คณะน่าเรียน จบแล้วทำงานอะไร ศิลป์ภาษา สาขาน่าเรียน สายศิลป์ อาชีพทำเงิน แนะแนวการศึกษา

เรียนจบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง จบมาแล้วทำงานอะไร ?

Home / ข่าวการศึกษา / เรียนจบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง จบมาแล้วทำงานอะไร ?

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษา ในแผนการเรียนศิลป์คำนวณ / ศิลป์ภาษา / ศิลป์สังคม / ศิลป์ธุรกิจ ฯลฯ แต่ไม่รู้ว่า ตนเองสามารถที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในคณะ/สาขาวิชาใดได้บ้าง ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบ จบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง มาบอกกันแล้วค่ะ พร้อมทั้งมีรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน และอาชีพน่าทำเมื่อเรียนจบไปแล้วมาฝากด้วย ไปค้นหาตัวเองกันค่ะ

จบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง …

คณะสำหรับเด็กสายศิลป์ มีดังนี้

(ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา ศิลป์สังคม ศิลป์ธุรกิจ ฯลฯ)

1. ด้านเศรษฐศาสตร์

– คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
– สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
– คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
– คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
– คณะการจัดการ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง

จบสายศิลป์ ต่อคณะอะไรได้บ้าง

จบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง

2. ด้านพาณิชยศาตร์และการบัญชี / บริหารธุรกิจ / การจัดการฯ

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI), สาขาบริการนวัตกรรม อินเตอร์ (BSI) ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • คณะบริหารธุรกิจ (ทุกสาขาวิชา) ม.แม่โจ้
  • คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.ศิลปากร
  • คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต, หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะการจัดการและการท่องเที่ยว หลักสูตรบัญชีบัณฑิต, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.บูรพา
  • คณะโลจิสติกส์ สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ ม.บูรพา
  • สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.แม่ฟ้าหลวง
  • สำนักวิชาการจัดการ ธุรกิจโลจิสติกส์ทางการบินคณะศิลปศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.เชียงใหม่
  • คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

3. ด้านนิติศาสตร์ / สังคมสงเคราะห์ / รัฐศาสตร์

  • คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  • คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • สำนักวิชานิติศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
  • คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศิลปากร
  • คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • คณะสังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ม.หัวเฉียว

4. ด้านนิเทศศาสตร์ / วารสารศาสตร์ / เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

  • คณะนิเทศศาสตร์ จุฬลงกรณ์ม.
  • คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย, สาขาวิชาการถ่ายภาพ ฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นิเทศศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ + ภาคพิเศษ) ม.บูรพา
  • คณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (หลักสูตรไทย + นานาชาติ) ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ
  • คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ ม.กรุงเทพ
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.ศิลปากร

เทคนิคการจำคำศัพท์ สไตล์ครูเพชรในเวลาเพียง 4 นาที!!

Link : seeme.me/ch/petchsworld

5. ด้านอักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ / มนุษยศาสตร์

  • คณะอักษรศาสตร์ สารนิเทศศึกษา, ประวัติศาสตร์, ภาษาฝรั่งเศส, ศิลปการละคร ฯลฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ฯลฯ ม.ธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ หลักสูตรจีนศึกษา, หลักสูตรไทยศึกษา, หลักสูตรอินเดียศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาการท่องเทียว, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ สาขาสารสนเทศศึกษา ฯลฯ ม.เชียงใหม่
  • ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสาร) ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ ฯลฯ ม.บูรพา
  • คณะศิลปศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • สำนักวิชาจีนวิทยา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  ม.แม่ฟ้าหลวง
  • สำนักวิชานวัตกรรมสังคม หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ ม.แม่ฟ้าหลวง
  • คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ม.มหิดล
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์, สาขาวิชาภาษาเยอรมันเพื่ออาชีพ, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ม.ขอนแก่น
  • คณะศิลปศาสตร์ อังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ ม.ขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย)

