ใครที่ติดตามละครเรื่อง คลื่นชีวิต แล้วชื่นชอบหนุ่ม หมาก ปริญ พระเอกในเรื่องที่มารับบทบาทแสดงเป็น คุณสาธิต ทนายสุดหล่อผู้รักความยุติธรรม แล้วคิดอยากจะเรียนเป็นทนายแบบหนุ่มหมากในเรื่องบ้างคะ วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนเป็นทนายมาแนะนำให้น้องๆ ได้อ่านเป็นแนวทาง จะได้เตรียมตัวกันไว้ให้พร้อม
อาชีพ ทนายความ ต้องเรียนอะไร เรียนที่ไหน?
หน้าที่ ลักษณะงานของอาชีพ ทนาย
ว่าความ และให้คำปรึกษากฎหมายรวมทั้งจัดทำนิติกรรมสัญญา และดำเนินกระบวนพิจารณาแทนคู่ความ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ เลยก็คือ ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย แนะนำลูกความ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน เป็นพนักงานอัยการ และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาได้ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์ เป็นต้น
จะเป็นทนายต้องเรียนอะไร มีคุณสมบัติแบบไหน?
มีความสนใจในด้านกฎหมาย ใฝ่หาความรู้ และมีวาทศิลป์ ต้องชอบท่องจำ เพราะจะมี กฎระเบียบ มาตราต่างๆ ที่ทนายต้องรู้ ควรมีไหวพริบด้วย คุณสมบัติที่ควรมี
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์
2. ต้องขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ
3. มีสัญชาติไทย
4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็น ผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
7. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่ คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพ
8. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย
9. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม
10. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อน สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ
11. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำเว้นแต่ข้าราชการการเมือง
12. ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วม สำนักงาน และตนเอง
13.สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือกหรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
14.เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ต้องเข้ารับการอบรมจากสภาทนายความโดยอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตร 6 เดือน และอบรมภาคปฏิบัติ หลักสูตร 6เดือน จึงสมัครเข้าสอบขอใบอนุญาตว่าความผ่านการทดสอบจะได้รับใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักรจากสภาทนายความ
ทนาย อาชีพที่คนส่วนใหญ่ให้เกียรติ ยกย่อง รายได้สูง
อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดีและเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 8,500 – 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความร้อยละ 10 – 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้นๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี สภาพการทำงาน
การเป็นทนายไม่ต้องจบเนติบัณฑิตมาก่อนก็เป็นได้
ยังมีหลายๆ คน เข้าใจผิดว่าการเป็นทนายความจะต้องเรียนจบเนติบัณฑิตมาเสียก่อน จริงๆ แล้ว ทนายความนั้น แค่ผ่านการอบรมจากสภาทนายความก็สามารถเป็นได้แล้ว ส่วนการที่จะต้องเรียนจบจากเนติบัณฑิตนั้น เป็นคุณสมบัติในการสอบเป็นพนักงานอัยการ หรือสอบเป็นผู้พิพากษา ซึ่งหากผู้ที่ต้องการจะสอบเป็นพนักงานอัยการ หรือผู้พิพากษา จำเป็นที่จะต้องจบการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา
มหาลัยที่เปิดสอน นิติศาสตร์
คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคกลาง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานีอุดร
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยโยนก
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยศรีโสภณ
คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก
วิทยาลัยศรีอีสาน(คณาสวัสดิ์)
สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณะนิติศาสตร์ (วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ)
สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชารัฐศาสตร์