มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร พื้นที่หลักของมหาวิทยาลัยฯมีเนื่อที่ประมาณ 330 ไร่ ติดกับถนนสุรนารายณ์ และยังมีพื้นที่ป่าหนองระเวียง เดิมใช้เป็นพื้นที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเรียกว่า “ศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียง” ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯได้รักษาสภาพพื้นที่ป่านี้ไว้ เพื่อใช้เป็นโรงเรียนธรรมชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,500 ไร่ มีรั้วล้อมรอบอย่างถาวร มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ คือ สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จำนวน 200 ไร่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จำนวน 200 ไร่ พื้นที่รองรับการขยายการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 1,100 ไร่ และพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 1,000 ไร่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเกิดขึ้นตามพระราบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 เหตุผล โดยที่มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยฯดังนั้น สมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเป็นหนึ่งในจำนวนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชพีชั้นสูงที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยต่อยอดให้ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพจนถึงระดับปริญญา
– เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 92 ตอนที่ 48 หน้า 1 มีผลบังคับใช้ในวันต่อมา
– 29 – 30 กรกฎาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) เป็นครั้งแรก และกำหนดจะเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง โดยเสด็จฯ ครั้งที่สองในวันที่ 31 กรกฎาคม 2527 ถึง 2 สิงหาคม 2527 ครั้งที่สามในวันที่ 7 ถึง 9 กรกฎาคม 2530 ครั้งที่สี่ในวันที่ 19 ถึง 21 กรกฎาคม 2533 หลังจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี ได้เสด็จฯ แทนพระองค์ทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน
– 16 กรกฎาคม 2527 วิทยาลัยฯ ได้รับการอนุเคราะห์จากกรมธนารักษ์จัดสรรที่ดินบริเวณคลองหกฝั่งตะวันตก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 706 เนื้อที่ 610-3-41 ไร่ และแปลงเลขที่ ปท. 268 คลองรังสิต ฝั่งเหนือ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 39 เนื้อที่ 109-3-04 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 720-2-45 ไร่เพื่อก่อสร้างศูนย์กลาง การศึกษาระดับปริญญา
– ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มขยายการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาเขตต่างๆ ตามความพร้อมของแต่ละวิทยาเขตและเปิดสอนทุกวิทยาเขตในที่สุด
– 7 มิถุนายน 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์วางศิลาฤกษ์ศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญา
– 15 กันยายน 2531 พระบาทสมเด็จพรจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า “ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระราชสัญจกรประจำพระองค์และพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหายราชการของสถาบันฯ
– 8 มกราคม 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้อยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก วันที่ – 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้เกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานประกอบด้วย 5 วิทยาเขต กระจายอยู่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย
– ศูนย์กลางมหาวิทยาลัย (จังหวัดนครราชสีมา)
– วิทยาเขตกาฬสินธุ์
– วิทยาเขตขอนแก่น
– วิทยาเขตสกลนคร
– วิทยาเขตสุรินทร์
พ.ศ. 2558 มีพระราชบัญญัติให้รวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ส่งผลให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดการเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ปณิธาน สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคุณภาพชั้นนำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มุ่งเน้นการผลิตนักปฏิบัติด้านวิชาชีพ เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
อัตลักษณ์ “มหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะพร้อมปฏิบัติการ”
เอกลักษณ์ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งการสร้างอาชีพเฉพาะทาง”
นโยบาย (Policy) : R I D I N G Q A
1. สร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Relevance)
2. สร้างความผูกพันธ์ (รัก เชื่อมั่น ศรัทธา) ต่อองค์กร (Involvement)
3. สร้างความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละให้กับองค์กร (Dedication)
4. สร้างจิตสำนึกในการเป็นผู้ประกอบการ (Income Oriented)
5. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
6. จัดระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Goverenance)
7. พัฒนาคุณภาพทุกด้าน (Quality)
8. ยึดมั่นในการพัฒนาภาวะผู้นำทุกระดับ (Accumulated Leadership)
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบล้อมรอบ ดอกบัวบาน 8 กลีบหมายถึงทางแห่งความสำเร็จมรรค 8 และความสดชื่นเบิกบานก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่ หมายถึง สัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” บนตรารูปวงกลม มีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบ และมีเลข 9 อยู่ หมายถึงรัชกาลที่ 9
ด้านล่างของตราวงกลมทำพับกรอบโค้งรองรับชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ พิมพ์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรื่อง แจ่มใส เบิกบาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หมายความว่า มหาวิทยาลัยอันเป็นมงคลแห่งพระราชา
ตราสัญลักษณ์ดอกไม้ราชมงคลอีสาน
– ออกแบบเป็นรูปดอกแคแสดผสมผสานกับรูปตัวอักษร U (University) และเส้นสายจากแคน
– ดอกแคแสดเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
– ดอกแคแสดมีกลีบดอก 5 กลีบ อันหมายถึง 5 วิทยาเขต ที่รวมสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
– ตัวอักษร U ซึ่งย่อมาจาก University นั้น ประกอบขึ้นจากเส้นสายทั้ง 5 เส้น ซึ่งได้มาจากลักษณะของแคนที่ประกอบด้วย 5 ลำ เพื่อสื่อความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอีสาน
– เส้นเหล่านี้มีทิศทางพุ่งขึ้นไปในทิศเดียวกัน เปรียบเสมือนการก้าวไปพร้อมๆกันทั้ง 5 วิทยาเขต เพื่อนำพามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สู่ความสำเร็จร่วมกันทางการศึกษา
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นแคแสด เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีแสด ขึ้นง่าย โตเร็ว เจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค
ดอกแคแสด ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยฯ
สีประจำมหาวิทยาลัย แต่เดิม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน
– สีเหลือง เป็นสีวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
– สีน้ำเงิน เป็นสีสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมีการปรับโครงสร้างตาม พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จึงได้กำหนดสีประจำมหาวิทยาลัยดังนี้ สีแสด เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน : Rajamangala University of Technology Isan
สถาปนา : 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา)
15 กันยายนพ.ศ. 2531 (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล)
18 มกราคม พ.ศ. 2548 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล)
ประเภท : รัฐ
ที่ตั้ง :
1. ศูนย์กลางนครราชสีมา 744 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
2. วิทยาเขตขอนแก่น 150 หมู่ 6 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
3. วิทยาเขตสุรินทร์ 145 ม.15 ต.นอกเมือง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ 32000
4. วิทยาเขตสกลนคร
5. วิทยาเขตกาฬสินธุ์
เว็บไซต์ : www.rmuti.ac.th
Facebook :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี