คณะน่าเรียน คณิตศาสตร์ประกันภัย จบแล้วทำงานอะไร มหาวิทยาลัย

คณิตศาสตร์ประกันภัย สาขาน่าเรียน สำหรับคนที่ชอบการวิเคราะห์ คาดการณ์ และคำนวณ

Home / ข่าวการศึกษา / คณิตศาสตร์ประกันภัย สาขาน่าเรียน สำหรับคนที่ชอบการวิเคราะห์ คาดการณ์ และคำนวณ

คณิตศาสตร์ประกันภัย หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Actuarial science เป็นศาสตร์การเรียนรู้ที่ผสมผสานความรู้ด้านสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เอาไว้ด้วยกัน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาทฤษฎีความน่าจะเป็น วิชาสถิติศาสตร์ วิชาด้านการเงิน วิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน วิชากฎหมายประกันภัย และการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สาขาน่าเรียน คณิตศาสตร์ประกันภัย

ซึ่งเราจะได้เรียนรู้วิธีการคาดคะเนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเราจะทำให้เหตุการณ์ในอนาคตกลายมาเป็นผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบทางการเงิน เพื่อทำการประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจ ประเมินความเสี่ยงในปัจจุบัน และสร้างเป็นโมเดลการคาดเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ

คณิตศาสตร์ประกันภัย  

ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังมีสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชานี้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่จะต้องศึกษาวิชาความรู้หลาย ๆ ด้าน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันให้เกิดเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และในปัจจุบันสาขาวิชานี้ก็กำลังเป็นที่นิยมของน้อง ๆ รุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าศึกษาเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น แถมยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกด้วย

ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ จะพาน้อง ๆ ที่ชอบในการวิเคราะห์ คาดการณ์ การคำนวณ และกำลังมองหาสาขาวิชาที่เรียนจบออกมาแล้ว มีงานรองรับ ได้ค่าตอบแทนที่สูง ต้องไม่พลาดกับการเลือกเรียนสาขาวิชา คณิตศาสตร์ประกันภัย เลยค่ะ

เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

เป็นสาขาวิชาที่เน้นด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ทางด้านสถิติ และความรู้ด้านการประกันภัย นอกจากนี้ยังได้มีการผนวกเอาวิชาทางด้านบริหารธุรกิจ บัญชี และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามารวมอยู่ด้วย เพื่อมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาและทำการวิจัยที่ตอบโจทย์สังคมในปัจจุบันมากที่สุด

ตัวอย่างวิชาน้อง ๆ จะต้องเจอเมื่อเข้าไปเรียน เช่น คณิตศาสตร์การเงิน คณิตศาสตร์การประกันชีวิต ทฤษฎีความน่าจะเป็น ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัย การประกันสังคม การประกันวินาศภัย การดำเนินงานประกันชีวิตและสุขภาพ สัมมนาประกันภัย กฎหมายประกันภัย การเงินธุรกิจ หลักการตลาด เศรษฐศาสตร์ และการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นต้น

4 จุดคณิตศาสตร์ ที่ผิดกันบ่อย

Link : seeme.me/ch/turboclassroom/MN1V19

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเรียน

  1. ต้องมีความถนัดในการคำนวณ เพราะน้อง ๆ จะต้องเรียนทั้งสถิติและคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเอาไปประยุกต์เป็นหลักด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
  2. มีความละเอียดรอบคอบ มีความซื่อสัตย์
  3. ทำงานอย่างมีหลักการและมีเหตุผล หาที่มาที่ไปได้
  4. ชอบติดตามความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าในวงการธุรกิจ
  5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบทำงานติดต่อกับผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้

เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา

  1. ต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ ศิลป์คำนวณ)
  2. มีผลการเรียน (คะแนนเฉลี่ยสะสม GPAX) ตามเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด
  3. ต้องมีผลคะแนนการสอบ O-NET, GAT, PAT 1 / PAT 2 (ใช้ในบางมหาวิทยาลัย)
  4. มีผลคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษ TOEFL, IELTS และ SAT (ถ้ามี)
  5. ในรอบการรับสมัคร TCAS หรือ ในบางมหาวิทยาลัยอาจจะมีการคัดเลือกด้วยวิธีการทดสอบหรือทำข้อสอบ (รายวิชาที่สอบคือ คณิตศาสตร์)
  6. ผู้สมัครจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และการเขียนเป็นอย่างดี

** ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีการกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการสมัครได้เลยค่ะ

คณิตศาสตร์ประกันภัย  

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  1. คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล : คลิกที่นี่
  2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาสถิติ สาขาประกันภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : คลิกที่นี่
  3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : คลิกที่นี่
  4. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาสถิติธุรกิจและการประกันภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : คลิกที่นี่
  5. คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง : คลิกที่นี่
  6. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการประกันภัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง : คลิกที่นี่
  7. คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ สาขาวิชาการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง : คลิกที่นี่
  8. คณะบริหารธุรกิจ สาขาการประกันภัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : คลิกที่นี่
  9. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการเงิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : คลิกที่นี่
  10. คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) : คลิกที่นี่

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

  1. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
  2. นักวิเคราะห์วางแผน วิจัย และประมวลผล
  3. นักจัดการความเสี่ยง
  4. ที่ปรึกษาทางด้านการเงินในองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทประกันภัย กองทุนเพื่อการเกษียณ ธนาคารต่าง ๆ และหน่วยงานรัฐบาล ฯลฯ

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีwww.webythebrain.com

บทความที่น่าสนใจ