ABAC มหาวิทยาลัย เรื่องน่ารู้

12 ข้อน่ารู้ ก่อนตัดสินใจเรียนต่อที่เอแบค (ม.อัสสัมชัญ ABAC)

Home / เรื่องเล่ามหาวิทยาลัย / 12 ข้อน่ารู้ ก่อนตัดสินใจเรียนต่อที่เอแบค (ม.อัสสัมชัญ ABAC)

ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษากันนั้น วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) มาให้ได้ศึกษากันก่อนตัดสินใจด้วยนะ เป็นเรื่องน่ารู้พื้นฐานที่เราควรจะศึกษาเอาไว้ เผื่อเอาไว้ใช้การสอบสัมภาษณ์ได้ด้วยนะ หรือเป็นข้อมูลในการติดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ ว่าแต่จะมีเรื่องอะไรบ้าง? ลองมาอ่านกันดูดีกว่า

12 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจ เรียนต่อที่เอแบค

1. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า เอแบค (ABAC) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล

2. ABAC ย่อมาจาก Assumption Business Administration College ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัย แต่ภายหลังได้รับการรับรองจาก “ทบวงมหาวิทยาลัย” ในปี 1990 หลังจากนั้น ABAC ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Assumption University หรือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญอย่างเป็นทางการ แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังเรียกชื่อของ ม.อัสสัมชัญ ติดปากกันว่า “เอแบค” นั่นเอง (ที่เปลื่ยนเป็น Assumption University เพราะว่าเริ่มมีคณะต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่สามารถใช้คำว่า college ได้แล้ว จึงต้องเปลื่ยนเป็น Assumption University ที่มีชื่อย่อว่า AU นั่นเอง)

3. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญประกอบด้วย 2 วิทยาเขตหลัก ได้แก่ วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ นอกจากนี้ยังมี 2 ศูนย์การศึกษา city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์การศึกษา ACC : ACC Campus

4. ม.อัสสัมชัญ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย

5. ชื่อมหาวิทยาลัย “Assumption” หมายถึง เหตุการณ์ที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ การทับศัพท์ในภาษาไทยว่า “อัสสัมชัญ” มีประวัติความเป็นมาและความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส “Le Collège de L’Assomption” และใช้ชื่อภาษาไทยว่า “โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ” (Assumption College) แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียกและเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (หนึ่งในห้าภราดาที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญต่อจากบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์) จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “อาศรมชัญ” ดังนั้นชื่อ “อัสสัมชัญ” จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา

6. คำว่า “อัสสัมชัญ” มีความหมายในภาษาไทยคือ “อัสสัม” เป็นคำบาลีมคธว่า “อัสสโม” แปลงเป็นไทยว่า “อาศรม” หมายถึง กุฏิทีถือศีลกินพรต ส่วนคำว่า “ชัญ” เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิมเป็น “ช” แปลว่า เกิด และ “ญ” แปลว่า ญาณ, ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ หมายถึง ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วย “อัสสัมชัญ” จึงแปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้

7. แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapientiae (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยมีความหมายว่าพระนางมารีย์พรหมจารีเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบอุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารเยซูที่ประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ

8. ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นอโศก (Ashoka Tree) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เหตุผลที่เลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยดังนี้

  • เป็นต้นไม้ที่เขียวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสดชื่นร่มเย็น ความคงเส้นคงวาต่อความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจ ในการให้การศึกษาที่ดีเลิศ โดยไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคใดๆ
  • เป็นต้นไม้ที่รูปทรงสวยงาม เหมือนสถูปเจดีย์
  • เป็นมงคลนาม หมายถึง ไม่มีความทุกข์ความโศก และยังเป็นชื่อของกษัตย์อินเดียผู้ยิ่งใหญ่คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างอาณาจักรที่เกรียงไกรให้กับอินเดีย และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุดในยุคนั้น
  • เป็นต้นไม้ที่นำจากอินเดียสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิภราดาคณะเซนต์คาเบรียล โดยนำมาปลูกพร้อมกันครั้งแรกที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และกรมป่าไม้

9. ที่ทางเข้ามหาวิทยาลัยจะมีหินสีทองก้อนใหญ่วางอยู่ มีตัวอักษรตรงกลางเขียนว่า Au ซึ่งเป็นชื่อทางเคมีของทองคำ

10. ตึก CL จะมีภาพเขียนสีน้ำมันตรงเพดาน ส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับเรื่องสวรรค์และพระเจ้า แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นพี่หนุ่ม-ศรราม และพี่แหม่ม-แคทลียา อยู่บนนั้นด้วยนะ

12 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจเรียนต่อที่เอแบค

11. ตึกเรียนที่นี่ ไม่มีชื่อตึก 1 2 3 มีแต่ ตึก CL, SM, SR, SG, D, P, A, C ฯลฯ

12. คณะที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีดังนี้

  • คณะบริหารธุรกิจ (Martin De Tour School of Management and Economics)
  • คณะศิลปศาสตร์ (ABAC School of Arts)
  • คณะนิเทศศาสตร์ (Albert Laurence of Communication Arts)
  • คณะนิติศาสตร์ (ABAC School of Law)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Vincent Mary School of Engineering)
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Vincent Mary School of Science and Technology)
  • คณะพยาบาลศาสตร์ (Bernadette de Lourdes School of Nursing Science)
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Montfort Del Rosario of Architecture and Design)
  • คณะดนตรี (ABAC School of Music)
  • คณะเทคโนโลยีชีวภาพ (ABAC School of Biotechnology)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะมนุษย์ศึกษา (ABAC Graduate School of Human Science)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ABAC Graduate School of Information Technology)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะบริหาร (ABAC Graduate School of Business)
  • บัณฑิตวิทยาลัยคณะศึกษาทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ต (ระดับปริญญาโท) (ABAC Graduate School of E-Learning)

ที่มา : http://www.au.edu

แนะนำ