การสอบเข้ามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ทำอย่างไร ถ้าความรู้ที่เรียนในวันนี้ ไม่มีอาชีพรองรับในอนาคต

Home / กิจกรรม / ทำอย่างไร ถ้าความรู้ที่เรียนในวันนี้ ไม่มีอาชีพรองรับในอนาคต

จริงๆ แล้วทักษะแห่งอนาคตมีเสาหลักสองเรื่องสำคัญคือ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และ ทักษะการใช้เทคโนโลยี อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัย World Economic Forum ( https://bit.ly/2L2QXwt ) ซึ่งผลการศึกษาได้สรุปทักษะที่จำเป็นเพื่อเตรียมพร้อมตัวเองสู่โลกการทำงานในอนาคต  หากฝึกปรือทักษะสองเรื่องนี้ให้เป็นคุณลักษณะเด่นของตัวเองได้ ไม่ว่าคุณจะเรียนอะไรในตอนนี้ก็กล่าวได้ว่าคุณจะไม่มีวันตกยุค

ทำอย่างไร ถ้าความรู้ที่เรียนในวันนี้ ไม่มีอาชีพรองรับในอนาคต

ล่าสุด Creativity + Technology เป็นแนวคิดที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้นำไปใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนการสอนในทุกคณะ มาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าด้วยแนวคิดนี้ เรียนสอนกันอย่างไร

เปลี่ยนวิธีเรียน กระตุ้นให้คิด

มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้การเรียนแบบ Project Based Learning  ผู้เรียนจะได้ทำงานกันจริงจังตั้งแต่เข้ามาเรียนปี 1 การรวมทีมกันทำงานทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนทักษะการเรียนรู้ เพราะแต่ละคนมีความถนัดต่างกัน จึงทำให้งานที่ออกมานั้นสมบูรณ์แบบมากขึ้น การทำงานแต่ละโปรเจกต์จะฝึกผู้เรียนให้สามารถใช้เทคโนโลยีเป็น รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา เรียนรู้การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

เปลี่ยนบทบาทผู้สอน

ผู้สอนมีบทบาทเป็น Facilitator เป็นผู้สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้และให้คำแนะนำ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ชื่อว่าเป็น Creative University เรียนคณะไหนของมหาวิทยาลัยไอเดียบรรเจิดก็เกิดได้ตลอด ไอเดียเหล่านั้นก่อรูปร่างได้จริงเพราะมหาวิทยาลัยมี Ecosystem ด้านการศึกษาพร้อมมากที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งพันธมิตรภาคธุรกิจ มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ และเครื่องมืออุปกรณ์ครบครันทันสมัย เบ้าหลอมการเรียนรู้แบบนี้ได้สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะเฉพาะตัวคือ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี และมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ

เรียนข้ามศาสตร์

การเรียนรู้ข้ามคณะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทลายข้อจำกัดเดิมๆ ของสังคมการศึกษาไทยที่ว่า เรียนสายวิทย์จะไม่เก่งสร้างสรรค์ หรือเรียนสายศิลป์จะอ่อนวิทย์และเทคโนโลยี แต่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเติมเต็มความรู้ให้แบบไม่มีข้อจำกัด

ตัวอย่างเช่น คณะนิเทศศาสตร์สาขาการผลิตอีเว้นท์และการจัดการนิทรรศการและการประชุม  นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในสายงานนิเทศฯ  ด้วยการนำเครื่องมือเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในโปรเจกต์งานนักศึกษา เช่น 3D Animation, projection mapping, Hologram Technology, AR, VR เป็นต้น

ผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรเจกต์ Project Mapping งาน Open House BU ซึ่งจัดไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์กระบวนการเรียนรู้ C+T ได้ดี
ชมผลงานจัดเต็มได้ที่ลิ้งค์นี้ https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/461

คณะสายวิทยาศาสตร์ก็ไม่เบา ต้องบอกว่าเป็นวิทย์คิดสร้างสรรค์ ชัดเจนที่สุดคือ  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ นักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 รวมกลุ่มกันไปแข่งขันการพัฒนาเกมในงาน Gaming Dev BootCamp ซึ่งมี 24  ทีมจาก 7 มหาวิทยาลัยร่วมส่งผลงาน โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้รับรางวัลชนะเลิศกับผลงานพัฒนาเกมภายใต้โจทย์ Thailand 2077 ในชื่อผลงาน “Dissolve Space” เป็นเกมในรูปแบบ Si-Fi Shooting Adventure ใช้เทคโนโลยี  VR สร้างความตื่นตาได้เสมือนจริง
ชมผลงานได้ที่ลิ้งค์นี้  https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/460

ผลงานชิ้นนี้มีความโดดเด่นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ นักศึกษาผู้พัฒนาเกมบอกว่า เป็นเพราะพวกเขาได้เรียนรู้ข้ามศาสตร์ในรายวิชา Storytelling จากคณะนิเทศศาสตร์ ทำให้เข้าใจและสามารถฝึกทักษะที่ดีในการสื่อสาร  การนำเสนอความคิดรวบยอด และการเล่าเรื่อง

แนวคิด C+T ถูกนำไปใช้สร้างกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ให้กับทุกคณะของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเพื่อให้สอดรับกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป ในปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้พัฒนาหลักสูตรใหม่  4 หลักสูตร ได้แก่

  1. คณะนิเทศศาสตร์  หลักสูตร  Creative Content Production and Digital Experience
  2.  คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตร Broadcasting and Streaming Media Production
  3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร Artificial Intelligence Engineering and Data Science  และ
  4. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตร Computer Science – Data Science and Cyber Security

เป็นการก้าวไปข้างหน้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายของอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นใจ