6. ด้านครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์อุตสาหกรรม

  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. หลักสูตร 5 ปี) ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการประถมศึกษา (หลักสูตร 5 ปี), สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 5 ปี), สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต ฯลฯ ม.ศิลปากร
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสุขศึกษา (หลักสูตร 5 ปี), าขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา (หลักสูตร 5 ปี) ฯลฯ ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)
  • คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตร 5 ปี) ม.เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตกำแพงแสน)
  • คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) ม.บูรพา
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, สาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ฯลฯ ม.ขอนแก่น
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ, สาขาวิชาธุรกิจศึกษา, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ฯลฯ ม.เชียงใหม่
  • คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย, สาขาวิชาสังคมศึกษา ฯลฯ ม.ทักษิณ
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา, การวัดและประเมินทางการศึกษา ฯลฯ ม.ทักษิณ
  • คณะครุศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า – วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง (ค.อ.บ. 5 ปี), วิศวกรรมไฟฟ้า – วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ค.อ.บ. 5 ปี) ฯลฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ วิศวกรรมอุตสาหการ (ค.อ.บ. 5 ปี), วิศวกรรมเครื่องกล (ค.อ.บ. 5 ปี) ฯลฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม (หลักสูตร 5 ปี), สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน (หลักสูตร 5 ปี) ฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา กฏหมายอิสลาม, ภาษาอาหรับ (นานาชาติ) ฯลฯ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์  (หลักสูตร 5 ปี), สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย (หลักสูตร 5 ปี) ฯลฯ ม.นเรศวร
  • คณะจีนวิทยา การสอนภาษาจีน (หลักสูตร 5 ปี) ม.แม่ฟ้าหลวง

7. ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม, ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน, ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ฯลฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ม.ศิลปากร
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ), สาขาสถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ) ฯลฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก, สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน, สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ, สาขาวิชาประติมากรรม ฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก, สาขาวิชานวัตกรรมอาคาร, สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์, สาขาวิชาออกแบบภายใน, สาขาวิชาศิลปประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ง๊ายง่าย!! 10 เทคนิคเขียน “เรียงความ”

Link : seeme.me/ch/tutorpearmai

8. ด้านจิตวิทยา

  • คณะจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยา, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกจิตวิทยา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาบูรพา
  • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา ม.บูรพา
  • คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ม.เกษตรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยาคลีนิค, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ม.เชียงใหม่
  • คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

ศิลป์ภาษาจบมาทํางานอะไร

9. ด้านศิลปกรรมศาสตร์ / วิจิตรศิลป์ / มัณฑนศิลป์ / ดุริยางคศิลป์

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ ดุริยางคศิลป์, ทัศนศิลป์, นาฏยศิลป์, นฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการละคอน, สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ ฯลฯ ม.ธรรมศาสตร์

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์, สาขาวิชาศิลปะการแสดง, สาขาวิชาการออกแบบสื่อสาร, สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ฯลฯ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาทัศนศิลป์ ฯลฯ ม.บูรพา

– คณะดนตรีและการแสดง สาขาวิชาดนตรี, สาขาวิชาศิลปะการแสดง ม.บูรพา

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ขอนแก่น

– คณะมัณฑนศิลป์ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร

– คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ ม.ศิลปากร

– คณะวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม, สาขาภาพพิมพ์, สาขาสหศาสตร์ศิลป์, สาขาการออกแบบสื่อและมัลติมีเดีย ฯลฯ ม.เชียงใหม่

– วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ สาขาวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิก, สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส, สาขาวิชาละครเพลง ฯลฯ ม.มหิดล

– คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาวิชาการแสดงดนตรี, สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส, สาขาวิชาดนตรีและธุรกิจบันเทิง ฯลฯ ม.ศิลปากร

– คณะวิจิตรศิลป์ สาขาดนตรีและการแสดง ม.เชียงใหม่

10. ด้านโบราณคดี

– คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

11. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

– หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ได้แก่ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์, สาขาเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบ, สาขาการพัฒนาสื่อประสมและเกม, สาขาอัจฉริยะทางธุรกิจ

– หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์, สาขาระบบฐานข้อมูลและระบบเชิงปัญญา, สาขาระบบสื่อผสม, สาขาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์, สาขาระบบเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น

– หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ม.เชียงใหม่ ได้แก่ สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์, สาขาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาแอนิเมชัน

จบสายศิลป์ เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง ..

เรียนจบสายศิลป์เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง จบมาแล้วทำงานอะไร

เด็กสายศิลป์ภาษาควรรู้ … ศิลป์ภาษาจบมาทํางานอะไร

สายศิลป์ภาษา เรียนจบมาแล้ว ทำงานด้านไหนได้บ้าง?

ด้านพาณิชยศาตร์และการบัญชี / ด้านบริหารธุรกิจ

  1. ผู้ทำบัญชี
  2. ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  3. ผู้ตรวจสอบภาษีอากร (Tax Auditor)
  4. รับทำบัญชี / รับตรวจสอบบัญชี / รับวางระบบบัญชี
  5. ที่ปรึกษาภาษีอากร
  6. เป็นวิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี-ภาษีอากร
  7. เปิดสถาบันอบรมบัญชี-ภาษีอากร
  8. รับเขียนโปรแกรมบัญชี
  9. เปิดบริษัทผลิต / จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป
  10. นักธุรกิจ / ทำธุรกิจส่วนตัว
  11. นักการธนาคารและนักลงทุน
  12. นักการตลาด
  13. พนักงานฝ่ายบุคคล ฯลฯ

ด้านเศรษฐศาสตร์

  1. อาจารย์ในสาขาเศรษฐศาสตร์
  2. นักวิชาการ / นักวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจ
  3. นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  4. นักวิเคราะห์และวางแผนการตลาด
  5. นักวิเคราะห์สินเชื่อ / นักวิเคราะห์ข้อมูล
  6. นักลงทุน / นายธนาคาร / เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน
  7. ที่ปรึกษาด้านการเงิน
  8. นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ / ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์

ด้านจิตวิทยา

  1. นักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาลจิตเวช
  2. ทำงานที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ / มูลนิธิต่าง ๆ
  3. เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์
  4. อาจารย์ม.นักวิจัย
  5. นักวางแผนในองค์กร
  6. นักการสื่อสาร / นักประชาสัมพันธ์ / นักพูด
  7. นักจิตวิทยาการปรึกษา / นักจิตวิทยาบำบัด / นักกระตุ้นพัฒนาการ ฯลฯ

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ / นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
  2. ผู้ทดสอบโปรแกรม
  3. นักวิเคราะห์ระบบ
  4. นักออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
  5. นักออกแบบระบบเครือข่าย / นักพัฒนาระบบเครือข่าย / ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
  6. นักพัฒนาเกม
  7. นักออกแบบ UI/UX
  8. นักผลิตสื่อดิจิทัล
  9. นักวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านไอที
  10. ผู้จัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
  11. นักพัฒนาฐานข้อมูล ฯลฯ

ด้านโบราณคดี

  1. นักโบราณคดี
  2. ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ (คนดูแลพิพิธภัณฑ์)
  3. นักอนุรักษ์โบราณวัตถุ
  4. นักอักษรศาสตร์
  5. มัคคุเทศก์
  6. อาจารย์สอนทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว
  7. นักวิชาการอิสระ / นักเขียนสารคดี ฯลฯ

การใช้ Apology vs Apologise ต่างกันอย่างไร?

