รู้จัก 10 สาขาคณะนิเทศาสตร์ ก่อนสมัครเข้าเรียน – เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง ?

ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ (Communication Arts) ถือได้ว่าเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานในด้านการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย หลักทฤษฎี กระบวนการ บทบาทหน้าที่ วิธีการ และประสิทธิภาพ ฯลฯ ซึ่งน้อง ๆ คนไหนที่กำลังคิดว่าจะเข้าศึกษาต่อใน คณะนิเทศศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนในสาขาวิชาไหนดี ?

เลือกเรียนต่อ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาไหนดี ?

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็ได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้ของ 10 สาขาวิชาในคณะนิเทศศาสตร์ มาฝากกันด้วยค่ะ พร้อมคะแนนที่ใช้ในการสอบเข้า และรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน จะมีสาขาวิชาไหนน่าเรียนบ้าง ตามมาดูกันเลย…

1. สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์

โดยรวมแล้วจะเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการตลาด โดยที่ผู้เรียนจะมีความรู้ ความเข้าใจในการวางแผนการประชาสัมพันธ์ การโน้มน้าวใจ ตลอดจนทักษะการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในงานประชาสัมพันธ์ให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ นักประชาสัมพันธ์ และนักสื่อสารองค์กร ฯลฯ

2. สาขาวิชาการผลิตอีเว้นท์/การจัดการนิทรรศการ

เป็นสาขาวิชาที่เปิดโอกาสให้นิสิต/นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการออกแบบที่มีการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ การเป็นผู้ประกอบการและทักษะด้านการผลิตแบบนิเทศศาสตร์ เพื่อนำมาสร้างสรรค์งานอีเว้นท์ หรือนิทรรศการที่แปลกใหม่ โดยที่เราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่แนวความคิด รูปแบบ กระบวนการผลิตงานอย่างมืออาชีพ เพื่อสามารถนำมาใช้ในการทำงานในธุรกิจสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาการผลิตอีเว้นท์และการจัดการนิทรรศการ ได้แก่ นักจัดอีเว้นท์ และนักประชาสัมพันธ์นิทรรศการ ฯลฯ

3. สาขาวิชาการสื่อสารตรา (สินค้า)

น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์ธุรกิจบริการ สร้างแบรนด์อีเว้นท์ สร้างแบรนด์สถานที่ สร้างแบรนด์องค์กร และการสร้างแบรนด์บุคคล เพื่อสร้างแบรนด์ให้เกิกคุณค่า และนำไปสู่มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาการสื่อสารตรา ได้แก่ นักสร้างแบรนด์ธุรกิจ และนักสื่อสารแบรนด์ ฯลฯ

4. สาขาวิชาวารสารศาสตร์

จะเรียนรู้เกี่ยวกับการค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลจากบุคคลและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนการรู้จักวิธีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประเมินคุณค่าทางข่าว เพื่อทำการนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างมีสาระ ถูกต้อง และสร้างสรรค์ ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาวารสารศาสตร์ ได่แก่ นักข่าว นักเขียน และบรรณาธิการนิตยสาร/สื่อออนไลน์ ฯลฯ

5. สาขาวิชาศิลปะการแสดง

เป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจด้านบันเทิง ทั้งการแสดงสดและธุรกิจบันเทิงในระบบดิจิทัล การเรียนการสอนจะเน้นให้น้อง ๆ ได้มีความคิดสร้างสรรค์ โดยที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ทั้งด้านการแสเดง การกำกับการแสดง การเขียนบท เพื่อนำเสนอผลงานที่แปลกใหม่และน่าติดตาม ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาศิลปะการแสดง ได้แก่ นักแสดง นักเขียนบท และผู้กำกับการแสดง ฯลฯ

6. สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง

จะเป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์และภาพนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับทฤษฎี การวิจัย สุนทรียศาสตร์ การวางแผน การวิเคราะห์ และการวิจารณ์ภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความสามารถ ทางด้านศาสตร์ศิลปะภาพยนตร์และภาพนิ่ง นอกจากนี้ ผู้เรียนยังจะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการผลิตและการสื่อสารได้อย่างทันสมัย และเท่าทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง ได้แก่ ช่างภาพ ผู้เขียนบท ฯลฯ

7. สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ในสาขาวิชานี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี และการนำแนวความคิดที่ได้มาประยุกต์ใช้ เพื่อการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง และการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ โดยที่เราจะต้องเรียนรู้ทั้งกระบวนการผลิต และการบริหารงานของรายการอย่างไร ให้รายการที่ผลิตมีผู้ชมติดตามหรือสนใจมากที่สุด ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ไดแก่ นักผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ครีเอทีฟ ฯลฯ

8. สาขาวิชาการโฆษณา

สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนในสาขาวิชานี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์สื่อรูปแบบใหม่ ที่เน้นกระบวนการคิดอย่างครบวงจรและมีมาตรฐาน เพื่อให้เจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถนำผลงานโฆษณาไปใช้งานได้จริง ทั้งในรูปแบบของสื่อโฆษณาออนไลน์ และการสื่อโฆษณาแบบกราฟิก ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาการโฆษณา ได้แก่ ครีเอทีฟ นักโฆษณา ฯลฯ

9. สาขาวิชาสื่อสารการตลาดดิจิทัล

เน้นการเรียนรู้ด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลเป็นหลัก ซึ่งจะมีการอาศัยความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีออนไลน์ การสื่อการ การตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภค ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางด้านการวิเคราะห์ นำมาผสมผสานงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้กลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาสื่อสารการตลาดดิจิทัล ได้แก่ นักวิเคราะห์ด้านการตลาดออนไลน์/ด้านเว็บไซต์ ฯลฯ

10. สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์

เป็นการเรียนรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธรุกิจขององค์กร โดยจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ในการสื่อสารและแบรนด์ขององค์กรให้สอดคล้องกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างอาชีพสำหรับผู้ที่เรียนจบในสาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ นักบริหาร/เจ้าหน้าที่บริหารสื่อสารกลยุทธ์องค์กร นักบริหาร/เจ้าหน้าที่บริหารงานประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร นักบริหาร/เจ้าหน้าที่สื่อสารการตลาด และนักวางแผนสาระและกิจกรรมสร้างสรรค์องค์กร ฯลฯ

คะแนนที่ใช้ (รอบแอดมิชชัน)

– GPAX หรือเกรดเฉลี่ยรวมสะสม
– O-NET
– GAT/PAT (ใช้ในบางวิชาเท่านั้น)

** ทั้งนี้ในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการสมัครได้เลยจ๊ะ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

** นี่เป็นเพียงตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเท่านั้น ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านนิเทศศาสตร์ในสาขาวิชาต่าง ๆ น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ของสถาบันได้เลยจ๊ะ

ที่มา FB : เรียนต่อไหนดี, เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนคณะนิเทศศาสตร์

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง