มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

Assumption University

Home / academy / มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) มหาวิทยาลัยเอกชนในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 3 วิทยาเขต ตั้งอยู่ที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร  อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ… See More

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) มหาวิทยาลัยเอกชนในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 3 วิทยาเขต ตั้งอยู่ที่เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร  อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ประวัติ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก “โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2512 และได้รับวิทยฐานะเป็น “โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ” ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ” หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ” โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า “มอช.” และภาษาอังกฤษว่า “AU” ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปที่วิทยาเขตบางนา ถนนบางนา-ตราด อำเภอ บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อมหาวิทยาลัย : Assumption หมายถึง เหตุการณ์ที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ การทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “อัสสัมชัญ” มีประวัติความเป็นมา และความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส “Le Coll?ge de L’ Assomption” และใช้ชื่อภาษาไทยว่า “โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ” (Assumption College) แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียก และเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (หนึ่งในห้าภราดาที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญต่อจากบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์) จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “อาศรมชัญ” ดังนั้นชื่อ “อัสสัมชัญ” จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา

ซึ่ง “อัสสัมชัญ” มีความหมายในภาษาไทยดังนี้ “อัสสัม” เป็นคำบาลีมคธว่า “อัสสโม” แปลงเป็นไทยว่า “อาศรม” หมายถึง “กุฏิทีถือศีลกินพรต” ส่วนคำว่า “ชัญ” เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิม เป็น “ช” แปลว่า เกิด และ “ญ” แปลว่า ญาณ ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ คือ ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทั้งสองคือ “อัสสัม”และ”ชัญ” เป็น “อัสสัมชัญ” แปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
คือ ต้นอโศก (Ashoka Tree) คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดีย และศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เพราะเป็นต้นไม้ที่มีสีเขียวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสดชื่นร่มเย็น ความคงเส้นคงวาต่อความเปลี่ยนแปลง ของดินฟ้าอากาศ หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจ ในการให้การศึกษาที่ดีเลิศ โดยไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคใดๆ เป็นต้นไม้ที่รูปทรงสวยงาม เหมือนสถูปเจดีย์เป็นมงคลนาม หมายถึง ไม่มีความทุกข์ความโศก และยังเป็นชื่อของกษัตย์อินเดียผู้ยิ่งใหญ่คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างอาณาจักรที่เกรียงไกรให้กับอินเดีย และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุดในยุคนั้นเป็นต้นไม้ที่นำจากอินเดียสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิภราดาคณะเซนต์คาเบรียล โดยนำมาปลูกพร้อมกันครั้งแรกที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และกรมป่าไม้ แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapientiae (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ของมหาวิทยาลัยโดยมีความหมายว่า พระนางมารีย์พรหมจารีเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบ อุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารเยซูที่ประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ

ที่ตั้ง และวิทยาเขตมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วิทยาเขตหัวหมาก

ซอยรามคำแหง 24 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา)
ถนนบางนา-ตราด จังหวัดสมุทรปราการ
City Campus
ชั้น 14 อาคารเซน เวิลด์ 4,4/5 ถนนราชดำริห์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : Assumption University of Thailand
คติพจน์ : Labor Omnia Vincit (วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึงความสำเร็จทั้งปวง)
สถาปนา : 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515
ประเภท : เอกชน
เว็บไซต์ : www.au.edu
Facebook : https://www.facebook.com/assumptionuniversity

ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

See Less