มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Kalasin University

Home / academy / มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (Kalasin University) หรือชื่อเดิมคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์” เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2542 เป็นครั้งแรก… See More

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (Kalasin University) หรือชื่อเดิมคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์” เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2542 เป็นครั้งแรก

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ประวัติความเป็นมา
โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ ได้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2539 และวันที่ 20 เมษายน 2540 โดยอนุมัติให้มีการจัดตั้งสถาบันราชภัฏใหม่ 5 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่  สถาบันราชภัฏชัยภูมิ  สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ  สถาบันราชภัฏนครพนม และสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏได้แต่งตั้งให้นายนพพร โฆสิระโยธิน รองอธิการบดีสถาบันราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ ต่อมาสถาบันราชภัฏมหาสารคามได้เข้ามาเป็นผู้ดูแลการจัดตั้งในปีการศึกษา 2542 ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับอนุปริญญาทั้งหมด 3 โปรแกรมวิชา คือ โปรแกรมวิชาก่อสร้าง โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ ต่อมา นายนพพร โฆสิระโยธิน ได้ขอย้ายกลับไปปฏิบัติราชการที่สถาบันราชภัฏอุดรธานี สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏจึงได้แต่งตั้งให้ นายสหัส หาญสินธุ์ รองอธิการบดีสถาบันราชภัฏมหาสารคามมาปฏิบัติหน้าที่แทน ในปีการศึกษา 2544 ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี

– โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์
– โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ
– โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ
และรับสมัครนักศึกษาภาคพิเศษ (หลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน) ในโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ (อนุปริญญา)
– โปรแกรมการศึกษาปฐมวัย
– โปรแกรมการประถมศึกษา
– โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา
และโปรแกรมการจัดการทั่วไป รวมทั้งรับสมัครนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2544 ได้ยกฐานะโครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ เป็นสถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง พร้อมกับสถาบันราชภัฏใหม่อีก 4 แห่ง จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 โดยแบ่งเป็น 2 คณะ และ 4 สำนัก คือ คณะวิชาการศึกษาทั่วไป คณะวิทยาการวิชาชีพ สำนักงานอธิการบดี สำนักส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น และสำนักกิจการนักศึกษา เปิดสอน 2 สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาการจัดการ โดยแบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี 4 ปี ระดับปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (การจัดและประเมินโครงการ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ)

ในปีการศึกษา 2544 ได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ และเปิดรับนักศึกษาภาคพิเศษ (หลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน) ในระดับอนุปริญญาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ และการศึกษาปฐมวัยในระดับปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) โปรแกรมวิชาประถมศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษาและการจัดการทั่วไป รวมทั้งรับสมัครนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การจัดการและประเมินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ

ในปีการศึกษา 2545 เปิดสอนหลักสูตรปริญญา 4 ปี ในภาคการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์และหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

ในปีการศึกษา 2546 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ในภาคปกติโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยให้แบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงที่ประกาศเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 ออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ต่อมาได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอธิการบดี และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการโดยให้แบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดีออกเป็น 2 กอง คือ

1. กองกลาง
2. กองนโยบายและแผน

และให้แบ่งส่วนราชการภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ออกเป็น 1 สำนักงานคณบดีและ 2 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และภาควิชาศิลปศาสตร์

ในปีการศึกษา 2550 ส่วนราชการที่จัดตั้งตามระเบียบและประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ได้แก่หน่วยงานเทียบเท่ากอง  ดังนี้

1.  กองบริการการศึกษา
2.  กองบริการวิชาการ
3.  กองพัฒนานักศึกษา
4.  กองวิจัยและพัฒนา
5.  กองศิลปะและวัฒนธรรม

ต่อมาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ได้กลับไปใช้การแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวง และมีหน่วยงานระดับกอง 2 กองเช่นเดิม

ในปีการศึกษา 2553 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะ จำนวน 2 คณะ คือ คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ และได้อนุมัติหลักสูตร 5 หลักสูตร คือ หลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม และหลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 5 หลักสูตรเปิดทำการสอนในปีการศึกษา 2554

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ได้แบ่งหน่วยงานภายในจัดตั้งขึ้นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย และกฎหมายอื่นเพิ่มเติมอีก 2 ส่วนราชการคือ โครงการบัณฑิตและหน่วยตรวจสอบภายใน และได้แบ่งส่วนราชการภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็น 4 หน่วยงาน คือ

1. สำนักงานอธิการบดี
2. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ภาควิชาศิลปศาสตร์
4. กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป

โดยให้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เรื่อง จัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

ในปีการศึกษา 2555  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ได้เปิดสอนทั้งสิ้น 6 คณะ ดังนี้

1.  คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2.  คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
3.  คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
4.  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5.  คณะบริหารธุรกิจ
6.  คณะครุศาสตร์

และสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในปีการศึกษา 2556

คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย คือ “ภาคภูมิถิ่นอีสาน แหล่งวิชาการชุมชน สร้างคนดีมีคุณธรรม”

ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัย คือ “คุณธรรมนำการศึกษา คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ตราประจำมหาวิทยาลัย

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ คือ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง 5 เซนติเมตรสูง 6.7 เซนติเมตรรูปพระที่นั่งอัฏทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลาง วงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบๆ มีรัศมี แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จพระทับพระที่นั่งอัฏทิศ ราชบัณฑิตเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก 8 ทิศ และทิศกลางอีก 1 ทิศ แต่ในรัชกาลนี้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถวายน้ำอภิเษก เพื่อความเป็นเจ้าใหญ่ในแผ่นดิน คือพระมหากษัตริย์ นับเป็นครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตยที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ถวายน้ำอภิเษก ในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก

พระราชลัญจกรนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้กำกับพระปรมาภิไธยในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่น ใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยในประกาศนียบัตรเหรียญรัตนาภรณ์ของพระองค์ และใช้ประทับในเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบชนิด 1 บาท เป็นต้น ประกอบด้วย 5 สีดังนี้

– สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
– สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
– สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางด้านภูมิปัญญา
– สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
– สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ดอกตะแบก

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นมะหาด

สีประจำมหาวิทยาลัย คือ ม่วง – ขาว

ที่ตั้งของมหาวิทยาลัย : เลขที่ 13  หมู่ 14  ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  46230 โทรศัพท์ 043-602-055  โทรสาร 0-4360-2044

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ : Kalasin Rajabhat University

สถาปนา : 20 เมษายน พ.ศ. 2540
ประเภท : รัฐ
เว็บไซต์ : www.ksu.ac.th
Facebook : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี .web.ksu.ac.th/History.html

See Less

ดาวเด่น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

ชิลเอ้าท์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

มุมต่างๆในรั้ว มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้

เรื่องเล่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ยังไม่มีเนื้อหาในหมวดนี้