru ให้มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 100% ในปี 2566 นี้”

หนึ่งในผลิตภัณฑ์เรือธงของ insKru ในปี 2566 คือ Buddy Kru ซึ่งเป็นระบบแชตบอท (Chat Bot) ในแอปพลิเคชัน LINE ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยวางแผน ออกแบบ และวัดผลการสอน โดยขณะใช้งาน ครูจะรู้สึกเหมือนมีเพื่อนคุยเรื่องการจัดกิจกรรมการสอน การเตรียมสอน ที่คอยโต้ตอบแบบอัตโนมัติ

ใช้งานสะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันเพียงไม่กี่นาทีในแต่ละสัปดาห์ เพื่อไม่รบกวนเวลา การทำงานของครู ปัจจุบันอยู่ในช่วงทดลองเปิดให้ครู 5,000 คนทั่วประเทศ ใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบให้สามารถตอบโจทย์ปัญหาของครูไทยได้จริง นางสาวชลิพา กล่าว

ปัจจุบัน insKru สามารถรวบรวมไอเดียการสอนจากครูทั่วประเทศได้มากกว่า 7,000 ไอเดีย เปิดให้ครู เข้ามาใช้งานได้ฟรีผ่านแอคเคาท์ ในเว็บไซต์ inskru.com โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 77% จากปี 2564 ทั้งนี้ มีจำนวนแอคเคาท์ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 92,000 แอคเคาท์ ในปี 2564 เป็น 163,000 แอคเคาท์ ในปี 2565

ซึ่งจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดจากการจัดกิจกรรมในคอมมูนิตี้ ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น จน insKru ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 2021 Community Accelerator Program และได้รับทุนสนับสนุนในการพัฒนาคอมมูนิตี้ออนไลน์จาก Meta เพื่อนำมาพัฒนาคอมมูนิตี้ครูไทย ในเฟซบุ๊กให้เข้มแข็งและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้สมาชิกกลุ่ม insKru-ครูปล่อยของ เพิ่มขึ้น 148% จาก 38,000 คนในปี 2564 เป็น 94,000 คนในปี 2565

นอกจากนี้จำนวนผู้ติดตาม เพจ insKru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน เพิ่มขึ้น 23% จาก 200,000 Follower ในปี 2564 เป็น 258,000 Follower ในปี 2565 มีกิจกรรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมรวมถึง 42 ครั้ง ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับ insKru รวม 1,336 คน ได้ไอเดียการสอนดี ๆ กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ส่งผลดีต่อ การเรียนรู้ของเยาวชนไทยกว่า 3.7 ล้านคน ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด รวมถึงในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ insKru: www.inskru.com

น.ส.ชลิพา ดุลยากร ผู้ก่อตั้ง insKru ธุรกิจเพื่อสังคมด้านการศึกษา