Link : seeme.me/ch/englishafternoonz

ด้านมนุษยศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ / อักษรศาสตร์

  1. ทำงานที่สถานทูต หรือองค์กรระหว่างประเทศ
  2. นักแปล / นักเขียน ที่สำนักพิมพ์ หรือดูแลบทความออนไลน์บนเว็บไซต์
  3. งานด้านสื่อมวลชนหรืองานด้านวงการบันเทิง ทั้งงานเบื้องหน้าและงานเบื้องหลัง
  4. ทำงานในสำนักงาน เช่น HR เลขานุการ งานด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  5. ทำงานในสายการบิน เช่น แอร์โฮสเตส สจ๊วต เป็นต้น
  6. งานด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม / ไกด์ / ล่าม
  7. อาจารย์ / นักวิชาการ ประจำโรงเรียนหรือม.หรือสถาบันการวิจัย
  8. นักประวัติศาสตร์ / นักโบราณคดี
  9. บรรณารักษ์ / ทำงานที่ศูนย์ข้อมูล ห้องสมุดองค์กรระหว่างประเทศ โรงเรียนนานาชาติ และอื่น ๆ

ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์

  1. สถาปนิก
  2. นักออกแบบอิสระ
  3. นักออกแบบโฆษณาและสื่อสิ่งพิมพ์
  4. นักออกแบบตกแต่งภายใน
  5. นักออกแบบและอนุรักษ์ภูมิสถาปัตยกรรม
  6. รับราชการ / อาจารย์ ฯลฯ

ด้านนิติศาสตร์ / รัฐศาสตร์

  1. นิติกร
  2. เจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  3. ครู / อาจารย์พิเศษ
  4. ทนายความ / ที่ปรึกษากฎหมาย / พนักงานอัยการ
  5. นักวิชาการ
  6. นายอำเภอ
  7. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป / เจ้าหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคล (HR)
  8. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน / นักวิเคราะห์โครงการ / นักวิเคราะห์ระบบงาน
  9. นักบริหารองค์การระดับสูง ฯลฯ

ด้านสังคมสงเคราะห์

  1. นักสังคมสงเคราะห์ตามมูลนิธิต่าง ๆ
  2. นักสังคมสงเคราะห์ตามสถานพยาบาล โรงพยาบาล
  3. นักสังคมสงเคราะห์ในกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. นักพัฒนาสังคมและชุมชน ฯลฯ

ด้านครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ / ครุศาสตร์อุตสาหกรรม

  1. เป็นครูโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน / ครูสอนพิเศษ
  2. เจ้าหน้าที่ประเมินคุณภาพโรงเรียน หลักสูตรการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  3. นักวิชาการด้านการศึกษา ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน
  4. ล่าม / นัแปล / ไกด์
  5. เจ้าหน้าที่ออกแบบรายการโทรทัศน์ด้านการศึกษา หรือสื่อเพื่อการศึกษา

ด้านศิลปกรรมศาสตร์ / วิจิตรศิลป์ / มัณฑนศิลป์ / ดุริยางคศิลป์

  1. จิตรกร / มัณฑนากร
  2. ช่างเขียนแบบโฆษณา (ศิลปะไทย)
  3. นักออกแบบนิเทศศิลป์
  4. ช่างตกแต่งหน้าร้าน (นฤมิตศิลป์)
  5. นักแสดง / นักร้อง / นักดนตรี
  6. นักออกแบบผลิตภัณฑ์
  7. นักออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา
  8. นักออกแบบเครื่องแต่งกาย ฯลฯ

ด้านนิเทศศาสตร์ / วารสารศาสตร์ / เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

  1. นักข่าว / นักเขียน / นักวิจารณ์
  2. กองบรรณาธิการการพิมพ์และออกแบบสิ่งพิมพ์
  3. ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์
  4. ผู้กำกับแสง เสียง และการแสดง
  5. นักโฆษณาในองค์กรต่าง ๆ
  6. ช่างภาพ
  7. ผู้ผลิตภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์
  8. นักประชาสัมพันธ์ในองค์กรของรัฐและเอกชน เช่น กรมประชาสัมพันธ์, กรมวิเทศสหการ ฯลฯ

บทความที่น่าสนใจ

ที่มา FB : MyLearnVille ติวอังกฤษออนไลน์https://th.jobsdb.com/th

Written by : Toey