ABAC bu ม.กรุงเทพ ม.อัสสัมชัญ มกท มหาวิทยาลัยสองภาษา เอแบค

สุดยอด! ABAC VS BU มหาวิทยาลัยสองภาษา ที่น่าเข้าเรียนมากที่สุด

Home / วาไรตี้ / สุดยอด! ABAC VS BU มหาวิทยาลัยสองภาษา ที่น่าเข้าเรียนมากที่สุด

มหาวิทยาลัยที่กำลังได้รับความสนใจจากนักศึกษาในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้น มหาวิทยาลัยสองภาษา หรือมหาวิทยาลัยนานาชาติ และครั้งนี้การ Battle ของเราจะเข้มข้นยิ่งขึ้น กับ 2 มหาวิทยาลัยชื่อดัง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่กำลังเป็นที่สนใจของน้องๆ นักเรียน ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นเฟรชชี่หน้าใสในรั้วมหาลัย แล้วชาว Campus Star ล่ะ เขาจะถูกใจมหาลัยไหนมากกว่ากัน เรามาดูพร้อมกันเลย!!

น่าเข้าเรียนมั๊กมาก! มหาวิทยาลัยสองภาษา ABAC VS BU 

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวัติความเป็นมา… มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก “โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ” ซึ่งก่อตั้งในปี  พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะอีกครั้งเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อที่ใช้จนถึงปัจจุบันนี้ว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ”

หลักสูตรที่เปิดสอน มี 10 หลักสูตร ได้แก่
1. คณะบริหารธุรกิจ (Martin De Tour School of Management and Economics) แบ่งออกเป็นอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต และ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
2. คณะศิลปศาสตร์ (School of Arts)
3. คณะนิเทศศาสตร์ (Albert Laurence of Communication Arts)
4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (School of Engineering)
5. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (School of Science and Technology)
6. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Montfort Del Rosario of Architecture and Design)
7. คณะดนตรี (School of Music)
8. คณะเทคโนโลยีชีวภาพ (School of Biotechnology)
9. คณะนิติศาสตร์ (School of Law)
10. คณะพยาบาลศาสตร์ (School of Nursing Science)

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ความน่าสนใจ… ของที่นี่อย่างแรกคือบรรยากาศของมหาลัย และสถาปัตยกรรมที่น่ามอง ชวนให้นึกถึงว่าเราใช้ชีวิตอยู่เมืองนอก รวมถึงคณะ สาขาวิชามีให้เลือกเยอะแยะมากมาย มีการเรียนแบบปฏิบัติจริง เพื่อให้มีการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้ในอาชีพจริงในอนาคต โดยมหาวิทยาลัยได้มุ่นเน้นในการเรียนการสอน และการสื่อสารทางภาษาที่สามารถใช้นำไปใช้ได้ในงานด้านบริหารธุรกิจปัจจุบันอย่างแท้จริง

ผลคะแนนจากชาว Campus Star
เป็นที่รู้จัก : 9
ความหลากหลายของหลักสูตร : 9.5
สาขาน่าสนใจ : 9
บรรยากาศมหา’ลัย : 9.5
โอกาสประสบผลสำเร็จ : 9.5
คะแนนรวม : 46.5 คะแนน

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ประวัติความเป็นมา... มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือกำเนิดขึ้นมาจากการก่อตั้ง “โรงเรียนไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อสถาบันใหม่เป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” หรือ Bangkok College เมื่อวิทยาลัยกรุงเทพเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น การขยายตัวก็มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็มีการเกิดขึ้นของวิทยาลัยเอกชนอีกหลายๆ ผู้บริหารจึงมีโครงการที่จะขยายและยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 วิทยาลัยกรุงเทพจึงได้รับการยกฐานะจากทางราชการไทยให้เป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 สำหรับวิทยาลัยนานาชาติ ม.กรุงเทพ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962

หลักสูตรที่เปิดสอน มี 7 หลักสูตร ได้แก่
1. ENTREPRENEURSHIP
2. MARKETING
3. COMMUNICATION ARTS
4. BUSSINESS ENGLISH
5. COMPUTER GRAPHICS AND MULTIMEDIA
6. HOTEL AND RESTAURANT MANAGEMENT
7. INTERNATIONAL TOURISM MANAGEMENT

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ความน่าสนใจ… ปัจจุบันการสื่อสารด้านภาษาได้มีความจำเป็น และเข้ามามีบทบาทในประเทศของเราเป็นอย่างมาก ทำให้วิทยาลัยนานาชาติมีความน่าสนใจมากขึ้น BUIC เองก็เป็นที่สนใจของเด็กรุ่นใหม่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ที่ครบครัน เป็นหนึ่งในด้านมหาลัยเอกชนชั้นนำ บรรยากาศในห้องเรียนก็น่าเรียนมากๆ ห้องปฏิบัติการเองก็มีเครื่องมือรองรับเพียงพอต่อความต้องการใช้ของนักศึกษา สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในธุรกิจการสื่อสารระหว่างประเทศ

ผลคะแนนจากชาว Campus Star
เป็นที่รู้จัก : 8.5
ความหลากหลายของหลักสูตร : 8
สาขาน่าสนใจ : 9
บรรยากาศมหา’ลัย : 9
โอกาสประสบผลสำเร็จ : 9.5
คะแนนรวม : 44 คะแนน

ผลคะแนนที่ได้ คือ…. สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญก็ชนะไปด้วยคะแนน 46.5 ต่อ 44 ก็จริงแต่ไม่แน่นะ ต่อไปเราอาจได้เห็นวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพขึ้นมาตีเสมอก็เป็นได้ เพราะตอนนี้ยิ่งภาษามีความสำคัญมากเท่าไหร่ มหาลัยไทยเราก็ไม่ยอมน้อยหน้า พัฒนาคุณภาพตามให้เท่าเทียมกับระดับสากล และส่งเสริมให้เด็กไทยสามารถสื่อสารธุรกิจในระดับนานาชาติได้ ไม่ว่าน้องๆ จะเลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติจากมหาลัยไหนก็ตาม น้องๆ ก็สามารถประกอบอาชีพ ตอบโจทย์กับตลาดแรงงานในอนาคตได้ทั้งนั้น

ข้อมูลจาก นิตยสาร Campus star V.14 (กรกฎาคม 2014)