สถาบันการบินพลเรือน เดิมชื่อ “ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย” เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) กำหนดไว้
สถาบันการบินพลเรือน
ประวัติความเป็นมา
สถาบันการบินพลเรือนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (United Nations Special Fund :UNSF) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายใต้ชื่อ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็นโครงการระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการบินพลเรือนระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิำกให้เจริญรุดหน้าทันกับเทคโนโลยีตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่าง ประเทศกำหนดไว้ ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลไทยได้รับมอบศูนย์ฝึการบินพลเรือนในประเทศไทยมาดำเนินการ โดยให้มีฐานะเป็นสถานฝึกอบรมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบินพาณิชย์ (ปัจจุบันคือกรมการบินพลเรือน) กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2509 และในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการบินพาณิชย์ใหม่ โดยได้จัดตั้งศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย (มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง) ในกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เืพื่อให้การปฎิบัติราชการเกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพงานในขณะนั้น
ด้วยความสำคัญของการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้วนการบิน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม และเพื่อให้การบริหารงานของภาครัฐมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่ง ขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ.2535 แปรสภาพศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย เป็น สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 6 ให้สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) มีวัตถุประสงค์ในการจัดดำเนินการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบิน และดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศบริการอากาศยานและกิจการอื่นเกี่ยว กับการบินเพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคลากรดังกล่าว โดย สบพ. มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. ฝึกอบรมด้านกิจการบินพลเรือนระหว่างประเทศให้ได้มาตราฐานตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาการบินระหว่างประเทศ และรับผิดชอบการฝึกอบรมภายในประเทศ ให้สอดคล้องตามกฏหมายเกี่ยว กับการเดินอากาศภายในประเทศ
2. ผลิตบุคลากรด้านการบินพลเรือนให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศเพื่อสนับสนุนหน่วยงานการขนส่งทางอากาศ ของภาครัฐและเอกชน ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาบุคลากรการบินของประเทศ
ตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันการบินพลเรือน (CATC)
สถาบันการบินพลเรือน : Civil Aviation Training Center
สัญลักษณ์ : สบพ.
ชื่อย่อ : สบพ. / CATC
คติพจน์ : ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺ เสสุ ในหมู่มนุษย์ คนประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว (A Trained Person is an Excellent Person)
สถาปนา : 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504
ประเภท : รัฐวิสาหกิจ
ที่ตั้ง : สถาบันการบินพลเรือน 1032/355 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ศูนย์ฝึกการบิน : ท่าอากาศยานหัวหิน (สนามบินบ่อฝ้าย) อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ศูนย์ฝึกการบินแห่งที่ 2 : ท่าอากาศยานขอนแก่น (อาคารเดิม) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
เว็บไซต์ : www.catc.or.th
Facebook : https://www.facebook.com/catcthailand/
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ http://www.catc.or.th/2015/index.php/th/about-us/catc-history